เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทางวิสัญญีในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

ธิดารัตน์ อริยานุชิตกุล
กิตติมา คนชาญ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: ศึกษาอุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในระหว่างผ่าตัด ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง จากแฟ้มประวัติผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด และเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ขณะผ่าตัดถึงหลังผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมงแรก ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 ถึง 31 ธันวาคม 2558 ผลการศึกษา: มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ 246 เหตุการณ์ในผู้ป่วย 185 ราย พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง (55.7 %) และพบ มากสุดในช่วงอายุ >15-65 ปี (55.7 %) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงได้แก่ การใส่ท่อหายใจเข้า หลอดอาหาร การเสียชีวิต ภาวะพร่องออกซิเจน ภาวะหัวใจหยุดเต้น และการใส่ท่อหายใจใหม่โดยพบอุบัติการณ์ 22.8, 15.7, 11.1, 10.1 และ 8.2 ต่อผู้ป่วย 10,000 ราย ตามลำดับ  สรุป: เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่เป็นภาวะแทรกซ้อน ของระบบหายใจ การศึกษานี้จะสามารถใช้อุบัติการณ์ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เหล่านี้เป็นเครื่องมือในการ พัฒนางานด้านวิสัญญีวิทยาต่อไป

Article Details

How to Cite
อริยานุชิตกุล ธ. . ., & คนชาญ ก. . . (2024). เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทางวิสัญญีในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 40(2), 75–84. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1491
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Charuluxananan S, Suraseranivongse S, Punjasawadwong Y, Somboonviboon W, Nipitsukarn T, Sathitkarn manee T, et al. The Thai Anesthesia Incidents study (THAI Study) of anesthetic outcome: I. description of methods and population. J Med Assoc Thai 2005; 88 (Supp17): S1-13.

Charuluxananan S, Punjasawadwong Y, Punjasawadwong Y, Suraseranivongse S, Srisawasdi S, Kyokong O, et al. The Thai Anesthesia Incidents study (THAI Study) of ancsthetic outcome: II. Ancsthetic profiles and adverse events. J Med Assoc Thai 2005; 88(Supp17): S14-29.

Charuluxananan S, Sriraj W, Punjasawadwong Y, Piti-mana-aree S, Lekprasert V, Werawataganon T, et al. The Perioperative and Anesthetic Adverse Events Study in Thailand (PAAd Thai): anesthetic profiles and outcomes. Asian Biomed 2017; 11: 21-32.

Chanchayanon T, Suraseranivongse S, chau-in W. The Thai Anesthesia Incidents Study (THAI Study) Of difficult intubation: a quality analysis. J Med Assoc Thai 2005; 88(Supp17): S62-8.

นุชนารถ บุญจึงมงคล, ตันหยง พิมานเมฆาภรณ์, ยอดยิ่ง ปัญจสวัสดิ์วงศ์, สุทธินี เซ็นภักดี. การใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำในห้องพักฟื้น การศึกษาแบบย้อนหลังจากฐานข้อมูล ผู้ป่วยจำนวน 21,349 ราย ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. เชียงใหม่เวชสาร 2552; 48: 49-55.

Chinachoti T, Chau-in W, Suraseranivongse S, Kitsampanwong W, Kongrit P. Postoperative reintubation after planned extubation in Thai Anesthesia Incidents (THAI Study). J Med Assoc Thai 2005; 88(Suppl7): S84-94.

กาญจนา อุปปัญ, วินิตา จีราระรื่นศักดิ์, วราภรณ์ เชื้ออินทร์ ลักษณาวดี ชัรัตน์, ปริณตา พรหมโคตร์.ภาวะใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง หลังการให้ยาระงับความรู้สึก โรงพยาบาลศรีนครินทร์: อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2554 26: 325-32.

กฤษณา สำเร็จ, วราภรณ์ เชื้ออินทร์, มณีรัตน์ ธนานันต์, ดวงธิดา นนท์เหล่าพล, พลพันธ์ บุญมาก, สุหัทยา บุญมาก, การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ ภายหลังการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. วิสัญญีสาร. 2548; 31: 211-9.

สิรีธร โชลิตกุล. อุบัติการณ์ใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำภายหลัง การให้ยาระงับ ความรู้สึกในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์: การศึกษาแบบย้อนหลัง, เชียงรายเวชสาร. 2555; 4: 41-8.

ปนัดดา ควงเงิน, วิชัย อิทธิชัยกุณฑล, ธัญลักษณ์ ธรรมจำรัสศรี, จิตติมา เจียรพินิจนันท์ ปัจจัยที่มีผลต่อการใส่ท่อ ช่วยหายใจซ้ำหลังการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปในโรงพยาบาลรามาธิบดี. วิสัญญีสาร. 2559; 42: 33-41.