อ็อกซี่เมโธโลนทำให้โรคไขกระดูกฝ่อในผู้ป่ วยติดเชื้อเอชไอวีดีขึ้น: รายงานผู้ป่วย
Main Article Content
บทคัดย่อ
Oxymetholone เป็นฮอร์โมนเพศชายกึ่งสังเคราะห์ มีฤทธิ์ในการรักษาผู้ป่วยไขกระดูกฝ่อที่ไม่ทราบสาเหตุ แต่ผลการรักษาไขกระดูกฝ่อที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชไอวียังมีรายงานน้อย ดังในรายงานนี้ซึ่งเป็นของผู้ป่วยชายไทย อายุ 46 ปี ได้รับการวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นโรคไขกระดูกฝ่อชนิดรุนแรง โดยตรวจพบ pancytopenia ไม่พบเซลล์ตัวอ่อนในกระแสเลือด ตัดชิ้นเนื้อไขกระดูกพบว่าเป็นไขกระดูกฝ่อจริง ร่วมกับการติดเชื้อเอชไอวี ตรวจเลือดพบ CD4 count ได้ 437/mm3 ในขณะผล viral titer ได้ 57,720 ให้การรักษาด้วย oxymetholone 150 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ยังไม่ได้เริ่ม HAART เพราะ CD4 ยังคงมีมากกว่า 350/mm3 การรักษาอื่น ได้แก่ deferiprone 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับภาวะเหล็กเกินควินีน 300 มิลลิกรัม ก่อนนอนสำหรับภาวะตะคริวที่เกิดบ่อยเวลานอน ผู้ป่วยมารับยาอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน และจะได้รับการเพิ่มเลือด ถ้าพบว่าความเข้มข้นฮีโมโกลบิน ต่ำกว่า 7.0 กรัม% ผลเลือดค่อย ๆ ดีขึ้นในแต่ละปี ภายใน 4 ปี พบว่า Hb, WBC และ platelet เพิ่มจาก 6.6 กรัม%, 2,500/mm3 และ 10,000/mm3 ตามลำดับ เป็น 13.2 กรัม%, 4,000/mm3 และ 30,000/mm3 ตามลำดับ ในขณะที่ระดับ CD4 ก็เพิ่มจาก 437 เป็น 526/mm3 ในที่สุดแทนที่จะลดลงเพราะยังไม่ได้รับยากลุ่ม HAART ไม่ปรากฏผลข้างเคียงของ oxymetholone ที่รุนแรง การที่ภาวะ pancytopenia และระดับ CD4 ในผู้ป่วยรายนี้ดีขึ้นมาก หลังจากที่ได้รับการรักษาด้วย oxymetholone เป็นไปได้ว่าเป็นผลจากการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดในไขกระดูก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Pavlatos AM, Fultz O, Monberg MJ, Vootkur A. Review of oxymetholone: a 17 alpha-alkylated anabolicandro- genic steroid. Clin Ther 2001; 23: 789-801.
Allen DM, Fine MH, Necheles TF, Dameshek W. Oxymetholone Therapy in Aplastic Anemia. Blood 1968; 32: 83-9.
Mir MA, Delamore IW. Oxymetholone in aplastic anemia. Postgrad Med J 1974; 50: 166-71.
Young NS, Scheinberg P, Calado RT. Aplastic anemia. Curr Opin Hematol 2008; 15: 162-8. doi: 10.1097/ MOH.0b013e 3282fa7470
Insiripong S, Yingsitsiri W, Boondumrongsagul J, Noiwattanakul J. Aplastic anemia in HIV- infected persons. Chulalongkorn Med J 2014; 58: 247-54.
Marsh JCW, Ball SE, Cavenagh J, Darbyshire P, Dokal I, Gordon-Smith EC, et al. Guidelines for the diagnosis and management of aplastic anaemia. Br J Haematol 2009; 147: 43-70.
McNamara LA, Collins KL. Hematopoietic stem precursor cells as HIV reservoirs. Curr Opin HIV AIDS 2011; 6: 43-8.
Hengge UR, Stocks K, Faulkner S, Wiehler H, Lorenz C, Jentzen W, et al. Oxymetholone for the treatment of HIV-wasting: a double-blind, randomized, placebo-controlled phase III trial in eugonadal men and women. HIV Clin Trials 2003; 4: 150-63.
Zhang QS, Benedetti E, Deater M, Schubert K, Major A, Pelz C, et al. Oxymetholone therapy of Fanconi anemia suppresses osteopontin ranscription and induces hematopoietic stem cell cycling. Stem Cell Reports 2015; 4: 90-102.
Barnett D, Walker B, Landay A, Denny TN. CD4 immu-no-phenotyping in HIV infection. Nat Rev Microbiol 2008; 6(11 suppl): s7-15.
Clarke TR, Barrow G, Thompson D, Gibson R, Barton EN. Response to first line HAART using CD4 cell counts experience in a university hospital in Kingston. West Indian Med J 2010; 9: 439-44.
Hengge, 2003 Hengge U, Double-blind randomised, placebo-controlled phase III trial of oxymetholone for the treatment of HIV wasting. AIDS 2003; 17: 699-710.
García-Bujalance S, Navarro-San Francisco C, Rubio JM, Arribas AR, Gutierrez A. Imported Plasmodium falciparummalaria in HIV-infected patients: a report of two cases. Malar J. 2012; 11: 136. doi: 10.1186/1475-2875-11-136.