โลหิตจางจากการขาดเหล็กในฐานะสัญญาณเตือนถึงมะเร็งลำไส้ใหญ่

Main Article Content

วัฒนะ อินทรศิริพงษ์
สมชาย อินทรศิริพงษ์

บทคัดย่อ

          สาเหตุที่พบบ่อยของภาวะโลหิตจางประเภทเม็ดเลือดแดงขนาดเล็ก คือ โรคโลหิตจางจากการขาด ธาตุเหล็ก และสาเหตุของการขาดเหล็กที่สำคัญ คือ การค่อยสูญเสียเหล็กออกไปเรื่อย ๆ จากรอยโรคในทาง เดินอาหาร โดยเฉพาะในผู้ป่วยชาย และ หญิงวัยทอง เช่น ในรายงานนี้ ซึ่งเป็นผู้ป่วยชายชาวเยอรมัน อายุ 74 ปี มาตรวจด้วยอาการอ่อนเพลีย 2-3 สัปดาห์ ตรวจร่างกายพบเพียงซีดเท่านั้น ผลการตรวจเลือด Hb 8.4 g%, MCV 67.1 fL, MCH 20.5 pg, RDW 16.0 %, ferritin 12.8 ng/mL, serum iron 21 ug/dL, TIBC 362 ug/dL,  transferrin saturation 6 %, CEA 18.68 ng/mL จึงให้การวินิจฉัยได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และให้การรักษาด้วยยาเม็ดเข้าธาตุเหล็ก ในเวลา 6 สัปดาห์ถัดมา ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง และคลำได้ก้อนในท้อง บริเวณช่วงซ้ายบน ส่วนอาการโลหิตจางก็ยิ่งปรากฏชัดกว่าเดิมตรวจเลือดพบ Hb 6.0 g%, ferritin 62.8 ng/mL, CEA 297.39 ng/mL ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด left half colectomy ร่วมกับการตัดต่อมน้ำเหลืองรอบ ๆ ก้อนเนื้องอก ผลการตรวจทางจุลพยาธิวิทยา พบว่าลำไส้ใหญ่เป็น poorly differentiated adenocarcinoma และมะเร็งกระจายไป ที่ต่อมน้ำเหลืองหลายกลุ่ม ผู้ป่วยรายนี้ได้ย้ำให้เห็นว่า เมื่อวินิจฉัยโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้แล้วนั้น การตรวจละเอียดหารอยโรคในทางเดินอาหารนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถละเลย หรือเลื่อนออกไปได้ต่อให้ผู้ป่วย รายนั้นไม่มีอาการในทางเดินอาหาร หรือระดับ CEA ในเลือดจะขึ้นเพียงเล็กน้อยก็ตาม เพราะมิฉะนั้นแล้ว สาเหตุที่รุนแรงของโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เช่น มะเร็ง ก็อาจจะถูกมองข้ามไปได้

Article Details

How to Cite
อินทรศิริพงษ์ ว. ., & อินทรศิริพงษ์ ส. . . (2024). โลหิตจางจากการขาดเหล็กในฐานะสัญญาณเตือนถึงมะเร็งลำไส้ใหญ่. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 38(1), 47–52. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1569
บท
รายงานผู้ป่วย

References

DeLoughery TG. Microcytic anemia. N Engl J Med 2014; 371: 1324-31.

Cook JD, Skikne BS. Iron deficiency: definition and diagnosis. J Intern Med 1989; 226: 349-55.

Clark SF. Iron deficiency anemia: Diagnosis and management. Curr Opin Gastroenterol 2009; 25: 122-8.

Liu K, Kaffes AJ. Iron deficiency anaemia: a review of diagnosis, investigation and management. Eur J Gastroenterol Hepato 12012; 24: 109-16.

Zhu A, Kaneshiro M, Kaunitz JD. Evaluation and treatment of iron deficiency anemia: A gastroenterolo-gical perspective. Dig Dis Sci 2010; 55: 548-59.

Geiger TM, Ricciardo R. Screening options and recommendations for colorectal cancer. Clin Colon Rectal Surg 2009; 22: 209-17.

Clinical practice guidelines for the use of tumor markers in breast and colorectal cancer. Adopted on May 17, by the American Society of Clinical Oncology. J Clin Oncol 1996; 14: 2843-77.

Duffy MJ. Carcinoembryonic antigen as a marker for colorectal cancer: Is it clinically useful ? Clin Chem 2001; 47: 624-30.

CarioH,Stahnke K,Sander S,Kohne E E.Epidemiological situations and treatment of patients with thalassemia major in Germany: results of the German multicenter beta-thalassemia study. Ann Hematol 20000; 79:7-12.

Eisele L, Durig J, Broecker-Preuss M, Duhrsen U, Bokhof B, Erbel R, et al; Heinz Nixdorf Recall Study Investigative Group. Prevalence and incidence of anemia in the German Heinz Nixdorf Recall Study. Ann Hematol 2013; 92: 731-7.

Weber J, Werre JM, Julius HW, Marx JJM. Decreased iron absorption in patients with active rheumatoid arthritis, with and without iron deficiency. Ann Rheumatic Dis 1988; 47: 404-7.

Goddard AF, McIntyre AS, Scott BB. Guidelines for the management of iron deficiency anaemia.Gut 2000; 46: iv1-iv5.

Rockey DC, Cello JP. Evaluation of the gastrointestinal tract in patients with iron-deficiency anemia. N Engl J Med 1993; 329: 1691-5.