แนวทางการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

วีระพงษ์ ศรีประทาย

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และแสวงหาแนวทางการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา เก็บข้อมูลด้วย แบบคัดกรอง แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุทั่วไป จำนวน 363 คน ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 13 คน และผู้สูงอายุที่นำแนวทางไปปฏิบัติ 9 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเป็น ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดหมวดหมู่ข้อมูลผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 60-65 ปี อาชีพเกษตรกรรม รายได้อยู่ระหว่าง 15,001-20,000 บาท เมื่อคัดกรองด้วย 2Q ส่วนใหญ่ มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า และเมื่อคัดกรองด้วย 9Q ผู้สูงอายุมีอาการของโรคซึมเศร้าระดับน้อย และคัดกรองด้วย 8Q ผู้สูงอายุไม่มีแนวโน้มฆ่าตัวตายในปัจจุบัน (2) แนวทางป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ คือ (2.1) สถานพยาบาล ได้แก่ การให้การปรึกษา การให้ความรู้ การรักษา การกำกับติดตาม (2.2) ครอบครัวได้แก่เข้าใจธรรมชาติของผู้สูงอายุ รับฟ้งปัญหาหรือความคิดเห็นของผู้สูงอายุ ดูแลอย่างใกล้ชิด สังเกตพฤติกรรมของผู้สูงอายุ (2.3) ผู้สูงอายุ ได้แก่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่เครียด คิดมากในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น แนวทางฯ ดังกล่าวผู้เกี่ยวข้องเห็นว่า มีความถูกต้อง เหมาะสม และสามารถนำไปใช้งานได้จริง และเมื่อนำแนวทางฯ ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ผู้สูงอายุเห็นว่า แนวทางฯ สามารถใช้งานได้จริง เพราะผู้สูงอายุมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีขึ้น เสนอแนะให้ใช้แนวทางฯ ต่อไป

Article Details

How to Cite
ศรีประทาย ว. . (2024). แนวทางการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 39(3), 147–154. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1519
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ปราโมทย์ ปราสาทกุล. สถานการณ์ผู้สูงอายุ แนวโน้มและผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน.

[ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2559 ได้จาก: http://hp.anamai. moph.go.th /download/ผู้สูงอายุ/

Meeting10_13Dec. 2556/12.Dec.2556/3.สถานการณ์ผู้สูงอายุ. ศ.ดร.ปราโมทย์. pdf

กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับ ปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์; 2557.

สุวิทย์ เจริญศักด์ิ. การดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2559 ได้จาก : http://www.hiso.or.th/hiso5/healthy/news3_9.php?m=4

สรร กลิ่นวิชิต, เวธกา กลิ่นวิชิต, พวงทอง อินใจ, พลอยพันธุ์ กลิ่นวิชิต. การประเมินภาวะสุขภาพจิต ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังในชุมชน เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. บูรพาเวชสาร 2558; 2: 21-33.

บุษราคัม จิตอารีย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ ปริญญาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2555.

นภา พวงรอด. การศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2559; 2: 63-74.

อรสา ใยยอง และพีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. ภาวะซึมเศร้าและอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2554; 56: 117-28.

วิภาพร สิทธิสาตร์, สุชาดา สวนนุ่ม. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน เขตความรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านเสาหิน ตำบลวัดพริก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพุทธชินราช; 2550.

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, สิริกร สุธวัชณัฐชา, ปริมวิชญา อินต๊ะกัน, สายใจ ลิชนะเธียร. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้า

ของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในเขตเมือง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2556; 6: 27-37.

สายพิณ ยอดกุล, จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษา

ในโรงพยาบาล บุรีรัมย์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2555; 30: 50-7.

พจนา เปลี่ยนเกิด. โรคซึมเศร้า: บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษา. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15: 18-21.

เยาวดี วิบูลย์ศรี. การประเมินโครงการแนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: 2544.