ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกในผู้ป่วยสูงอายุ ในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

Main Article Content

อารยา ฐิติสุรวัฒน์
เศรษฐบุตร เอื้อพานิชเจริญ

บทคัดย่อ

          บทนำ: ไส้ติ่งอักเสบแตกในผู้สูงอายุโดยทั่วไปมักมีภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า มีอัตราตายสูงกว่าคนทั่วไป วัตถุประสงค์: ศึกษาหาการเกิดไส้ติ่งอักเสบแตกในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดไส้ติ่งที่โรงพยาบาลเทพรัตน์ นครราชสีมา และเปรียบเทียบผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบที่แตกและที่ไม่แตกเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดไส้ติ่ง อักเสบแตก ผู้ป่วยและวิธีการ:  การศึกษาแบบย้อนหลัง โดยการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย ไส้ติ่งอักเสบ (ICD-10: K35) ตั้งแต่ มกราคม 2557 ถึง พฤษภาคม 2560 อายุ 60 ปีขึ้นไป โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มไส้ติ่งอักเสบ และกลุ่มไส้ติ่งอักเสบแตก ข้อมูลที่เก็บคือข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย อาการแสดงต่าง ๆ ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการ จนถึงมาโรงพยาบาล ระยะเวลาตั้งแต่มาถึงโรงพยาบาลจนถึงผ่าตัด จำนวนวันที่นอน โรงพยาบาล และ ข้อมูลทาง ห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษาทั้งหมด 355 ราย เป็นผู้ป่วยที่ไส้ติ่งอักเสบแตก 98 ราย (27.6 %) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการแสดงของ โรคจนมาถึงโรงพยาบาล และ จำนวนวันที่นอนโรงพยาบาล ส่วนภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดพบ 3.1 % สรุป: อัตราความชุกของไส้ติ่งอักเสบแตกในผู้สูงอายุ คือ 27.6 % ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกในผู้ป่วยสูงอายุ คือระยะเวลาที่เริ่มมีอาการแสดงของโรคจนถึงเวลาที่ผู้ป่วย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และระยะเวลาการ นอนโรงพยาบาล

Article Details

How to Cite
ฐิติสุรวัฒน์ อ. ., & เอื้อพานิชเจริญ เ. . (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกในผู้ป่วยสูงอายุ ในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 40(3), 171–176. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1508
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Williams GR. Presidential Address: a history of appendicitis. With anecdotes illustrating its importance. Ann Surg 1983; 197: 495-506.

Addiss DG, Shaffer N, Fowler BS, Tauxe RV. The epidemiology of appendicitis and appendectomy in the United States. Am J Epidemiol 1990; 132: 910-25.

Liang MK, Andersson RE, Jaffe BM, Berger DH. The Appendix. In: Brunicardi FC, Andersen DK, Billiar TR, Dunn DL, Hunter JG, Matthews JB, et al., editors. Schwartz’s Principles of Surgery. 10th ed. New York, NY: McGraw-Hill Education; 2014.

Temple CL, Huchcroft SA, Temple WJ. The natural history of appendicitis in adults. A prospective study. Ann Surg 1995; 221: 278-81.

Sheu BF, Chiu TF, Chen JC, Tung MS, Chang MW, Young YR. Risk factors associated with perforated appendicitis in elderly patients presenting with signs and symptoms of acute appendicitis. ANZ J Surg 2007; 77: 662-6.

Sirikurnpiboon S, Amornpornchareon S. Factors associated with perforated appendicitis in elderly patients in a tertiary care hospital. Surg Res Pract 2015; 2015: 847681. doi: 10.1155/2015/847681

Lee JF, Leow CK, Lau WY. Appendicitis in the elderly. Aust N Z J Surg 2000; 70: 593-6.

Cohen-Arazi O, Dabour K, Bala M, Haran A, Almogy G. Management, treatment and outcomes of acute appendicitis in an elderly population: a single- center experience. Eur J Trauma Emerg Surg 2016; 43: 723-7.

Kermani R, Staudenmayer K, Gurney JM, Spain DA. Appendicitis in the elderly patient population. J Am Coll Surgeons 2014; 219: e15-6.