การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบภายในเขตจังหวัดนครราชสีมา ของโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคไส้ติ่งอักเสบเป็นภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรมที่พบบ่อยสุด การรักษามีวิธีเดียวคือการผ่าตัด ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือก่อนไส้ติ่งแตก จังหวัดนครราชสีมา มีประชากรมาก การรักษาแต่เดิมจะส่งผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนมาก และหลากหลาย ทำให้ดูแลผู้ป่วยไส้ติ่ง อักเสบได้ไม่ทั่วถึง ผู้ป่วยต้องรอผ่าตัดนานจนเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสียชีวิต กระทรวงสาธารณสุขสร้างโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา เพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และได้กำหนดให้ โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมาเป็นศูนย์กลางการผ่าตัดไส้ติ่งของจังหวัดนครราชสีมา วัตถุประสงค์: เพื่อลดปัญหาการรอคิวการผ่าตัดในผู้ป่วย โดยเฉพาะโรคไส้ติ่งอักเสบที่มีการผ่าตัดมาก วิธีการศึกษา: ปรึกษาวางแผนระบบส่งต่อผู้ป่วยไส้ติ่งจากเดิมรับเฉพาะพื้นที่ที่รับผิดชอบ 8 อำเภอ เพิ่มเป็นรับผู้ป่วยไส้ติ่ง จากโรงพยาบาลสังกัดจังหวัดนครราชสีมาทั้งหมด เพื่อให้ได้รับการผ่าตัดที่เร็วขึ้น ผลการศึกษา: ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบได้รับการบริการที่สะดวกรวดเร็ว ระยะเวลาการรอคอยผ่าตัด 4-6 ชั่วโมง และไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง มีผู้ป่วยถูกส่งตัวมารักษาเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555-2558 จำแนกเป็นรายปีได้ 68, 467, 737, 907 ราย ตามลำดับ และ ปี 2559 (ต.ค.58-เม.ย.59) อีก 624 ราย และนับเป็นการพัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชูดี ฤทธิชู. เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยไส้ติ่ง อักเสบแบบบูรณาการ, ผลงานประเภท Service Plan สาขาศัลยกรรม จังหวัดพัทลุง, Best practice เขต บริการสุขภาพที่ 12
Atiksawedparit P, Sittichanbuncha Y. Associated factors of ruptured appendicitis in acute appendicitis patients at the emergency department, Ramathibodi Hospital. Thammasat Med J 2013;13: 36-42.
Old JL, Dusing RW, Yap W, Dirks J. Imaging for suspected appendicitis. AmFam Physician 2005; 71: 71-8.
Bickell NA, Aufses AH Jr, Rojas M, Bodian C. How time affects the risk of rupture in appendicitis. J Am Coll Surg 2006; 202: 401-6