ความคลาดเคลื่อนในการรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษแบบรุนแรงในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาความชุกและสาเหตุความคลาดเคลื่อนในการดูแลรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษแบบรุนแรง และ ศึกษาภาวะแทรกซ้อนจากครรภ์เป็นพิษแบบรุนแรง ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ: การ วิจัยเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลจากหนังสือส่งตัวและเวชระเบียนย้อนหลังในสตรีที่มีครรภ์เป็นพิษ แบบรุนแรง และภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษ ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่าง 1 ธันวาคม 2557 ถึง 31 ตุลาคม 2558 แนวทางมาตรฐานในการดูแลครรภ์เป็นพิษ ได้แก่การให้ยาลดความดันโลหิตสูง แมกนีเซียมซัลเฟต กันชัก ยุติการ ตั้งครรภ์ และป้องกันภาวะแทรกซ้อน แบ่งประชากรเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีกับไม่มีความคลาดเคลื่อนในการ รักษา เปรียบเทียบข้อมูลประชากรสองกลุ่ม รายงานเป็นร้อยละ และทดสอบด้วย Chi-Square test จะถือว่ามี นัยสำคัญทางสถิติเมื่อ P value <0.05 ผลการศึกษา: มีภาวะครรภ์เป็นพิษแบบรุนแรง และภาวะชักจากครรภ์ เป็นพิษทั้งหมด 186 คน มีความคลาดเคลื่อนในการรักษา 154 คน (ร้อยละ 81.7) ความคลาดเคลื่อนมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ แมกนีเซียมในเลือดต่ำกว่ามาตรฐาน ก่อนคลอดร้อยละ 61.2 การไม่เพิ่มระดับแมกนีเซียมที่ยังต่ำกว่า มาตรฐานร้อยละ 50.7 และ ผลทางห้องปฏิบัติการล่าช้าร้อยละ 46.1 และในกลุ่มที่มีความคลาดเคลื่อนในการรักษา มีผู้ที่มีดัชนีมวลกาย >25 กก/ม2 ถึงร้อยละ 84.4 ซึ่งมากกว่ากลุ่มที่ ไม่มีความคลาดเคลื่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ผลการตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนระหว่างสองกลุ่มไม่ต่างกัน สรุป: พบความคลาดเคลื่อนในการดูแลรักษา ภาวะครรภ์เป็นพิษแบบรุนแรง และภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา มากกว่า ร้อยละ 80 แต่ไม่พบภาวะแทรกซ้อนแบบ รุนแรงจากความคลาดเคลื่อนในการรักษา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
American College of Obstetricians and Gynecologists: Hypertension in pregnancy. Report of the American College of Obstetricians and Gynecologists’ Task Force on Hypertension in Pregnancy. Obstet Gynecol 2013; 122: 1122-31.
Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Rouse DJ, Spong CY, et al. Hypertensive disorders in pregnancy. In: Williams Obstetrics. 24th ed. New York: McGraw-Hill; 2014; 728.
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. RTCOG Clinical Practice Guldeline Management of Preeclampsia and Eclampsia; สิงหาคม 2558: 60-76.
Kitiyodom S. Eclampsia in Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Med J Srisaket Surin Buriram Hospitals 2014; 29: 129-38.
Boonyongchaisawad R. Association between maternal body mass index and subtherapeutic serum magnesium level in severe preeclampsia at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Thai J Obstet Gynaecol 2559; 24: 145-52.
Jaisamut P. Effect of maternal body mass index on serum magnesium level given for severe preeclampsia at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Thai J Obstet Gynecol 2560; 25: 159-66.
Kitiyodom S. Comparison of the level of magnesium during maintenance between 2 gram and 1 gram per hour infusion in overweight mothers with preeclampsia. J Med Assoc Thai 2016; 99 suppl 7: S133-7.
ACOG. Committee on Practice Bulletins-Obstetrics. Diagnosis and management of preeclampsia and eclampsia. Obstet Gynecol. 2001; 98: 159-67.
Sibai BM, Stella CL. Diagnosis and management of atypical preeclampsia-eclampsia. Am J Obstet Gynecol 2009; 200: 481.e1-7.
Sabai BM. Pitfalls in diagnosis and management of preeclampsia. Am J Obstet Gynecol 1988; 159: 1-5.
Dayicioglu V, Sahinoglu Z, Kol E, Kucukbas M. The use of standard dose of magnesium sulfate in prophylaxis of eclamptic seizures: do body mass index alterations have any effect on success? Hypertens Pregnancy 2003; 22: 257-65.
Charoenvidhya D, Manotaya S. Magnesium sulfate maintenance infusion in women with preeclampsia: a randomized comparison between 2 gram per hour and 1 gram per hour. J Med Assoc Thai 2013; 96: 395-8
Khan A, Ghosh A, Banerjee PK, Kumar T. Analysis of the causes of maternal death in eclampsia, Int Org Sci Res J Dental Med Sci 2014; 13: 7-10.
Ghulmiyyah L, Sibai BM. Maternal mortality from preeclampsia/eclampsia. Semin Perinatol 2012; 36: 56-9.