ภาวะสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

ธนกร สนั่นเอื้อ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง และผู้พิการที่เคยมารับบริการ โรงพยาบาลรัตนวาปี อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย  ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม  พ.ศ. 2559 วิธีการศึกษา: เป็นการ ศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วย ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ว่าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง และผู้พิการ ตามเกณฑ์การวินิจฉัย ICD-10 ที่เคยมารับ บริการโรงพยาบาลรัตนวาปี อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย  ทำการศึกษาระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือน มีนาคม  พ.ศ. 2559 จำนวน 954 คน ใช้เครื่องมือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย 2) แบบสำรวจสุขภาพจิตสำหรับ คนไทย (The Thai Mental Health Questionnaire: TMHQ) ซึ่งพัฒนาโดย ดร.สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์ และคณะ (2542) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ แจกแจงความถี่และร้อยละ ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ร้อยละ 60.27 มีปัญหาสุขภาพจิต ด้านความวิตกกังวล (anxiety) รองลงมา ร้อยละ 50.94 มีปัญหาด้านความรู้สึกผิดปกติทางด้าน ร่างกาย (somatization) และ ร้อยละ 44.86 มีปัญหาด้าน ซึมเศร้า (depressive) สรุป: ผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ มีปัญหาสุขภาพจิตด้านความวิตกกังวล (anxiety) รองลงมีปัญหาด้านความรู้สึกผิดปกติทางกาย และ ด้านซึมเศร้า ตามลำดับ ทุกกลุ่มโรคที่ศึกษามีปัญหาทางสุขภาพจิตอย่างน้อย 1 ด้าน  ดังนั้นการประเมินภาวะสุขภาพจิต ของผู้ป่วย โรคเรื้อรัง  จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต้องได้รับการประคับประคองทางด้านจิตใจ และการส่งรักษา ต่ออย่างเหมาะสม

Article Details

How to Cite
สนั่นเอื้อ ธ. . (2024). ภาวะสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 38(1), 25–34. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1566
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Jamjuree D. Model nursing for an empowerment in chronic patients. The company siamjarean limited; 2003.

พิไลลักษณ์ ทองอุไร. ภาวะจิตสังคมในผู้ป่วย โรคเรื้อรัง. วารสารสงขลานครินทร์ 2542; 19:38-48.

The policy and strategy. Ministry of public health. Report non communicable diseases. Ministry of public health yasothon province; 2008.

ประคอง อินทรสมบัติ. แนวคิดการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2536; 13: 36-48.

โรงพยาบาลรัตนวาปี. สถิติทะเบียนผู้ป่วยเรื้อรัง. งานเวชระเบียน.หนองคาย; 2559.

สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา, กนกรัตน์ สุขะตุงคะ. การสร้างเกณฑ์ปกติ สำหรับวัดสุขภาพจิตในคนไทย. วารสารสมาคม จิตแพทย์แห่งประเทศไทย; 2542: 285-89.

Ketungkul S. Mental health status of chronically ill patients, Kamphaeng Phet Province. Master of Nursing Science (Mental Health and Psychiatric Nursing) Chiang Mai University. 2008.

นิตยา จรัสแสง, ศิริพร มงคลถาวรชัย, เพชรรัตน์ บุตะเขียว, สมลักษณ์ บุญจันทร์, พรนิภา หาญละคร, สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล. ภาวะซึมเศร้า ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสาร สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 25555; 57: 439-46.