Waldenström’s Macroglobulinemia: รายงานผู้ป่วย 2 ราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
Waldenström’s macroglobulinemia (WM) เป็นเนื้องอกชนิดโคลนเดียวของเซลล์ lymphoplasmacytic cell เกณฑ์การวินิจฉัยคือพบ lymphoplasmacytic cells มากกว่าร้อยละ 20 ในไขกระดูกและ monoclonal gammo-pathyIgM >3 กรัม% WM เป็นโรคของผู้สูงวัยทั่วโลกยังพบโรคนี้น้อยรวมทั้งในประเทศไทยด้วย ในรายงานนี้ เป็นการศึกษาผู้ป่วยชายไทย 2 รายที่เป็น WM อายุ 58 และ 82 ปี ไม่มีอาการผิดปกติยกเว้นโลหิตจางจนเกิดอาการ เหนื่อยตรวจร่างกายไม่พบต่อมน้ำเหลือง หรือ ตับม้ามโตทั้ง 2 ราย ตรวจเลือดพบ Hb 7.7 และ 6.6 กรัม%, globulin ในเลือด 8.2 และ 7.4 กรัม% และ โดยวิธี immunofixation พบเลือดมี monoclonal gammopathyIgM, kappa type ในรายที่ 1 และ lambda type ในรายที่ 2 ตรวจไขกระดูกพบ lymphoplasmacytic cell จำนวนมากเกิน ร้อยละ 20 ทั้ง 2 ราย ไม่พบรอยแหว่งตามกระดูก ให้การวินิจฉัยว่าเป็น WM เนื่องจากมีภาวะโลหิตจางจึงนอกจากให้เลือด แล้ว ก็ให้การรักษาด้วยการรับประทานยา cyclophosphamide วันเว้นวันผู้ป่วยยังคงมีชีวิตยืนนานกว่า 2 ปีทั้ง 2 ราย หลังการวินิจฉัย โดยภาวะโลหิตจางของผู้ป่วยค่อยดีขึ้น และ globulin ในเลือดค่อยลดลงเป็นลำดับ ผู้ป่วย ทั้งสองรายของเรา ต้องวินิจฉัยแยกโรคจาก มะเร็งไขกระดูกแบบกระจาย (multiple myelomaหรือ MM) ชนิดที่มี IgM monoclonal gammopathy เพราะไตทำงานลดลง แต่ไม่มีรอยแหว่งของกระดูก ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของโรค MM จึงเป็นไปได้ยากที่จะเป็น MM ผู้ป่วย WM ของเราทั้งสองราย นอกจากจะมีภาวะโลหิตจางแล้วมีเงื่อนงำ เดียวที่พอช่วยให้นึกถึงโรคนี้ได้คือการที่ระดับ globulin ในเลือดสูงขึ้นอย่างชัดเจน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Kyle RA, Rajkumar SV. Criteria for diagnosis, staging, risk stratification and response assessment of multiple myeloma. Leukemia 2009; 23: 3-9.
García-Sanz R, Montoto S, Torrequebrada A, de Coca AG, Petit J, Sureda A, et al. Waldenström macroglobulinaemia: presenting features and outcome in a series with 217 cases. Br J Haematol 2001; 115: 575-82.
Herrinton LJ, Weiss NS. Incidence of Waldenström’s macroglobulinemia. Blood 1993; 82: 3148-50.
Phekoo KJ, Jack RH, Davies E, M ller H, Schey SA; South Thames Haematology Specialist Committee. The incidence and survival of Waldenström’s Macroglobulinaemia in South East England. Leuk Res 2008; 32: 55-9.
Iwanaga M, Chiang CJ, Soda M, Lai MS, Yang YW, Miyazaki Y, et al. Incidence of lymphoplasmacytic lymphoma/Waldenström’s macroglobulinaemia in Japan and Taiwan population-based cancer registries, 1996-2003. Int J Cancer 2014; 134: 174-80.
RAMATHIBODI CANCER REPORT 2011, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University
วิชัย ประยูรวิวัฒน์. Waldenstrom’s macroglobulinemia. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2543; 10:147-151.
Schuster SR, Rajkumar SV, Dispenzieri A, Morice W, Aspitia AM, Ansell S, et al. IgM multiple myeloma: disease definition, prognosis and differentiation from Waldenstrom’s macroglobulinemia. Am J Hematol 2010; 85: 853-5.
Bhatt VR, Murukutla S, Naqi M, Pant S, Kedia S, Terjanian T. IgM myeloma or Waldenstrom’s macroglobulinemiai is the big question? Maedica (Buchar) 2014; 9: 72-5.
Jondeau K, Alterescu R, Franc B, Davi F, Massé JM, Boukour S, et al. Unusual evolution of Waldenström’s macroglobulinemia into osteolytic myeloma. Eur J Haematol 2006; 77: 74-9.
Chen CI. Treatment for Waldenstrom’s macroglobulinemia. Ann Oncol 2004; 15: 550-8.
Dimopoulos MA, Kastritis E, Owen RG, Kyle RA, Landgren O, Morra E, et al. Treatment recommendations for patients with Waldenström macroglobulinemia (WM) and related disorders: IWWM-7 consensus. Blood 2014; 124: 1404-11.