งานคัดกรองรอยโรคมะเร็งในช่องปากของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ขั้นตอนการจัดการรอยโรคที่เป็นมะเร็งหรือความเสี่ยงสูงจะกลายเป็นมะเร็ง: รายงานผู้ป่วย 1 ราย

Main Article Content

หรินทร์ คล้ายพึ่ง

บทคัดย่อ

มะเร็งในช่องปากและคอ จัดเป็นมะเร็งที่พบบ่อยลำดับที่ 6 ของร่างกาย และผลการรักษานั้นจะได้ผลดีที่สุดถ้าค้นพบรอยโรคในระยะแรก ๆ หรือมีขนาดเล็ก และไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอรอยโรคในช่องปากที่ไม่มีอาการเพียงแต่ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของสี ส่วนประกอบที่ผิดแปลกไป เช่น ขรุขระไม่เรียบ หรือเป็นก้อน จะเป็นการเพียงพอที่จะต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อค้นหารอยโรคที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้ดังตัวอย่างผู้ป่วยในรายงานนี้ ผู้ป่วยเป็นหญิงไทย อายุ 70 ปี มีก้อนที่ริมฝีปากบนด้านในเป็นเวลา 1 เดือน ก้อนโตช้า ๆ ไม่เจ็บ ปกติผู้ป่วยเคี้ยวหมากเป็นประจำ ตรวจภายในช่องปากพบก้อนเนื้อคล้ายดอกกะหล่ำ ขนาด 2x3 เซนติเมตร ที่ผนังปากบนด้านในไม่พบต่อมน้ำเหลืองที่คอโต คิดว่าเป็น verrucous carcinoma จึงรีบตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อออกตรวจ ผลทางจุลพยาธิวิทยาเป็น hyperplasia without atypia and mild chronic inflammation เนื่องจากรอยโรคกว้าง จึงนัดผู้ป่วยมาตรวจและตัดก้อนเนื้อออกทั้งหมดด้วยเครื่องยิงเลเซอร์ หลังผ่าตัดรอยโรคดีขึ้นมากภายใน 2 สัปดาห์ ผลชิ้นเนื้อเป็น verrucous carcinoma in situ และไม่พบรอยโรคกลับเป็นซ้ำอีก หลังการผ่าตัดการรีบให้การรักษาด้วยการตัดก้อนเนื้อในผู้ป่วยที่มีรอยโรคในช่องปากที่อาจจะกลายเป็นมะเร็งได้ตั้งแต่ต้น ตาม Korat Model แบบผู้ป่วยรายนี้ ช่วยให้การรักษามะเร็งในช่องปากหายขาดได้

Article Details

How to Cite
คล้ายพึ่ง ห. . (2024). งานคัดกรองรอยโรคมะเร็งในช่องปากของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ขั้นตอนการจัดการรอยโรคที่เป็นมะเร็งหรือความเสี่ยงสูงจะกลายเป็นมะเร็ง: รายงานผู้ป่วย 1 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 39(2), 131–136. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1539
บท
รายงานผู้ป่วย

References

Edwards PC. Oral cancer screening for asymptomatic adults: Do the US Preventive Services Task Force draft guidelines miss the proverbial forest for the trees? Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol 2013; 116: 131-4.

Dost F, Le Cao PJ, Ford P, Farah CS. A retrospective analysis of clinical features of oral malignant and potentially malignant disorders with and without oral epithelium dysplasia. Oral Med 2014; 116: 725-33.

Natajaran E, Eisenberg E. Contemporary concepts in the diagnosis of oral cancer and precancer. Dent Clin North Am 2011; 55: 63-88. 4. Sook-Bin-Woo. Oral Pathology: A Comprehensive Atlas and Text, 2nd Ed, Saunders 2012, p 230-240.

Rhodus NL, Kerr AR, Patel K. Oral cancer: Leukoplakia, premalignancy, and squamous cell carcinoma. Dent Clin North Am 2014; 58: 315-40.

Greenberg MS, Glick M, Ship JA. Burket’s Oral Medicine. 11th Ed, BC Decker Inc, Hamilton, Ontario, 2008. P. 41-106.

Anthony Pogrel M, Kahnberg K-E, Anderson L. Essentials of Oral and Maxillofacial Surgery. Wiley Blackwell, 2014, P. 229-39.

Wood NK, Goaz PW. Differential Diagnosis of Oral and Maxillofacial Lesions. 5th Ed, Mosby, 1997, P. 49-126.

Bricker SL, Langlais RP, Miller CS. Oral Diagnosis, Oral Medicine, and Treatment Planing. 2nd Ed., 2012 BC Decker Inc, Hamilton. London, P. 706-26.