มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันไมอีลอยด์ชนิดทุติยภูมิหลัง polycythemia vera: รายงานผู้ป่วย 1 ราย

Main Article Content

สมชาย อินทรศิริพงษ์
วัชรินทร์ ยิ่งสิทธิ์สิริ
จุรี บุญดำรงสกุล

บทคัดย่อ

          มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดทุติยภูมิ สามารถเกิดขึ้นเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรค polycythemia vera (PV) เอง หรืออาจจะเกี่ยวข้องกับการได้รับยาเคมีบำบัดก็ได้โดยเฉพาะ hydroxyurea (HU) ในรายงานนี้เป็น ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 52 ปี ซึ่งป่วยเป็น PV ก่อน โดยให้การวินิจฉัยได้จากการที่ผู้ป่วยมีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือด ขาว และเกล็ดเลือดมากเกินไป ร่วมกับการมีม้ามที่โตมาก และความอิ่มตัวของออกซิเจนปกติ ได้รับการรักษา ด้วยยา HU อย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการเจาะเลือดออกเป็นครั้งคราว เป็นเวลานาน 9 ปี ขนาดของยา HU ปรับ ขึ้นลงตามปริมาณเม็ดเลือดขาว แต่ในที่สุดผู้ป่วยก็ มีไข้ เรื้อรังร่วมกับน้ำหนักลด เลือดจางชัดเจน เม็ดเลือดขาว เพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนเพิ่มอย่างเด่นชัดม้ามก็กลับมาโตขึ้นมากอีกครั้งหนึ่ง เมื่อตรวจไข กระดูกด้วยวิธี immunophenotyping และตรวจเลือดพบยีน JAK2 mutation จึงให้ การวินิจฉัยที่แน่นอนว่าเป็น มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดทุติยภูมิตามหลัง PV จึงให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดสูตร cytosine arabinoside ร่วมกับ idarubicin ผู้ป่วยทนยาได้ดี จากการปรากฏของผู้ป่วยรายนี้จึงได้ทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างการเกิด AML ที่เกิดตามหลัง PV กับการใช้ HU

Article Details

How to Cite
อินทรศิริพงษ์ ส. . ., ยิ่งสิทธิ์สิริ ว., & บุญดำรงสกุล จ. . (2024). มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันไมอีลอยด์ชนิดทุติยภูมิหลัง polycythemia vera: รายงานผู้ป่วย 1 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 38(2), 123–126. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1592
บท
รายงานผู้ป่วย

References

Tefferi A. Polycythemia vera and essential throm bocythemia: 2012 update on diagnosis, risk

stratification, and management.Am J Hematol 2012;87:285-93.

Tefferi A, Rumi E, Finazzi G, Gisslinger H, Vannucchi AM, Rodeghiero F, et al. Chronic myeloproliferativeneoplasias: Survival and prognosis among 1545 patients with contemporary polycythemia vera: an international study. Leukemia 2013; 27:1874-81.

Nielsen I, Hasselbalch HC. Acute leukemia and myelodysplasia in patients with a Philadelphia

chromosome negative chronic myeloproliferative disorder treated with hydroxyurea alone or with hydroxyurea after busulphan. Am J Hematol 2003; 74: 26-31.

Fruchtman SM. Treatment paradigms in the management of myeloproliferative disorders. SeminHematol 2004; 41 (2 Suppl 3):18-22.

Sirhan S, Fairbanks VF, Tefferi A. Red cell mass and plasma volume measurements in polycythemia: evaluation of performance and practicalutility. Cancer 2005; 104: 213-5.

Tefferi A. Diagnostic approach to the patient with suspected polycythemia vera. In: UpToDate, Basow DS (Ed), UpToDate, Waltham, MA, 2008.

Camo´s M, Cervantes F, Montoto S,Herna´NdezBoluda JC, Villamor N,Montserrat E. Acute lymphoid leukemia following polycythemia vera. Leukemia & Lymphoma 1999; 32: 395-8.

Sonbol MB, BelalFirwana, Zarzour A, Morad M, Rana V, Tiu RV. Comprehensive review of JAK inhibitors in myeloproliferative neoplasms. TherAdvHematol 2013; 4: 15-35.

Finazzi G, Caruso V, Marchioli R, Capnist G, Chisesi T, Finelli C, et al. Acute leukemia in polycythemia vera: an analysis of 1638 patients enrolled in a prospective observational study. Blood 2005;105:2664-70.

Sterkers Y, Preudhomme C, Lai J-L, Demory J-L, Caulier M-T, E Wattel E, et al. Acute myeloid leukemia and myelodyslastic syndromes following essential thrombocythemia treated with hydroxyurea: high proportion of cases with 17p deletion. Blood 1998; 91:616-22.

Finazzi G, Barbui T. Hydroxyurea: the comparator in studies with new anti-JAK2 inhibitors. Hematology Meeting Reports 2009; 3: 108-14.

Swolin B, RÖdjer S, Westin J.Therapy-related patterns of cytogenetic abnormalities in acute myeloid leukemia and myelodysplastic syndrome post polycythemia vera: single center experience and review of literature. Ann Hematol 2008; 87: 467-74.