ภาพถ่ายรังสีที่เกิดจากการจางลงของสัญญาณภาพในระบบดิจิตอล เมื่อระยะเวลาแตกต่างกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อปรับปรุงภาพถ่ายรังสีที่เกิดจากการสแกนแผ่นรับภาพ (Imaging plate) ที่เวลาแตกต่างกัน และเพื่อปรับปรุงงาน QA, QC ภาพจากผลของการใช้ EDR mode processing ที่แตกต่างกัน วัสดุและวิธีการ: เครื่องเอกซเรย์ยี่ห้อ Shimazu, เครื่องอ่านภาพ (CR Reader), ตลับเมตร, แผ่นรับภาพ ขนาด 10"x12", Elbow Phantom, TOR CDR, Resolution test pattern, นาฬิกาจับเวลา, โปรแกรม Image J วิธีทดลอง Elbow Phantom และ Phantom TOR CDR: ทำการตรวจสอบมาตรฐาน (Calibration) เครื่องเอกซเรย์ เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าเครื่องเอกซเรย์มีความถูกต้องแม่นยำโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นผู้ดำเนินการทดลองได้ทำความสะอาด Cassette CR และแผ่นรับภาพ (ที่นำมาใช้ในการทดลอง) ทำการล้างลึก (Erase) แผ่นรับภาพอีกครั้งก่อนทำการเอกซเรย์ วิเคราะห์ผลการทดสอบ: จากการทดสอบการเลือนจางของภาพจากการถ่ายภาพทางรังสีด้วยแผ่นรับภาพซีอาร์ตามระยะเวลาที่ 1, 10, 20, 30, 60, 120, 180, 240 ด้วยเครื่องอ่านซีอาร์ (CR.reader) โหมดอัตโนมัติ (Auto-mode) พบว่าสัญญาณภาพที่วัดได้ไม่แตกต่างกันซึ่งสัญญาณภาพที่วัดได้เริ่มลดลง และเห็นได้ชัดเจน เมื่อเวลาผ่านไป 240 นาที คิดเป็นร้อยละ 25.4 สอดคล้องกับค่ามาตรฐานของบริษัทฟูจิที่ระยะเวลาการเลือนจางของสัญญาณภาพจะลดลง ตั้งแต่ 10 นาที จนกระทั่งระยะเวลาผ่านไป 480 นาที จะเห็นได้ว่าในระยะเวลา 20 นาทีถึง 30 นาที สัญญาณภาพมีแนวโน้มสูงขึ้นอาจเกิดจากการตั้งค่าเทคนิคที่ไม่เหมาะสม เทคนิคที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้ 55kVp100mA 2mAs สรุปผลการทดลอง: จากการทดสอบการเลือนจางของภาพจากการถ่ายภาพทางรังสีด้วยแผ่นรับภาพซีอาร์ตามระยะเวลาที่ 1, 10, 20, 30, 60, 120, 180, 240 ด้วยเครื่องอ่านซีอาร์(CR.reader) โหมดอัตโนมัติ (Auto-mode) พบว่าสัญญาณภาพที่วัดได้ไม่แตกต่างกันซึ่งสัญญาณภาพที่วัดได้เริ่มลดลง และเห็นได้ชัดเจน เมื่อเวลาผ่านไป 240 นาทีคิดเป็นร้อยละ 25.4 สอดคล้องกับค่ามาตรฐานของบริษัทฟูจิ ที่ระยะเวลาการเลือนจางของสัญญาณภาพจะลดลงตั้งแต่ 10 นาทีจนกระทั่งระยะเวลาผ่านไป 480 นาทีร้อยละ 25
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คฑายุทธ นิกาพฤกษ์. เรื่อง การควบคุมคุณภาพ เครื่องสร้างภาพรังสีดิจิตอล. ศูนย์ วิทยาศาสตร์การแพทย ์ อุดรธานี. 2015
บรรจง เขื่อนแก้ว. เรื่อง พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับภาพ รังสีระบบดิจิตอล. วารสารรังสีเทคนิค; 32(3), 63-69: 2550.
ปิยทัศน์ แสงดาว. เรื่อง การจัดเก็บภาพทางรังสีด้วย. ระบบดิจิตอล. www.photharamhosp.go.th/pthrhos.
หัสฤกษ์ เนียมอินทร์. เรื่อง ระบบภาพดิจิตอลและ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์. 10-33, 2015. คณะเทคนิค การแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
American Association of Physicists in Medicine, College Park, MD. (2006) Available at http://aapm.org/pubs/reports/ RPT_93.pdf. Accessed April 27, 2009.
Katayut Nikapheung. CR, QC for Hospitals First edition. RMSC8. DMSC. 2015.
FUJIFILM Medical Systems CR Users Guide. FUJIFILM Medical Systems USA, Inc. Corporate Headquarters 419 West Avenue, Stamford CT 06902.web site: www.fujimed. com, page17, 2004.
Seibert JA, Bogucki TM, Ciona T, et.al. Acceptance testing and quality control of photostimulablestorage phosphor imaging systems: Report of AAPM Task Group 10. AAPM Report.
Supachai Krusoong. Knowledge of PACS Administrator. www.jfav.co.th.