การทดสอบคุณสมบัติทางชีวกลศาสตร์ของเครื่องยึดตรึงกระดูกภายนอกผิวหนัง เปรียบเทียบระหว่างข้อต่อรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

สุรัตน์ ส่งวิรุฬห์
สมชัย เชื่อมกลาง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบคุณสมบัติทางชีวกลศาสตร์ของเครื่องยึดตรึงกระดูกภายนอกผิวหนัง เปรียบเทียบระหว่างข้อต่อรุ่นเก่า และรุ่น ใหม่ ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา วิธีการ: การศึกษาทดลองครั้งนี้ใช้ขาหลังข้างขวาของหมูในการทดสอบจำนวน 18 ชิ้น โดยสุ่มคัดเลือกให้มีขนาดความยาว ความกว้าง รูปร่างไม่บิ่นหรือแตก แบ่งแบบสุ่มเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 9 ชิ้นเท่ากัน ทุกชิ้นได้รับการยึดตรึงด้วยเครื่องยึดตรึงกระดูก ภายนอกผิวหนังโดยกลุ่มแรกใช้ข้อต่อรุ่นใหม่ และอีกกลุ่มใช้ข้อต่อรุ่นเก่า โดยควบคุมตำแหน่งเจาะรูกระดูก ทิศทางตั้งฉากในการเจาะรูกระดูก ความลึกในการใส่แท่งเหล็ก ความสูงของแกนยึดแท่งเหล็กกับขอบกระดูก แรงบิดสูงสุดในการยึด ส่วนประกอบตำแหน่งกลางขา และทิศทางตั้งฉากของการตัดกระดูกเป็นสองท่อน ทั้งสองกลุ่มถูกนำไปทดสอบ และบันทึกคุณสมบัติทางชีวกลศาสตร์ในแนวแรงกด แรงหักงอ และแรงบิดหมุน ผลการศึกษา: ในแนวแรงกด และแรงบิดหมุน ข้อต่อรุ่นใหม่สามารถทนแรงได้น้อยกว่าข้อต่อรุ่นเก่า ในขณะที่ในแนวแรงหักงอข้อต่อรุ่นใหม่ สามารถทนแรงได้มากกว่าข้อต่อรุ่นเก่า โดยที่ไม่มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกแนวแรงระหว่างข้อต่อรุ่นใหม่และรุ่นเก่า

Article Details

How to Cite
ส่งวิรุฬห์ ส. ., & เชื่อมกลาง ส. . (2024). การทดสอบคุณสมบัติทางชีวกลศาสตร์ของเครื่องยึดตรึงกระดูกภายนอกผิวหนัง เปรียบเทียบระหว่างข้อต่อรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 39(3), 141–146. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1518
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Fragomen AT, Robert Rozbruch S. The mechanics of external fixation. HSS J 2007; 3: 13-29.

Pathak SLG, Atkinson BRN. Military external fixation of fractures. ADF Health 2001; 2: 24-8

Aro HT, Chao EY. Biomechanics and biology of fracture repair under external fixation. Hand Clin 1993; 9: 531-42.

Dujardin F, Ennedam J, Daragon A, Biga N, Thomine JM. Experimental study of the stabilization capability of upper metaphyseal tibial fractures by different types of external fixators. Rev Chir Orthop Reparatrice Appar Mot 1996; 82: 500-7.

Grubor P, Grubor M, Asotic M. Comparison of stability of different types of external fixation. Med Arh 2011; 65: 157-9.