พัฒนาการการทำงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุไม่กินหวาน ตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
พัฒนาการการทำงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุไม่กินหวาน มีวัตถุประสงค์ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุไม่กินหวานอย่างมีส่วนร่วมโดยการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังนี้ ศึกษาจากโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุไม่กินหวาน ตำบลลำปลายมาศตั้งแต่ปี 2552-2560 ซึ่งประกอบด้วย 4 โครงการย่อย เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกการมีส่วนร่วม แบบประเมินตนเองแบบบันทึกกิจกรรม ผลการตรวจสุขภาพช่องปาก ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในโครงการส่งเสริมสุขภาพต่าง ๆ ต้องให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ต้องเน้นการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในชมรม ชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การขยายกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากไปยังชมรมอื่น การสร้างต้นแบบการสร้างนวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก การรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เผยแพร่ไปสู่ครอบครัวและชุมชนสรุปว่า พัฒนาการทำงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุไม่กินหวานดีขึ้น มีการดำเนินงานชมรมที่เข้มแข็งการศึกษาครั้งต่อไปควรติดตามประเมินสุขภาพ และสภาวะทันตสุขภาพ ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World Health Organization. Improving oral health amongst the elderly:http://www.who.int/oral_health/action/groups/en/indexń.html
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. สิงหาคม 2557.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.). ทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (ร่าง); เอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2553 ของสศช., 6 สิงหาคม 2553.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. เอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2552 เรื่องจากวิสัยทัศน์ 2570...สู่แผนฯ 11. http://www.thaireform.in.th/multi-dimensional-reform/national-strategy/item/4846-2552-257011-.html
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555. โรงพิมพ์สำนักกิจการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2556.
อรสา ปานขาว. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์ มธส. แหล่ง
ที่มา http:www.stou.ac.th/Offices/Opr/Central/upload วันที่ 5 มกราคม 2558
ธนา ประมุขกุล. ความหมายของเครือข่าย. 2557 แหล่งที่มาhttp:www.anamai.moph.go.th/advisor/243/24313.html.วันที่ 25 พฤษภาคม 2550
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549) องค์ประกอบของเครือข่าย. แหล่งที่มา http://www.oppn.opp.go.th/research02.php วันที่ 8 พฤษภาคม 2549
เริงสิทธิ์ นามวิชัยศิริกุล. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยชุมชนมีส่วนร่วม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสุขภาพจิตชุมชนแห่งประเทศไทย 2558; 2: 32-42.
เริงสิทธิ์ นามวิชัยศิริกุล. การพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยอ่อนหวานเด็กไทยฟันดี อำเภอลำปลายมาศ
จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม 2559; 10: 20-35.
เริงสิทธิ์ นามวิชัยศิริกุล. การพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลมสู่ตำบลดื่มน้ำเปล่า ด้วยการมีส่วนร่วม
ของชุมชน ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2553-2558. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2560; 39: 13-24.
เขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์. ผลงานความสำเร็จผู้บริหาร และบุคลากรเขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์ รอบ 6 เดือนแรก. 2558.
สำนักข่าวอิศรา (Isranews). (2558). ศูนย์เด็กเล็กอ่อนหวานโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม สู่ตำบลดื่มน้ำเปล่า แห่ง
แรกเริ่มที่บุรีรัมย์. แหล่งที่มา http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/37363-burirum.html
เริงสิทธิ์ นามวิชัยศิริกุล. สถานการณ์นโยบายไม่กินหวานในโรงเรียน ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์.
วารสารทันตาภิบาลวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. 2561; 29(1) ในระหว่างรอตีพิมพ์.
World Health Organization. Ottawa Charter for Health Promotion. In: An International Conference on Health Promotion. The move toward a new public health; Ottawa, Canada: WHO, 1986.
กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. ข้อเสนอเชิงนโยบาย และกลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากของประชาชนไทย กลุ่มอายุต่าง ๆ ในทศวรรษหน้า. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด. 2549.
เริงสิทธิ์ นามวิชัยศิริกุล. การพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเชิงรุก บ้านผักกาดหญ้า หมู่ที่ 4 ตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2551; 23: 233-42.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่มที่ 1 สุขภาพ ช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพและโรคทางระบบ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
จำกัด. กันยายน 2554.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ชุดความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพช่อง ปากผู้สูงอายุสำหรับบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและชมรมผู้สูงอายุ.
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กันยายน 2554.
จอนสัน พิมพิสาร, วิไลวรรณ ทองเกิด. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลทันตสุขภาพเด็กเล็ก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2511; 13: 72-80.
จินดา พรหมทา. พัฒนาการการทำงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในโรงเรียนประถมศึกษาตามโครงการสำนัก ทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ของอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2559; 21: 79-88.
ณัฐพฤกษ์ แก้วพิบูลย์ และคณะ. การศึกษาชุมชน. ภาควิชาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. โครงการส่งเสริมการผลิตเอกสารชุดการเรียนที่เป็นการสรุปเนื้อหาในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์.
มีนาคม 2547.
พิกุล สิทธิประเสริฐกุล. แผนที่ผลลัพธ์: การสร้างการเรียนรู้ และการสะท้อนกลับในแผนงานพัฒนา. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข. 2547.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. มิถุนายน 2542.
สุณี วงศ์คงคาเทพ, สาลิกา เมธนาวิน, อลิสา ศิริเวชสุนทร. สถานการณ์กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล กับการสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพช่องปาก กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ออลพริ้น: กรุงเทพฯ. 2552.