มะเร็ง squamous cell จากปากมดลูกกระจายสู่ตับแบบถุงน้ำหลายถุง: รายงานผู้ป่วย 1 ราย

Main Article Content

ศรัณย์ สมพรเสริม
สมชาย อินทรศิริพงษ์
สิรยา กิติโยดม

บทคัดย่อ

          มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้ บ่อยในหญิงไทยเมื่อมะเร็งลุกลามมากขึ้น มะเร็งจะค่อยแทรกซึม บุกรุกออกไปตามอวัยวะรอบข้างมากกว่าที่จะกระจายตัวไปไกล ๆ ผ่านทางกระแสโลหิต การกระจายไปที่ตับแต่เพียงอย่างเดียวของมะเร็งปากมดลูกยังพบได้น้อยมากโดยเฉพาะชนิดที่เป็นแบบถุงน้ำหลายถุงเนื่องจาก มะเร็ง squamous cell แบบผู้ ป่วยของเราซึ่งเป็นหญิงไทยอายุ 56 ปี ที่มาตรวจด้วยอาการปวดท้องเล็กน้อยที่ ซีกขวาด้านบนร่วมกับมีไข้ต่ำ ๆ เป็นเวลา 1 เดือน ผลการตรวจช่องท้องด้วยคลื่นรังสีเอ็กซ์คอมพิวเตอร์พบถุงน้ำที่บรรจุด้วยของแข็งเป็นบางส่วนและมีวงขอบเข้มขึ้นหลายถุงที่ส่วนที่ 6, 7, 8 ของตับ, ถุงที่ใหญ่สุดขนาด 5x6 เซนติเมตร ก่อนหน้านี้8 เดือน ผู้ ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากการตรวจชิ้นเนื้อว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกชนิด squamous cell, moderate differentiation, ระยะที่ IIIB ได้รับการรักษาด้วยยา cis-platin ต่อด้วยการฝังแร่กัมมันตภาพรังสี รอยโรคมะเร็งหายภายใน 4 เดือน แต่ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาชิ้นเนื้อจากตับที่ตัดโดยใช้เครื่องสะท้อนคลื่น เสียงความถี่สูงนำทางพบว่าเป็นมะเร็งชนิด squamous cell ซึ่งเชื่อมั่นว่ากระจายมาจากมะเร็งปากมดลูก ผู้ป่วย ได้รับการรักษาด้วย cis-platin ขนาดสูงกว่าเดิม โดยทั่วไปมะเร็งที่กระจายมาที่ตับมักจะเป็นแบบก้อนเนื้อเสมอ การพบรอยโรคแบบถุงน้ำหลายถุงในตับร่วมกับการมีไข้ ชวนให้แพทย์ นึกถึงโรคฝีในตับจากเชื้อแบคทีเรีย หรือไม่ก็เป็นมะเร็งชนิด adenocarcinoma ที่กระจายมาจากลำไส้ใหญ่หรือรังไข่ มีเพียงการตรวจทางพยาธิวิทยา เท่านั้นที่จะช่วยวินิจฉัยแยกโรคเหล่านี้ออกจากกันได้อย่างถูกต้อง

Article Details

How to Cite
สมพรเสริม ศ. ., อินทรศิริพงษ์ ส. . ., & กิติโยดม ส. . (2024). มะเร็ง squamous cell จากปากมดลูกกระจายสู่ตับแบบถุงน้ำหลายถุง: รายงานผู้ป่วย 1 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 38(2), 109–112. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1587
บท
รายงานผู้ป่วย

References

Sarikapan W. Epidemiologic report of gynecologic cancer in Thailand. J Gynecol Oncol 2009; 20: 81-3.

Lax S. Histopathology of cervical precursor lesions and cancer. Acta Dermatovenerol Alp Pannonica Adriat 2011; 20: 125-33.

Chao A, Lin CT, Lai CH. Updates in systemic treatment for metastatic cervical cancer. Curr Treat Options Oncol 2014; 15: 1-13.

Elit L, Fyles AW, Oliver TK, Devries-Aboud MC, Fung-Kee-Fung M. Follow-up for women after treatment for cervical cancer. Curr Oncol 2010; 17: 65-9.

Mortele KJ, Ross PR. Cystic focal lesions in the adult: Differential CT and MR imaging features. Radio Graphics 2010; 21: 895-910.

Galgano MT, Castle PE, Atkins KA, Brix WK, Nassau SR, Stoler MH. Using biomarkers as objective standards in the diagnosis of cervical biopsies. Am J Surg Pathol 2010; 34: 1077-87.

Ramia JM, De la Plaza R, Quinones J, Veguillas P, Adel F, Garcia-Parreno J. Liver metastases from gynecological cancers: time to resection? Surg Sci 2012; 3: 120-5.

Kim GE, Lee SW, Suh CO, Park TK, Kim JW, Park JT, et al. Hepatic metastases from carcinoma of the uterine cervix. Gynecol Oncol 1998;70:56-60.

Zhao R, Zhu K, Wang R, Gao J, Cui K, Yu F, et al. Primary squamous cell carcinoma of the liver: A case report and review of the literature. Oncol Lett 2012; 4: 1163-6.

Yuki N, Hijikata Y, Kato M, Kawahara K, Wakasa K. Squamous cell carcinoma as a rare entity of primary liver tumor with grave prognosis. Hepatol Res 2006; 36: 322-7.