ไข้รูมาติคเฉียบพลันในผู้สูงอายุ: รายงานผู้ป่วย 1 ราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
พบ มากในประเทศกำลังพัฒนา พบได้น้อยมากในผู้ที่อายุเกิน 4 ทศวรรษขึ้นไป ในรายงานนี้เป็นของผู้ป่วยชายไทย อายุ 67 ปี มาตรวจด้วยอาการหายใจลำบาก เหนื่อย นอนราบไม่ได้ และไข้เป็นเวลาหนึ่งวัน ก่อนนี้ผู้ป่วยมีโรค ประจำตัว คือ เป็นเบาหวาน แต่การรักษาไม่สม่ำเสมอต่อเนื่องมา 2-3 ปี ตรวจร่างกาย ความดันโลหิต 198/130 มม.ปรอท, ชีพจร 130/นาที, ฟังได้ crepitation ที่ชายปอดทั้งสองข้าง, pansystolic murmur ที่ lower sternal border ขาบวมถึงอัณฑะทั้งสองข้าง ตรวจน้ำตาลในเลือดแรกรับ 581 มก% ผู้ป่วยอาการดีขึ้นมากหลังจากได้รับการ รักษาด้วยยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือด และอินซูลิน จนวันที่ 3 ของการนอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีอาการ chorea ของมือซ้าย ร่วมกับผลเลือดมี ESR และ ASO สูงกว่าปกติ โดยที่ระดับน้ำตาลในเลือดเหลือเพียง 235 มก% ผล cardiac enzymes และผลตรวจคลื่นหัวใจค่อนข้างปกติ ผลการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง พบ dilated LV, global hypokinesia with moderate LV function, ejection fraction เหลือเพียง 34.6 %, และมี mild MR โดยไม่พบ vegetation ตรวจสวนเส้นเลือดหัวใจพบการตีบแคบแบบท่อ ร้อยละ 65 ตั้งแต่กึ่งกลางเส้น ของ LAD เท่านั้น ผลตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ไม่พบว่าผิดสังเกตแต่อย่างใด ให้การวินิจฉัยเพิ่มเติมว่าเป็น ARF อย่างไรก็ตามผู้ป่วยไม่ขอรับการรักษาหรือการตรวจเพิ่มเติมอื่นอีกต่อไป ผู้ป่วยของเราเหมือนจะช่วย ชี้แนะว่า ARF ไม่ควรจะถูกหลงลืมในกรณีที่ผู้ป่วยมีไข้ ร่วมกับภาวะหัวใจล้มเหลวที่ไม่ทราบสาเหตุแม้ จะเป็น ผู้สูงอายุ ก็ตาม และการให้ ยาปฏิชีวนะป้องกันการกลับเป็นซ้ำของไข้รูมาติคแบบทุติยภูมิไปตลอดชีวิต น่าจะ เป็นสิ่งสมเหตุสมผล ถ้า ARF มาได้รับการวินิจฉัยเพียงสักครั้ง ในช่วงทศวรรษท้าย ๆ ของชีวิต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World Health Organization. Rheumatic fever and rheumatic heart disease: Report of a WHO, Expert Consultation, Geneva, 29 October-1 November 2001. Geneva: World Health Organization, 2004.
แนวทางการปฏิบัติมาตรฐานเพื่อการวินิจฉัยและการ ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้รูมาติกในประเทศไทย (A Guideline in the Diagnosis and Management of Acute Rheumatic Fever in Thailand) โดยชมรมกุมาร แพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย
Saxena A. Diagnosis of rheumatic fever: current status of Jones Criteria and role of echocardiography. Indian J Pediatr 2000; 67: S11-4.
Narin N, Mutlu F, Argun M, Ozyurt A, Pamukcu O, Baykan A, et al. Incidence and clinical features of acute rheumatic fever in Kayseri, Central Anatolia,
-2011. Cardiol Young 2015; 25: 745-51.
Herbst CG, Ballou SP, Kushner I. Recurrent rheumatic fever in adults. Ann Rheum Dis 1985; 44: 862.
Murray NH, Fordham JN, Davies PG, Barnes CG. Recurrent rheumatic fever. Ann Rheum Dis 1985; 44: 205-6.
Berger B, Swanson R, Smith S. Rheumatic fever in the adult: A forgotten diagnosis. Can Fam Physician 1987; 33: 1631-2.
KadirIS, Barker TA, Clarke B, Denley H, Grotte GJ. Recurrent acute rheumatic fever: A forgotten diagnosis? Ann Thorac Surg 2004; 78: 696-701.
Nakashima D, Ueda K, Tsukuda K, Utsu N, Kohki S, Fushimi H, et al. Adultonset acute rheumatic fever. Intern Med 2012; 51: 2805-8.
Panamonta M. The prevalence of rheumatic heart disease in northeastern Thailand is declining. Asian Biomed 2014; 8: 583-4.
Kasitanon N1, Sukitawut W, Louthrenoo W. Acute rheumatic fever in adults: case report together with an analysis of 25 patients with acute rheumatic fever. Rheumatol Int 2009; 29: 1041-5.
Reddy K, Khaliq A, Henning RJ. Recent advances in the diagnosis and myocardial infarction. World J Cardiol 2015; 7: 243-76.
Zaman MM, Rouf MA, Haque S, Khan LR, Chowdhury NA, Razzaque SA, et al. Does rheumatic fever occur usually between the ages of 5 and 15 years? Int J Cardiol 1998; 66: 17-21.
Carapetis JR, Currie BJ. Rheumatic chorea in northern Australia: a clinical and epidemiological study. Arch Dis Child 1999; 80: 353-8.
Ben-Dov I, Berry E. Acute rheumatic fever in adults over the age of 45 years: an analysis of 23 patients together with a review of the literature. Semin Arthritis Rheum 1980; 10: 100-10.
Lee SH, Shin JA, Kim JH, Son JW, Lee KW, Ko SH, et al. Chorea-ballism associated with nonketotic hyperglycemia or diabetic ketoacidosis: characteristics of 25 patients in Korea. Diabetes Res Clin Pract 2011; 93: e80-e83.
Gerber MA, Baltimore RS, Eaton CB, Gewitz M, Rowley AH, Shulman ST, et al. Prevention of rheumatic fever and diagnosis and treatment of acute streptococcal pharyngitis. Circulation 2009; 119: 1541-51.treatment of acute