ภาวะกลืนลำบากในผู้ป่วยไธรอยด์เป็นพิษ และโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก: รายงานผู้ป่วย 1 ราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภาวะกลืนลำบาก มีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพยาธิสภาพของตัวหลอดอาหารเอง การส่องกล้องเข้ากระเพาะ หรือกลืนแป้งเอกซเรย์มักจะให้การวินิจฉัยโรคได้เกือบทั้งหมด แต่ในรายงานนี้เป็นภาวะกลืนลำบาก ที่พบในผู้ป่วยที่มีไธรอยด์เป็นพิษ และโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยไม่มีรอยโรคในหลอดอาหารเลย ผู้ป่วยเป็นหญิงไทย อายุ 45 ปี มีภาวะกลืนลำบากมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลา 1 เดือน และน้ำหนักลดลงตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติใด ๆ นอกจากซีด ตรวจเลือด พบ Hb 5.7 กรัม%, WBC 6,100/มม3, platelet 596,000/มม3, MCV 49.8 เฟมโตลิตร, MCH 14.3 พิโครกรัม, RDW 27.8 %, ferritin 2.1 นาโนกรัม/มล, serum iron 1 ไมโครกรัม/ดล., TIBC 579 ไมโครกรัม/ดล., FT3 8.42 พิโครกรัม/มล., FT4 3.08 นาโนกรัม/ดล., TSH 0.003 uIU/มล. ส่องกล้อง และกลืนแป้งเอ็กซเรย์เพื่อตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นไม่พบความผิดปกติใด ๆ จึงให้การวินิจฉัยว่าเป็นภาวะกลืนลำบาก ที่พบในโรคไธรอยด์เป็นพิษร่วมกับโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เมื่อให้การรักษาด้วยยารับประทานยาเข้าธาตุเหล็ก propranolol methimazole และ FBC ภาวะกลืนลำบากดีขึ้น ตามลำดับจนหายเป็นปกติ ผลตรวจเลือดในเวลา 5 เดือนต่อ มาพบ Hb 11.8 กรัม%, WBC 7,000/มม3, platelet 399,000/มม3, MCV 74.2 เฟมโตลิตร, MCH 23.2 พิโครกรัม, RDW 17.1 %, FT3 2.12 พิโครกรัม/มล, FT4 0.2 นาโนกรัม/ดล. และ TSH 96.86 uIU/มล. ภาวะกลืนลำบากที่พบในผู้ป่วยรายนี้ คาดว่าน่าจะเกิดจากภาวะไธรอยด์เป็นพิษมากกว่าจากโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เพราะถ้าเป็นจากโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก มักจะพบ esophageal web ร่วมด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Hoy M, Domer A, Plowman EK, Lock R, Belafsky P. Causes of dysphagia in a tertiary care swallowing center. Ann Otol Rhinol Laryngol 2013; 122: 335-8.
Banday TH, Bhat SB, Kmat A, Bhat S, Nanjundswamy. Thyrotoxicosis with primary presentation as dysphagia: a rare manifestation. Int J Res Med Sci 2014; 2: 1188-90.
Novacek G. Plummer-Vinson syndrome. Orphanet J Rare Dis 2006; 1: 36. Published online 2006 Sep 15. doi: 10.1186/1750-1172-1-36.
Mathew B, Devasia AJ, Ayyar V, Thyagaraj V, Francis GA. Thyrotoxicosis presenting as acute bulbar palsy. J Assoc Physicians India 2011; 59: 386-7.
Okada H, Yoshioka K. Thyrotoxicosis complicated with dysphagia. Intern Med 2009; 48: 1243-5.
Chiu WY, Yang CC, Huang IC, Huang TS. Dysphagia as a manifestation of thyrotoxicosis: report of three cases and literature review. Dysphagia 2004; 19: 120-4.
Taguchi Y, Takashima S, Tanaka K. Koilonychia in a patient with subacute iron-deficiency anemia. Intern Med 2013; 52: 2379.
Gude D, Bansal DP, Malu A. Revisiting Plummer- Vinson syndrome. Ann Med Health Sci Res 2013; 3: 119-21.
กลุ่มควบคุมป้องกันด้านโภชนาการสำนักโภชนาการกรมอนามัย. รายงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552.
โพธิ์ จรรยาวนิชย์, วราภรณ์ พลเมือง. อุบัติการณ์ของภาวะไทรอยด์เป็นพิษในผู้ป่วยในที่มีภาวะหัวใจเต้น
ผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation. จุฬาลงกรณ์เวชสาร2556; 57: 601-13.
Guyatt GH, Oxman AD, Ali M, Willan A, McIlroy W, Patterson C. Laboratory diagnosis of iron-deficiency anemia: an overview. J Gen Internal Med 1992; 7: 145-53.
Schrier SL. Treatment of iron deficiency anemia in adults. In: UpToDate, Post TW (Ed), UpToDate, Waltham MA. (Accessed on Nov 25, 2013)
Choo YK, Yoo WS, Kim DW, Chung HK. Hypothyroidism during antithyroid drug treatment with methimazole is a favorable prognostic indicator in patients with Graves’ disease. Thyroid 2010; 20: 949-54.