ปัจจัยทางคลินิกของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ต้องนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน เนื่องจากภาวะกำเริบฉับพลัน ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

วุฒิชัย ถาพรผาด
นภัทร เขียวอ่อน

บทคัดย่อ

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สามารถเกิดอาการกำเริบฉับพลันแทรกซ้อนได้เป็นครั้งคราว ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะ ทุพพลภาพเพิ่มขึ้น อาจจะถึงเสียชีวิตได้ วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ ศึกษาคุณลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผลการรักษา และปัจจัยทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับภาวะกำเริบฉับพลัน ซึ่งทำให้ต้องนอน โรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน โดยทำการศึกษาแบบ retrospective descriptive ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ต้อง นอนโรงพยาบาลซ้ำเนื่องจากการกำเริบฉับพลันในช่วง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ที่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา พบว่ามีผู้ป่วยนอนโรงซ้ำภายใน 28 วัน เข้าตามเกณฑ์การศึกษา 83 ราย อายุเฉลี่ย 72.7 ปี เป็นชาย 77 ราย หญิง 6 ราย มีประวัติสูบบุหรี่ โดยเป็นผู้ที่เคยสูบและหยุดแล้ว 40 ราย และ ยังสูบอยู่ 31 ราย (ร้อยละ 37.3) พบว่าได้รับออกซิเจนทางสายยางจมูกและหน้ากาก ร้อยละ 44.6 และ 36.1 ใช้เครื่องช่วยหายใจ ร้อยละ 55.4 และ  63.9 ได้รับการฉีดยาสเตียรอยด์ ร้อยละ 97.6 และ 91.6 ได้รับยาพ่นขยายหลอดลม ร้อยละ 100 และ 98.8 ได้รับยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 92.8 และ 89.2 ในการนอนครั้งที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ปัจจัยกระตุ้น ที่ทำให้เกิดภาวะกำเริบฉับพลันที่พบมากที่สุดคือ ภาวะปอดติดเชื้อ ร้อยละ 51.8 ในครั้งแรก และร้อยละ 71.1 ในการเป็นซ้ำ และเชื้อก่อโรคที่พบในครั้งแรก มากที่สุดคือ Ps. aeruginosa (ร้อยละ 20.9) ในการนอน โรงพยาบาลซ้ำ เชื้อที่พบมากที่สุด คือ A. baumannii (ร้อยละ 30.5)  ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 4.4 วัน ในการนอนครั้งแรก และ 7.2 วัน ในการกลับมานอนซ้ำ โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 17,910 บาท ในครั้งแรก และเฉลี่ย 36,239 บาท ในการนอนซ้ำ และในการกำเริบซ้ำผู้ป่วยเสียชีวิต 30 ราย (ร้อยละ 36.1) สรุปว่าการติดเชื้อในปอด เป็นปัจจัยที่สำคัญ ก่อให้เกิดภาวะกำเริบฉับพลันจนต้องนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน ทำให้เกิดทุพพลภาพ มากขึ้น และเพิ่มอัตราตายในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Article Details

How to Cite
1.
ถาพรผาด ว, เขียวอ่อน น. ปัจจัยทางคลินิกของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ต้องนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน เนื่องจากภาวะกำเริบฉับพลัน ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. MNRHJ [อินเทอร์เน็ต]. 13 สิงหาคม 2024 [อ้างถึง 19 พฤษภาคม 2025];40(2):117-26. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1499
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Murray C, Lopez A. Mortality by cause for eight regions of the world: global burden of disease study. Lancet 1997; 349:1269-76.

Seemungal TAR, Donaldson GC, Paul EA, Bestall JC, Jeffries DJ, Wedzicha JA. Effect of exacerbation on quality of life in patients with chronic obstructive pulmonary disease. Am J Respir Crit Care Med 1998; 157: 1418-22.

Donaldson GC, Seemungal TAR, Bhowmik A, Wedzicha JA. Relationship between exacerbation frequency and lung function decline in chronic obstructive pulmonary disease. Thorax 2002; 57: 847-52.

Andersson F, Borg S, Jansson SA, Jonsson AC, Ericsson A, Prutz C, et al. The costs of exacerbations in chronic obstructive pulmonary disease (COPD). Respir Med 2002; 96: 700-8.

Chapman KR, Mannino DM, Soriano JB, Vermeire PA, Buist AS, Thun MI, et al. Epidemiology and costs of chronic obstructive pulmonary discase. Eur Respir J 2006: 27:188-207.

Almagro P, Calbo E, deEchagien AO, Barrciro B, Quintana S, Heredia JI, et al. Mortality after hospitalization for COPD. Chest 2002; 121: 1441-8.

Groenewegen KH, ScholsAM, Wouters EF. Mortality and mortality-related factors after hospitalization for acute exacerbation of COPD. Chest 20033 124: 459-67.

Global Initiative for Chronic Obstruction Lung Disease (GOLD) 2014. Global strategy for the diagnosis, managoment, and prevention of chronic obstructive pulmonary disease. Revised 2011, 2014 [cited 2014 Apr 10]. Available from:htp://www.goldcopd.org/.

Lode H, Allewelt M, Balk S, de Roux A, Mauch H, Niederman M. A prediction model for bacterial etiology

in acute cxacerbations of COPD. Infection 2007;35: 143-9.

Anthonisen N, Manfreda J, Warren C, Hershfield ES, Harding GK, Nelson NA. Antibiotic therapy in exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease. Ann Intern Med 1987; 106: 196-204.

Butorac-Petanjek B, Parnham MJ, Popvic-Grle S. Antibiotic therapy for COPD exacerbation. J Chemother 2010; 22: 291-7.

Lin SH, Kuo PH, Hsueh PR, Yang PC, Kuo SH. Sputum bacteriology in hospitalized patients with acute exacerbation of chronic obstructive pulmonary disease in Taiwan with an emphasis on Klebsiella pneumonia and Pseudomonas aeruginosa. Respirology 2207; 12: 81-7.

Eller J, Ede A, Schaberg T, Niederman M, Maunch H, Lode H. Infective exacerbations of chronic bronchitis: relation between bacteriological etiology and lung function. Chest 1998; 113:1542-8.

McIntyre N, Huang YC. Acute exacerbation and respiratory failure in chronic obstructive pulmonary disease. Proc Am Thorac Soc 2008; 5: 530-5.

Soto FJ, Varkey B. Evidence-based approach to acute exacerbations of COPD. Curr Opin Pulm Med 2003; 9: 117-24.

Reechaipichitkul W. Precipitating causes and outcomes of chronic obstructive pulmonary disease exacerbation at a tertiary care center in northeast Thailand. Asian Biomedicine 2014; 8: 229-36.

Gajanan G, Jyothi H, Chanudhury A. Risk factors for frequent hospital readmissions for acute exacerbations of COPD. Clinical medicine research 2013; 2:167-73.

Chan FW, Wong FY, Yam CH, Cheung W, Wong EL, Leung MC, et al. Risk factors of hospitalization and readmission of patients with COPD in Hong Kong population. BMC Health Services Research 2011; 11: 186.

McGhan R, Sutherland R, Welsh C, Make B. Predictors of rehospitalization and death after a severe exacerbation of COPD. Chest 2007; 132:1748-55.