การตรวจพีซีอาร์สำหรับวัณโรคในนํ้าช่องเยื่อหุ้มปอด เพื่อวินิจฉัยวัณโรค เยื่อหุ้มปอดในผู้ป่วยที่มีนํ้าในช่องเยื่อหุ้มปอดแบบเอ็กซูเดทีฟ ร่วมกับลิมโฟไซต์เด่น ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันวัณโรคเยื่อหุ้มปอดเป็นปัญหาหนึ่งของสาธารณสุขไทย การวินิจฉัยเดิมต้องตัด ชิ้นเนื้อเยื่อหุ้มปอด ถ้าพบแกรนูโลมาย้อมเอเอฟบีพบเชื้อ และเอดีเอ หรืออินเตอร์เฟรอนแกมม่าสูง ซึ่งทำ ไม่ได้ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ จึงทำการศึกษานี้โดยการตรวจน้ำจากช่องเยื่อหุ้มปอด เอดีเอ และพีซีอาร์ หาเชื้อ วัณโรค เพื่อให้วินิจฉัยวัณโรคเยื่อหุ้มปอดง่ายขึ้น ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาย้อนหลัง จากเวชระเบียน ผู้ที่ได้รับการตรวจน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดแบบเอ็กซูเดทีฟ ร่วมกับลิมโฟไซต์เด่น ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2559 เก็บผลการตรวจน้ำ ในช่องเยื่อหุ้มปอด เอดีเอ พีซีอาร์ หาเชื้อวัณโรค ชิ้นเนื้อ และภาพรังสีทรวงอก นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความ สัมพันธ์ต่างๆ โดยเน้นการตรวจพีซีอาร์เป็นหลัก ผลการศึกษา: มีผู้ป่วย 143 ราย ได้รับการวินิจฉัยว่าน่าจะเป็น วัณโรค 80 ราย (ร้อยละ 55.9) ในกลุ่มนี้มีผู้ป่วยที่มี เอดีเอ >40 U/ลิตร 48 ราย (ร้อยละ 60) ในกลุ่มที่น่าจะเป็น วัณโรคมีผลพีซีอาร์เพื่อหาเชื้อวัณโรคเป็นบวก 15 ราย (ร้อยละ18.8) เป็นลบ 65 ราย (ร้อยละ 81.2) ในกรณีใช้ค่า เอดีเอ เพื่อวินิจฉัยวัณโรคเยื่อหุ้มปอด มีความไวร้อยละ 60 ความจำเพาะร้อยละ 95.2 ค่าพยากรณ์ผลบวกร้อยละ 94.1 พยากรณ์ผลลบร้อยละ 65.2 เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เอดีเอ ร่วมกับพีซีอาร์สำหรับเชื้อวัณโรคได้ผล คือความไวร้อยละ 63.8 ความจำเพาะร้อยละ 95.4 พยากรณ์ผลบวกร้อยละ 94.4 พยากรณ์ผลลบร้อยละ 68.1 สรุป: การวินิจฉัยวัณโรคเยื่อหุ้มปอด ในผู้ที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดแบบเอ็กซูเดทีฟ ร่วมกับลิมโฟไซต์เด่น โดยการ ใช้พีซีอาร์เพื่อหาเชื้อวัณโรคนั้นมีประโยชน์น้อย ความไวต่ำ และราคาแพง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
แพทย์หญิงศรีประพา เนตรนิยม. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ. 2556. พิมพ์ครั้งที่ปี 2556. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556. 186 น.
Bandyopadhyay D, Gupta S, Banerjee S, Gupta S, Ray D, Bhattacharya B, et al. Adenosine deaminase estimation and multiplex polymerase chain reaction in diagnosis of extra-pulmonary tuberculosis. Int J Tuberc Lung Dis 2008; 12: 1203-8.
Liu KT, Su WS, Perng RP. Clinical utility of polymerase chain reaction for diagnosis of smear-negative pleural tuberculosis. J Chin Med Assoc 2007; 70: 148-51.
Lima DM, Colares JK, da Fonseca BA. Combine use of the polymerase chain reaction and adenosine deaminase activity on pleural fluid improves the rate of diagnosis of pleural tuberculosis. Chest. 2003; 124: 909-14.
Chakravorty S, Sen MK, Tyagi JS. Diagnosis of extrapulmonary tuberculosis by smear, culture and PCR using universal sample processing technology. J Clin Microbiol 2005; 43: 4357-62.
Villegas MV, Labrada LA, Saravia NG. Evaluation of polymerase chain reaction, adenosine deaminase, interferongamma in pleural fluid for the diagnosis of the differential diagnosis of pleural tuberculosis. Chest 2000; 118: 1355-64.
Kalantri Y, Hemvani N, Chitnis DS. Evaluation of real-time polymerase chain reaction, interferon-gamma, adenosine deaminase and immunoglobulin A for the effusion diagnosis of pleural tuberculosis. Int J Infect Dis 2011; 15: e226-31.
Rosso F, Michelon CT, Sperhacke RD, Verza M, Olival L, Conde MB, et al. Evaluation of the real-time polymerase chain reaction of patient pleural effusion for diagnosis of tuberculosis. BMC Res Notes 2011; 4: 279. Doi.org/10.1186/1756-0500-4-279
Srivastava R, Kumar D, Waskar MN, Sharma M, Katoch VM, Srivastava BS. Identification of a repetitive sequence belonging to a PPE gene of Mycobacterium tuberculosis and its use in diagnosis of tuberculosis. J Med Microbiol 2006; 55: 1071-7.
Baba K, Pathak S, Sviland L, Langeland N, Hoosen AA, Asjo B, et al. Real-time quantitative PCR in the diagnosis of tuberculous in formalin-fixed paraffin embedded pleural tuberculosis in patient from a high HIV endemic area. Diagn Mol Pathol 2008; 17: 112-7.
Moon JW, Chang YS, Kim SK, Kim YS, Lee HM, Kim SK, et al. The clinical utility of polymerase
chain reaction for the diagnosis of pleural tuberculosis. Clin Infect Dis 2005; 41: 660-6.
Light RW. Update on tuberculous pleural effusion. Respirol 2010; 15: 451-8.
Mehta PK, Raj A, Singh N, Khuller PKM. Diagnosis of extrapulmonary tuberculosis by PCR. FEMS Immunol Med Microbiol 2012; 66: 20-36.