ผลการรักษาท่อน้ำตาฉีกขาดเปรียบเทียบระหว่างวิธี pigtail probing และ bicanalicular stent
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบผลสำเร็จของการผ่าตัดท่อน้ำตาฉีกขาดระหว่างวิธี pigtail probing และ bicanalicularstent ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังของการผ่าตัดผู้ป่วยท่อน้ำตาฉีกขาดในโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา ภายในช่วงระยะ 1 มีนาคม 2555 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2557 (รวมระยะเวลา 2 ปี) ที่ได้รับการผ่าตัดเย็บท่อน้ำตาโดยแพทย์คนเดียวกัน โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มตามการผ่าตัด โดยวิธี pigtail probing และ bicanalicular stent ผลงานวิจัย: ผู้ป่วยท่อน้ำตาฉีกขาดที่ได้รับการผ่าตัดทั้งหมด 45 ราย อายุเฉลี่ย 46.3 ปี (SD 18.22) ชาย 34 คน (75.6%) บาดเจ็บตาขวา 18 คน (40%) ตาซ้าย 27 คน (60%) ตำแหน่งฉีกขาดพบที่เปลือกตาล่างมากที่สุด 36 คน (80%) เปลือกตาบน 2 คน (4.4%) ทั้งเปลือกตาบนและล่างในตาข้างเดียวกัน 7 คน (15.6%) ค่าเฉลี่ยความยาวของท่อน้ำตาที่ขาด วัดห่างจากรูท่อน้ำตาของเปลือกตาบนเท่ากับ 5.8 มิลลิเมตร (SD1.81) เปลือกตาล่างเท่ากับ 5.7 มิลลิเมตร (SD2.18) สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุท่อน้ำตาฉีกขาด 3 อันดับแรก คืออุบัติเหตุการจราจร 25 คน (55.6%) หกล้มตกจากที่สูง 6 คน (13.3%) และของแข็งหล่นกระแทกที่ใบหน้า 4 คน (8.9%) พบผู้ป่วยที่ติดตามการรักษา และมีผลบันทึกครบหลังตัดสายซิลิโคนออกมีทั้งหมด 23 คน แบ่งเป็นกลุ่ม annular intubation (pigtail probing) 14 คน ในกลุ่มนี้พบผ่าตัดสำเร็จล้างท่อน้ำตาลงคอดี (anatomical success) จำนวน 10 คน (71.4%) ผ่าตัดไม่สำเร็จพบล้างท่อน้ำตาไม่ลงคอ (soft stop) 4 คน (28.6%) ในจำนวนที่ผ่าตัดไม่สำเร็จพบมี 2 คนที่ไม่มีอาการน้ำตาเอ่อ ส่วนกลุ่มที่ 2 bicanalicular stent intubation มีจำนวน 9 คน พบหลังตัดสายซิลิโคนล้างท่อน้ำตาลงคอทั้ง 9 คน (100%) พบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าท่อน้ำตา 2 คน คือเปลือกตาแบะออกผิดรูป (ectropion) 1 คน และต้อหินในผู้ป่วยท่อน้ำตาฉีกขาดร่วมกับมีเลือดออกช่องหน้าม่านตา 1 คน สรุป: การผ่าตัดซ่อมท่อน้ำตาฉีกขาดโดยวิธี bicanalicularstent ดูเหมือนว่าเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จมากกว่าการผ่าตัดโดยวิธี pigtail probing แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไปไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบทางสถิติได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Jordan DR, Ziai S, Gilberg SM, Mawn LA. Pathogenesis of canaliculi lacerations. Ophthal Plast Reconstr Surg 2008; 24: 394-8.
Struck HG. Lacrimal system laceration and their surgical repair. Ophthalmologe 2009; 106: 223-8.
Weber RK, Keerl R, Schaefer SD, Rocca RCD. Atlas of lacrimal surgery. Heidelberg: Springer; 2007. p. 91-103.
Milder B, Weil BA. The lacrimal system. Norwalk (CN): Appleton-Century-Crofts A publishing division of Prentice-Hall, Inc.; 1983. p. 189-96.
Hurwitz JJ. The lacrimal system. Pennsylvania: Lippincott-Raven; 1996. p. 211-9.
Kohlhaas M, Wiegmnn L, Gaszczyk M, Walter A, Schaudig U, Richard G. Lacrimal duct treatment with ring intubation in injuries of the upper and lower eyelids. Ophthalmologe 2001; 98: 743-6.
Naik MN, Kelapure A, Rath S, Honavar SG. Management of canalicular lacerations: epidemiological aspects and experience with Mini-Monokamonocanalicular stent. Am J Ophthalmol 2008; 145: 375-80.
Savar A, Kirszrot J, Rubin PA. Canalicular involvement in dog bite related eyelid lacerations. Ophthal Plast Reconstr Surg 2008; 24: 296-8.
Lee H, Chi M, Park M, Baek S. Effectiveness of canalicular laceration repair using monocanalicular intubation with Monoka tubes. Acta Ophthalmologica 2009; 87: 793-6.
Wulc AE, Arterberry JF. The pathogenesis of canaliculi laceration. Ophthalmol 1991; 98: 1243-9.
Wang ZJ, Kong QL, Xie YB, Li T. Therapeutic effects of two anastomoses of lacrimal passage on canalicular laceration. Chin J Traumatol 2008; 11: 347-51.
Leibovitch I, Kakizaki H, Prabhakaran V, Selva D. Canalicular laceration: repair with the Mini- Monokamonocanalicular intubation stent. Ophthalmic Surg Lasers Imaging 2010; 41: 472-7.
Ducasse A, Valle D, Scholters F, Segal A, Brugniart C. Palpableand lacrimal system injuries in children. Journal Francais D Ophthalmologie 2009; 32: 374-9.
Pan XJ, Mao A, Zhao GQ, Meng XX, Yang SS. Clinical effects of the three types of silicone intubations in repairing lacerations of canaliculus. Chin J Traumatol 2009; 12: 173-6.
Jordan DR, Gilberg S, Mawn LA. The round-tipped, eyedpigtail probe for canalicular intubation: a review of 228 patients. Ophthal Plast Reconstr Surg 2008; 24: 176-80.
Wu SY, Ma L, Chen RJ, Tsai YJ, Chu YC. Analysis of bicanalicular nasal intubation in the repair of canalicular lacerations. Jpn J Ophthalmol 2010;54: 24-31.