การพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลมสู่ตำบลดื่มน้ำเปล่า ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2553-2558

Main Article Content

เริงสิทธิ์ นามวิชัยศิริกุล

บทคัดย่อ

การพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลมสู่ตำบลดื่มน้ำเปล่าเป็นงานที่สำคัญเนื่องจากการบริโภคน้ำอัดลม มีผลเสียทำให้เด็กเกิดโรคฟันผุ และโรคอ้วน ในปี 2553 พบว่าโรงเรียนทุกแห่งในเขตตำบลทะเมนชัย มีการจำหน่ายน้ำอัดลม การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนางานเครือข่ายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลมขยายสู่ชุมชนเป็นตำบลดื่มน้ำเปล่าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนเครือข่ายทั้ง 10 แห่ง เลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาดำเนินงานระหว่าง พ.ศ. 2553-2558 แบ่งเป็น 3 ระยะคือ 1) การพัฒนาเครือข่าย โรงเรียนปลอดน้ำอัดลม 2) การพัฒนาทักษะอาสาสมัครแกนนำหมู่บ้านและภาคีเครือข่าย 3) การทำข้อตกลงร่วมกันกับทุกหน่วยงานเป็นตำบลดื่มน้ำเปล่าเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามสถานการณ์โรงเรียนปลอดน้ำอัดลม และการสังเกตโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าโรงเรียนเครือข่ายทั้ง 10 แห่ง ปลอดน้ำอัดลม จัดหาน้ำสะอาดให้เด็กดื่ม อย่างเพียงพอและมีการจัดอาหารว่าง อาหารกลางวัน งานต่าง ๆ ใช้น้ำเปล่า และอาหารเพื่อสุขภาพ จากความสำเร็จในการดำเนินงานในโรงเรียนทั้ง 10 แห่ง มีการขยายผลเข้าสู่ชุมชน 8 หน่วยงานโดยเครือข่ายครู นักเรียน ผู้ปกครอง และอสม. พบว่าแกนนำหมู่บ้านมีศักยภาพเพิ่มขึ้น มีภาคีเครือข่ายที่ดีสามารถกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันในระดับตำบลก่อให้เกิดการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มขึ้น เกิดการทำข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ระหว่างโรงเรียนเครือข่ายทั้ง 10 แห่ง กับ 8 หน่วยงานในตำบลโดยมีผู้แทนจากกรมอนามัย และสื่อมวลชนหลายสื่อเป็นสักขีพยานเกิดนโยบายสาธารณะ 10 ข้อ เกิดข้อตกลงร่วมกัน 10 ข้อ ให้ทุกหน่วยงานนำไปปฏิบัติ ข้อเสนอแนะควรมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด และสร้างความรู้ ความเข้าใจกับประชาชน อย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
นามวิชัยศิริกุล เ. . (2024). การพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลมสู่ตำบลดื่มน้ำเปล่า ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2553-2558. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 39(1), 13–24. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1545
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผล การสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประเทศไทย พ.ศ. 2549-2550. โรงพิมพ์ สำนักกิจการองค์การทหารผ่านศึก, 2551.

อุไรพร จิตต์แจ้ง, ประไพศรี ศิริจักรวาล และคณะ.รายงานการวิจัย เรื่องการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคขนมและอาหารว่างของเด็ก 3-15 ปี. เอกสารอัดสำเนา พ.ศ. 2547.

เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน. 2547. ความเชื่อมโยงระหว่าง น้ำตาลกับโรคอ้วน โรคฟันผุ และบริโภคนิสัย ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในระยะยาว. เอกสารอัดสำเนา พ.ศ. 2547.

World Health Organization. Ottawa Charter for Health Promotion. In: An International Conference on Health Promotion. The move toward a newpublic health; Ottawa, Canada: WHO, 1986.

อรสา ปานขาว. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์ มธส. แหล่งที่มา http:www.stou.ac.th/Offices/Opr/Central/upload วันที่ 5 มกราคม 2558.

ธนา ประมุขกูล. ความหมายของเครือข่าย. 2557 แหล่งที่มา http:www.anamai.moph.go.th/advisor/243/24313.html. วันที่ 25 พฤษภาคม 2550.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549) องค์ประกอบของเครือข่าย. แหล่งที่มา http://www.oppn.opp.go.th/research02.php วันที่ 8 พฤษภาคม 2549.

โรงพยาบาลลำปลายมาศ. สรุปผลการปฏิบัติงาน โรงพยาบาลลำปลายมาศ. 2552 เอกสารอัดสำเนา.

โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง. สรุปผลการปฏิบัติงาน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ. 2553. เอกสารอัดสำเนา.

โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง. สรุปผลการปฏิบัติงาน ก้าวสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร. 2555. เอกสารอัดสำเนา.

โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง. สรุปผลการปฏิบัติงานเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี. 2556 เอกสารอัดสำเนา.

โรงพยาบาลลำปลายมาศ. สรุปผลการปฏิบัติงานบันทึกข้อตกลง (MOU) โรงพยาบาลลำปลายมาศ. 2558 เอกสารอัดสำเนา.

เขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์. ผลงานความสำเร็จผู้บริหาร และบุคลากรเขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์ รอบ 6 เดือนแรก.2558.

สำนักข่าวอิศรา (Isranews). (2558) ศูนย์เด็กเล็กอ่อนหวาน โรงเรียนปลอดน้ำอัดลม สู่ตำบลดื่มน้ำเปล่าแห่งแรกเริ่มที่บุรีรัมย์.แหล่งที่มาhttp://www.isranews.org/isranews-scoop/item/37363-burirum.html.

จินดา พรหมทา พัฒนาการการทำงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในโรงเรียนประถมศึกษา ตามโครงการ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัยของอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ วิทยาสารทันตสาธารณสุข ปีที่ 21 ฉบับ ที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559 : 79-88.

จอนสัน พิมพิสาร, วิไลวรรณ ทองเกิด การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลทันตสุขภาพเด็กเล็ก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา วิทยาสารทันตสาธารณสุข ปี ที่13 ฉบับที่ 3 พฤษภาคม 2511: 72-80.