การจัดรูปแบบการทำงานภายในเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพช่องปากหญิงมีครรภ์และเด็กปฐมวัย อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ปี 2560
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการทำงาน สร้างเสริมทันตสุขภาพกลุ่มหญิงมีครรภ์และเด็กปฐมวัยในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอโนนไทย จังหวัด นครราชสีมา โดยวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิเชิงปริมาณจาก 43 แฟ้ม ที่ถูกนำไปประมวลผลงานผ่านเวบไซด์ HDC ประจำปีงบประมาณ 2560 และรายงานผลการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กอายุระหว่าง 3-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอโนนไทย ระหว่างปี 2558-2560 ร่วมกับเชิงคุณภาพด้วยการสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม ทันตแพทย์ ทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานในเครือข่าย ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการดำเนินงานที่มีทันตาภิบาลปฏิบัติงานประจำ มีผลลัพธ์ในการตรวจช่องปาก การให้ทันตสุขศึกษา การทาฟลูออไรด์ และการรักษาทางทันตกรรมที่สูงกว่า รูปแบบที่ทันตาภิบาลออกหน่วยหมุนเวียนสัปดาห์ และเดือนละครั้งในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ไม่มีทันตาภิบาลประจำ แต่อย่างไรก็ตามผลงานในรพ.สต.ที่ไม่มีทันตาภิบาลประจำก็มีผลงานที่ ใกล้เคียงและผ่านเกณฑ์การดำเนินงาน เนื่องจากมีนักสุขภาพฟันดีช่วยดำเนินการ จากรายงานการตรวจสุขภาพ ช่องปากเด็กอายุ 3-5 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพบร้อยละปราศจากโรคฟันผุมีแนวโน้มดีขึ้นจากปี 2558-2560 ร้อยละ 29.53, 35.1 และ 34.57 ตามลำดับ แต่เมื่อแยกตามรูปแบบการทำงาน พบว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่อยู่ภายใต้ การดูแลของทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานประจำ กลับมีค่าปราศจากฟันผุลดลง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากภาระงานที่เพิ่ม มากขึ้นร่วมกับการทำงานที่นอกเหนือวิชาชีพ ทำให้มีการดำเนินงานเท่าที่ตัวชี้วัดกำหนด ซึ่งไม่เพียงพอต่อการ แก้ปัญหาโรคฟันผุในกลุ่มเด็กปฐมวัยได้ ทีมเครือข่ายบริการสุขภาพจึงต้องทบทวน และปรับรูปแบบการทำงาน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีในปีต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ.233 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักกิจการองค์การทหารผ่านศึก; 2555.
กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นครราชสีมา.รายงานการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ประชากรจังหวัดนครราชสีมาครั้งที่ 6; 2555.
กันยา บุญธรรม, ศรีสุดา ดีละศิธร: ความสัมพันธ์ของฟันผุกับภาวะโภชนาการในเด็กไทยอายุ5 ปี. ว.ทันต.สธ 2559;21:48-52.
Scow WK. Biological mechanism of carly childhood caries. Community Dent Oral Epidemiol 1988; 26: 8-27.
Ripa LW. Nursing caries: a comprehensive review. Pediatr Dent 1988; 10: 268-82.
กองทันตสาธารณสุข แผนงานทันตสาธารณสุขตามแผน พัฒนาการสาธารณสุขฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) ไม่ระบุ สำนักพิมพ์
กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. แนวทางการดำเนินงาน โดรงการแม่ลูกฟันดี 102 ปี สมเด็จย่า โรงพิมพ์องค์การสง เคราะห์ทหารผ่านศึกกรุงเทพฯ, 2546.
บุปผา ไตรโรจน์,จันทนา อึ้งชูศักดิ์, ศรีสุดา ลีลศิธร, สุรางค์ เชษฐพฤนท์. การศึกษากระบวนการดำเนินงานโครงการแม่ลูกฟันดี 102 ปี สมเด็จย่า พ.ศ.2547.
รักชนก นุชพ่วง, อัมพร เดชพิทักษ์ การประเมินผล โครงการ แม่ลูกฟันดี 102 ปี สมเด็จย่า จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2546-2548. ว ทันต.สธ 2550; 12: 40-9.
สุณี วงศ์คงคาเทพ, บุญเอื้อ ยงวานิชากร. การจัดบริการสุขภาพช่องปากในเครือข่ายบริการปฐมภูมิในโครงการ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี 2545. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2546; 12: 645-58.
พิศักดิ์ องค์ศิริมงกล, สุณี วงศ์ดงดาเทพ. การจัดบริการ
สุขภาพช่องปากในศูนย์สุขภาพชุมชนที่มีทันตาภิบาล ประจำปี 2549. ว.ทันต.สธ 2550; 12: 77-84.
ปริญญา คงทวีเลิศ, สุนี วงศ์คงคาเทพ. การประเมินผล การจัดบริการส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากในหน่วยบริการ ปฐมภูมิปี 2549. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2551, 16ฉบับ เพิ่มเติม 1: ST10.
มาโนช เกวียนสูงเนิน, ณฐสีโร น้อยสุวรรณ, ฐิติญา สิทธิวงศ์, ธิดา รัตนวิไล,เผ่าพันธุ์ จิรวิกรานตักุล, วิราภรณ์ รวิยะวงศ์, และคณะ. คู่มือหลักสูตรการอบรมบุคลกร ส่งเสริมทันตสุขภาพระดับตำบล เขต 14 นครชัยบุรินทร์. นครราชสีมา: บริษัทโชคเจริญมาร์เกตติ้ง จำกัด: 2555.
มยุเรศ ผาสุกนิตย์, สงครามชัย ลีทองดี, วิโรจน์ เฐมรัมย์. กระบวนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมทันตสุขภาพหญิง ตั้งครรภ์รายใหม่โดยทีมทันตสุขภาพประจำครอบครัว