การตรวจวัณโรคปอดด้วยวิธี polymerase chain reaction จากเสมหะในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี

Main Article Content

ประวิทย์ โพธิ์ทอง
นภัทร เขียวอ่อน

บทคัดย่อ

  การตรวจยืนยันโรควัณโรคปอดทางห้องปฏิบัติการมีหลายวิธี ซึ่งมีความไว กับความจำเพาะ และมีข้อดี กับข้อเสียที่แตกต่างกัน วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ หาคุณค่าของการตรวจเสมหะด้วยวิธี (polymerase chain reaction หรือ PCR) เพื่อวินิจฉัยโรควัณโรคปอดในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โดยใช้ผลการเพาะเชื้อวัณโรคจาก เสมหะเป็นมาตรฐาน โดยรวบรวมผู้ป่วยย้อนหลัง ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอดและติดเชื้อเอชไอวี ที่มีค่า CD4 เฉลี่ยต่ำกว่า 200/มม3 กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2556 ถึง 1 กันยายน 2558 คัดเลือกเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการส่งเสมหะตรวจทั้งวิธี PCR และเพาะเชื้อพร้อมกัน ซึ่งมีผู้ป่วย ทั้งหมด 93 ราย เพาะเชื้อขึ้น 84 ราย ไม่ขึ้น 9 ราย คำนวณค่าความไวและความจำเพาะได้เท่ากับ ร้อยละ 90.3 และร้อยละ 100 ตามลำดับ ส่วน Positive predictive value และ Negative predictive value ร้อยละ 100 และ 0 ตามลำดับ ส่วนการตรวจเสมหะย้อม AFB มีความไว ร้อยละ 86.0 และ ความจำเพาะ ร้อยละ 100 สรุปว่าการส่ง เสมหะตรวจ PCR for TB มีความไวและความจำเพาะสูง ใช้เสริมการตรวจ Sputum AFB ช่วยวินิจฉัยวัณโรคปอด ได้ดี และยังสามารถตรวจหาเชื้อดื้อยา Isoniazid และ Rifampicin ได้ทำให้การรักษาทำได้เร็วขึ้น

Article Details

How to Cite
โพธิ์ทอง ป., & เขียวอ่อน น. . (2024). การตรวจวัณโรคปอดด้วยวิธี polymerase chain reaction จากเสมหะในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 40(2), 85–94. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1494
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ข้อมูลเฝ้าระวังการดื้อยาวัณโรคของประเทศไทยปี 2540-2549 สำนักวัณโรค. กรมควบคุมโรค.

รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา สถานการณ์วัณโรค และโรคเอดส์ปี 2550-2555 สำนักระบาดวิทยา. กรมควบคุมโรค

รายงานข้อมูลวัณโรคปีงบประมาณ 2553 สำนักวัณโรค. กรมควบคุมโรค.

วิเคราะห์สถานการณ์โรคเอดส์ในประเทศไทย สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ปี 2554.

กรมควบคุมโรค.

แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ. 2556 กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข

WHO/TDR Tuberculosis Diagnostic Economic Working Group. Diagnostics for tuberculosis. Global demand and market potential. World Health Organization; 2006.

Clarridge JE, 3rd, Shawar RM, Shinnick TM, Plikaytis

BB. Large-scale use of polymerase chain reaction for

detection of Mycobacterium tuberculosis in a routine

mycobacteriology laboratory. J Clin Microbiol 1993; 31:

-56.

Abe C, Hirano K, Wada M, Wada M, Kazumi Y, Takahashi M, Fukasawa Y, et al. Detection of Mycobacterium tuberculosis in clinical specimens by polymerase chain reaction and Gen-Probe Amplified Mycobacterium Tuberculosis Direct Test. J Clin Microbiol 1993; 31: 3270-4.

Wobeser WL, Krajden M, Conly J, Simpson H, Yim B, D'costa M, et al. Evaluation of Roche Amplicor PCR assay for Mycobacterium tuberculosis. J Clin Microbiol 1996; 34: 134-9.

Kambashi B, Mbulo G, McNemey R, Tembwe R, Kambashi A, Tihon V, et al. Utility of nucleic acid amplification techniques for the diagnosis of pulmonary tuberculosis in sub-Saharan Africa. Int J Tuberc Lung Dis 2001; 5: 364-9.

Cattamanchi A, Dowdy DW, Davis JL, Worodria W, Yoo S, Joloba M, et al. Sensitivity of direct versus concentrated sputum smear microscopy in HIV-infected patients suspected of having pulmonary tuberculosis. BMC Infect Dis 2009; 9: 53. doi: 10.1186/1471-2334-9-53

Mathew P, Kuo YH, Vazirani B, Eng RHK, Weinstein MP. Are three sputum acid-fast bacillus smears necessary for discontinuing tuberculosis isolation? J Clin Microbiol 2002; 40: 3482-4.

Reechaipichitkul W, Phetsuriyawong A, Chaimanee P, Ananta P. Diagnostic test of sputum GeneXpert MTB/RIF for smear negative pulmonary tuberculosis. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2016; 47: 457-66.

Sharma SK, Mohan A, Kadhiravan T. HIV-TB co-infection: epidemiology, diagnosis and management. Indian J Med Res 2005; 121:550-67.

Kivihya-Ndugga L, van CleeffM, Juma E, Kimwomi J, Githui W, Oskam L, et al. Comparison of PCR with the routine procedure for diagnosis of tuberculosis in a population with high prevalences of tubereulosis and human immunodeficiency virus. J Clin Microbiol 2004; 47:1012-5.