ผลลัพธ์จากการส่องกล้องในภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน โรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: ภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนบนเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบบ่อย และมีความสำคัญในเวชปฏิบัติเนื่องจากเป็นภาวะที่มีอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 10-14 วัตถุประสงค์: ศึกษาสาเหตุของภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนบนในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา วิธีการศึกษา : เป็น การวิจัยเชิงพรรณนา โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนคอมพิวเตอร์และทะเบียนบันทึกการผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนและได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนในโรงพยาบาลสีคิ้วตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 ถึง 30 กันยายน 2559 ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบนที่เข้ารับการส่องกล้องทั้งหมดจำนวน 255 ราย เป็นเพศชาย 176 ราย (ร้อยละ 69.0) และเพศหญิง 79 ราย(ร้อยละ 31.0) โดยอายุเฉลี่ย 59 ปี (20-85 ปี) สาเหตุของเลือดออกทางเดินอาหารที่พบบ่อยสามลำดับแรก ได้แก่ แผลในกระเพาะอาหาร (gastric ulcer) ร้อยละ 45.5, กระเพาะอาหารอักเสบ (gastritis) ร้อยละ 20.8 และเส้นเลือดขอดที่หลอดอาหาร (esophageal varices) ร้อยละ 9.0 การส่องกล้องที่พบความผิดปกติและได้ตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ 54 ราย พบว่าเป็นกระเพาะอาหารอักเสบ ร้อยละ 77.8, เซลล์มะเร็ง ร้อยละ 22.2 ของจำนวนการส่งตรวจชิ้นเนื้อ สรุป: แผลในกระเพาะอาหารเป็นสาเหตุหลักของภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน ในโรงพยาบาลสีคิ้ว การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนเป็นวิธีการที่ประหยัดและมีประโยชน์ ควรจะเป็นวิธีแรกในขบวนการวินิจฉัยผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Barkun AN, Bardou M, Kuipers EJ, Sung J, Hunt RH, Martel M, et al. International concensus recommendations of the management of patients with nonvariceal upper gastrointestinal bleeding. Ann Intern Med 2010;152: 101-13.
Boonpongmanee S, Fleischer DE, Pezzulo JC, Collier K, Mayoral W, Al-Kawas F, et al. The frequency of peptic ulcer as a cause of upper-GI bleeding is exaggerated. Gastrointest Endose 2004; 59: 788-94.
ชัชวาลย์ วงศ์จิตรัตน์. ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. J Med Health Sci 2013; 20: 46-52.
วิรุตม์ โล่ห์สิริวัฒน์, ดรินทร์ โล่ห์สิริวัฒน์. Surgery of upper gastrointestinal bleeding. ศัลยศาสตร์ทั่วไป
; 15: 365-71.
ทวี รัตนชูเอก. Management of non-variceal upper gastrointestinal bleeding. ศัลยศาสตร์ทั่วไป 2555; 14: 175-84.
Saowaros V, Udayachalerm W, Wee-Sakul B, Tienpaitoon V. Causes of upper gastrointestinal
bleeding in Thai patient. J Med Assoc Thai 1994; 77: 561-5.
Rockall TA, Logan RF, Devlin HB, Northfield TC. Risk assessment after acute upper gastrointestinal haemorrhage. Gut 1996; 38: 316-21.
Blatchford O, Murray WR, Blatchford M. A risk score to predict need for treatment for upper gastrointestinal haemorrhage. Lancet 2000; 356: 1318-21.
สุพจน์ พงศ์ประสบชัย, ธวัชชัย อัครวิพุธ, สมชาย ลีลากุศลวงศ์. การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (Upper GI Endoscopy). กรุงเทพเวชสาร 2555; 1: 63-70.