Thrombotic Thrombocytopenic Purpura ในผู้ป่วย Hashimoto Thyroiditis: รายงานผู้ป่วย 1 ราย

Main Article Content

อำไพ พินธุโสภณ
สมชาย อินทรศิริพงษ์

บทคัดย่อ

          Hashimoto’s thyroiditis หรือ chronic lymphocytic thyroiditis และ thrombotic thrombocytopenic purpura (TTP) ต่างก็ เป็นโรคที่มีพยาธิกำเนิดมาจากขบวนการภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเองเช่นเดียวกันในรายงาน นี้เป็นผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 89 ปี มีอาการอัมพฤกษ์ ซีกซ้ายกะทันหันไม่กี่ชั่วโมงก่อนรับตัวไว้รักษา แต่เป็น ชั่วขณะ ร่วมกับอาการแสดงอื่น ๆ เช่น microangiopathic hemolytic anemia, ภาวะเกล็ดเลือดต่ำพร้อมกับมีจ้ำเลือดตามตัว, มี LDH ในเลือดสูง และไตเสื่อมเพียงเล็กน้อย, ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะสำคัญ 5 ประการของโรค TTP ผู้ป่วยมีภาวะขาดปัจจัยADAMTS13 ในเลือดอย่างรุนแรง เอกซเรย์ คอมพิวเตอร์สมองไม่พบภาวะเลือดออก ในสมอง พบเพียงจุดที่สมองขาดเลือดหลายจุด ก่อนหน้านี้ผู้ป่วยเป็นโรค Hashimoto’s thyroiditis และความดัน โลหิตสูง ที่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องมานานแล้ว ผู้ป่วยตอบสนองดีต่อการรักษาด้วยการแลกเปลี่ยน plasma ทั้งหมด 5 ครั้ง ร่วมกับการให้ ผู้ป่วยรับประทานยา steroid ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาดีภายใน 1 เดือน ผล การตรวจทางโลหิตกลับเป็นปกติ การพบ TTP ในผู้ป่วย Hashimoto’s thyroiditis บ่งว่าทั้งสองโรคอาจจะมี ความเกี่ยวข้องกันในฐานะเป็นโรคกลุ่ม autoimmune เหมือนกันแต่แตกต่างกันตรงชนิดของ autoantibodies และเนื้อเยื่อเป้าหมายของการทำลายต่างกัน นั่นคือพบ anti-thyroglobulin และ anti-thyroperoxidase ทำลายเซลล์ ของต่อมธัยรอยด์ในโรค Hashimoto’s thyroiditis แต่พบ anti-ADAMTS13 factor ทำลาย ADAMTS13 factor จนหมดในโรค TTP

Article Details

How to Cite
พินธุโสภณ อ. ., & อินทรศิริพงษ์ ส. . . (2024). Thrombotic Thrombocytopenic Purpura ในผู้ป่วย Hashimoto Thyroiditis: รายงานผู้ป่วย 1 ราย . วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 38(2), 119–122. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1590
บท
รายงานผู้ป่วย

References

Chistiakov DA. Immunogenetics of Hashimoto’s thyroiditis. J Autoimmune Dis 2005, 2:1 doi: 10.1186/1740-2557-2-1.

George JN. Diagnosis of thrombotic thrombocytopenic purpura-hemolytic uremic syndrome in adults. In: Up ToDate, Basow, DS (Ed), UpToDate, Waltham, MA, 2013.

Tsai HM. Pathophysiology of thrombotic thrombocytopenic purpura. Int J Hematol 2010; 91: 1-19.

George JN. How I treat patients with thrombotic thrombocytopenic purpura: 2010. Blood 2010; 116: 4060-9.

John ML, Scharrer I. Autoimmune disorders in patients with idiopathic thrombotic thrombocytopenic purpura. Hamostaseologie 2012; 32 Suppl 1: S86-9.

George JN, Al Nouri ZL. Diagnostic and therapeutic challenges in the thrombotic hrombocytopenic purpura and hemolytic uremic syndromes. Am Soc Hematol Book 2012; 2012: 604-9.

Davies TF. Pathogenesis of Hashimoto’s thyroiditis (chronic autoimmune thyroiditis). In: UpToDate, Basow DS (Ed), Waltham MA, 2008.

Matsumoto M. Anti-ADAMTS13 autoantibodies in patients with thrombotic thrombocytopenic purpura. Nihon Rinsho Meneki Gakkai Kaishi 2013; 36: 95-103.

Kobak S, Hudaverdi O, Keser G, Oksel F. Coexistence of systemic lupus erythematosus, Hashimoto’s thyroiditis and IgA nephropathy in the same patient. Mod Rheumatol 2011; 21: 89-91.

Boelaert K, Newby PR, SiSmmonds MJ, Holder RL, Carr-Smith JD, Heward JM, et al. Prevalence and relative risk of other autoimmune diseases in subjects with autoimmune thyroid disease. Am J Med 2010; 123: 183.e1-9.