ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการแตกของไส้ติ่งที่อักเสบในโรงพยาบาลพิมาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมาของปัญหา: ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน (acute appendicitis) เป็นโรคฉุกเฉินทางศัลยกรรมที่พบบ่อย ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้องเฉียบพลันการวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำมีความสำคัญอย่างยิ่งและการผ่าตัดรักษา อย่างทันท่วงทีนั้นสามารถลดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการแตกของ ไส้ติ่งที่อักเสบในโรงพยาบาลพิมาย รูปแบบการศึกษา: เป็น Descriptive retrospective research จากกลุ่ม ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย ว่าเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ ได้เข้าผ่าตัดและส่งไส้ติ่งตรวจทางพยาธิ วิธีการศึกษา: ศึกษาจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มาผ่าตัด ในปีงบประมาณ 2556-2557 จำนวน 147 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนา หาความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้ Chi-square test หาความสัมพันธ์ ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศชาย 66 คน หญิง 81 คน ผลชิ้นเนื้อเป็นไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน (acute appendicitis) 119 ราย (ร้อยละ 80.9) และไส้ติ่งแตก (perforated appendicitis) 28 ราย (ร้อยละ 19.1) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ไข้ สัมพันธ์ กับการแตกของไส้ติ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระยะเวลาที่ปวดท้อง จนมาถึงโรงพยาบาลนานกว่า 12 ชั่วโมง และระดับ neutrophils มากกว่าร้อยละ 75 มีความสัมพันธ์ กับ ไส้ติ่งแตกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 สรุป: ตัวแปรที่สำคัญ คือไข้ ระยะ เวลาตั้งแต่เริ่มปวดจนมาโรงพยาบาล มากกว่า 12 ชั่วโมง และ neutrophils มากกว่า ร้อยละ 75 เป็นปัจจัย ที่สัมพันธ์กับการวินิจฉัยไส้ติ่งที่แตก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Flum DR, Morris A, Koepsell T, Dellinger EP.Has misdiagnosis of appendicitis decreased over time? A population-based analysis JAMA 2001; 286:1748-53.
สิทธิชัย วชิราศรีศิริกุล. ความยาวของไส้ติ่งกับ การเกิดไส้ติ่งอักเสบฉับพลันในผู้ใหญ่. พุทธชินราชวารสาร 2555; 1: 86-90.
Humes DJ, Simpson J. Acute appendicitis. BMJ 2006; 333: 530-4.
DeKoning EP. Acute appendicitis. In: Tintinalli JE, ed.Tintinalli's Emergency Medicine: A Comprehensive Study Guide. 7thed. New York: McGraw Hill; 2011. p 574-8.
Vissers RJ, Lennarz WB. Pitfalls in appendicitis. Emerg Med Clin N Am 2010;28: 103-18.
วิทูล กลับทวี, วิภาวี แสนศักดิ์, อรรจนา เขตสูงเนิน, ธรรมสรณ์ พิริยสุพงศ์. ความถูกต้องของ RIPASA และ Modified RIPASA score เปรียบเทียบกับ Alvarado score ในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรค ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันและภาวะแทรกซ้อนจาก โรคไส้ติ่งอักเสบ. ขอนแก่นเวชสาร 2554; 35: 41-50
ชาญวิทย์ ตันดิ์พิพัฒน์, เพรา นิวาตวงศ์, สุนทร ตรีสรานุวัฒนา. ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน: ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งของไส้ติ่งและความยากง่ายในการผ่าตัด. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2521: 22: 103-6.
McBurney C, Kelly EC. Experiences with early operative interference in cases of disease of the vermiform appendix. Med Classic 1938; 2:942-538.
Wagner JM, McKinney WP, Carpenter JL. Does this patient have appendicitis? JAMA1996; 276:1589-94.
จรีรัตน์ พันแสน. ประสิทธิผลของระบบคะแนนในการวินิจฉัยผู้ป่วยไส้ติ่งอัก ณ โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. วารสารวิจัยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี้พระพุทธบาท 2552; :26-9.
สิทธิโชค เล่าหะวิลัย, อัจฉริยา ทองสิน, รังสรรค์ นิรมิษ. การศึกษาความถูกต้องของการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบในเด็ก. กุมารเวชสาร 2551; 15: 251-8.
นริทธิ์ สังข์สม. ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันและอักเสบแตกทะลุในโรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์. วารสารวิชาการแพทย์เขต 15, 17. 2549; 20: 61-6.
พงศกร อธิกเศวตพฤทธิ์, ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา. การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลรามาธิบดี. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2556; 13:36-42.
Coleman C, Thompson JE Jr, Bennion RS, Schmit PJ. White blood cell count is a poor predictor of severity of disease in the diagnosis of appendicitis. Am Surg1998; 64: 983-5.
Korner H, Soreide JA, S๖ndenaa K. Diagnostic accuracy of inflammatory markers in patients operated on for suspected acute appendicitis: a receiver operating characteristic curve analysis. Eur J Surg 1999; 165:679-85.
Hallan S, Asberg A, Edna T. Additional value of biochemical tests in suspected acute appendicitis. Eur J Surg1997; 163: 533-8.
Gurleyik G, Gurleyik E, Cetinkaya F, Unalmiser S. Serum interleukin-6 measurement in the diagnosis of acute appendicitis. ANZ J Surg 2002; 72:665-7.
Lewis FR, Holcroft JW, Boey J, Dunphy E. Appendicitis. A critical review of diagnosis and treatment in 1,000 cases. Arch Surg 1975; 110:677-84.
Hale DA, Molloy M, Pearl RH, Schutt DC, Jaques DP.Appendectomy: a contemporary appraisal. Ann Surg 1997; 225: 252-61
Bickell NA, Aufses AH Jr, Rojas M, Bodian C. How time affects the risk of rupture in appendicitis. J Am Coll Surg 2006; 202:401-6