ภาวะโลหิตจาง และการขาดธาตุเหล็กในผู้บริจาคโลหิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การบริจาคเลือดสามารถทำให้ขาดธาตุเหล็ก หรือถึงกับทำให้เป็นโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ ศึกษาภาวะขาดธาตุเหล็ก และภาวะโลหิตจางในผู้บริจาคเลือดคนไทยและศึกษาคุณค่าของเครื่องตรวจวัดฮีโมโกลบินขนาดเล็ก (hemoglobinometer for blood donor screening) ในการคัดกรองโลหิตจาง ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง โดยรวบรวมผู้บริจาคที่หน่วยบริจาคเลือดโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างเดือนกันยายน - ธันวาคม 2556 ทุกรายจะได้รับการตรวจความเข้มข้นเลือด (hemoglobin concentration) ด้วยเครื่องตรวจวัดฮีโมโกลบินขนาดเล็ก (hemoglobinometer for blood donor screening) และเครื่องวิเคราะห์เลือดอัตโนมัติ และตรวจระดับ ferritin ด้วย ผลการศึกษา: มีผู้ที่บริจาคเลือดได้203 ราย จากทั้งหมด 249 ราย และแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม, i) กลุ่มบริจาคครั้งแรก, ii) บริจาค 2-5 ครั้ง, iii) บริจาค 6-10 ครั้ง, iv) บริจาคมากกว่า 10 ครั้ง มีผู้บริจาค 57 ราย (ร้อยละ 28.1) ที่มีระดับเหล็กต่ำ และพบมากในกลุ่มที่ iv (ร้อยละ 9.1 ในกลุ่มที่ i เทียบกับร้อยละ 34.6 ในกลุ่มที่ iv) และผู้บริจาค 63 ราย (ร้อยละ 31.0) มีภาวะโลหิตจางซึ่งพบได้บ่อยในกลุ่มที่ i (ร้อยละ 45.4 ในกลุ่มที่ i เทียบกับร้อยละ 26.9 ในกลุ่มที่ iv) โดยการเปรียบเทียบ กับเครื่องวิเคราะห์เลือดอัตโนมัติพบว่าความไว ความจำเพาะค่าทำนายผลบวกค่าทำนายผลลบ positive and negative likelihood ratios ของเครื่องตรวจวัดฮีโมโกลบินขนาดเล็ก ในการตรวจภาวะโลหิตจางคือร้อยละ 40.0, 97.2, 91.3, 69.0, 14.4 และ 0.62 ตามลำดับ สรุป: ภาวะเหล็กต่ำและภาวะโลหิตจางพบได้บ่อยในผู้บริจาคโลหิต แต่การใช้เครื่องตรวจวัดฮีโมโกลบินขนาดเล็ก เป็นเครื่องคัดกรองที่มีความไวต่ำในการตรวจหาภาวะ โลหิตจางนั้นอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้บริจาคโลหิตได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2.
Panich V, Pornpatkul M, Sriroongrueng W. The problem of thalassemia in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1992; 23 Suppl 2: 1-6.
Simon TL. Iron everywhere but not enough to donate. Transfusion 2002; 42: 664-5.
Mahida VI, Bhatti A, Gupte SC. Iron status of regular voluntary blood donors. Asian J Transfus Sci 2008;2: 9-12.
Finch CA, Cook JD, Labbe RF, Culala M. Effect of blood donation on iron stores as evaluated by serum ferritin. Blood 1977; 50: 441-7.
Finch CA, Huebers H. Perspectives in iron metabolism. N Engl J Med 1982; 306: 1520-8.
Norashikin J, Roshan TM, Rosline H, Zaidah AW, Suhair AA, Rapiaah M. A study of serum ferritin levels among male blood donors in Hospital Universiti sains Malaysia. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2006; 37: 370-3.
Abdullah SM. The effect of repeated blood donations on the iron status of male Saudi blood donors. Blood Transfus 2011; 9: 167-71.
Rabeya Y, Rapiaah M, Rosline H, Ahmed SA, Zaidah WA, Roshan TM. Blood pre-donation deferrals-ateaching hospital experience. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2008; 39: 571-4.
การสำรวจภาวะอาหาร และโภชนาการแห่งประเทศไทยครั้งที่ 5 ปี พ.ศ. 2546
Prakash S, Kapil U, Singh G, Dwivedi SN, Tandon M. Utility of HemoCue in estimation of hemoglobin against standard blood cell counter method. J Assoc Physicians India 1999; 47: 995-7.
Patel AJ, Wesley R, Leitman SF, Bryant BJ. Capillary versus venous haemoglobin determination in the assessment of healthy blood donors. Vox Sang 2013; 104: 317-23.
Seguin P, Kleiber A, Chanavaz C, Morcet J, Mallédant Y. Determination of capillary hemoglobin levels using the HemoCue system in intensive care patients. J Crit Care 2011; 26: 423-7.
Adam I, Ahmed S, Mahmoud MH, Yassin MI. Comparison of HemoCue® hemoglobin-meter and automated hematology analyzer in measurement of hemoglobin levels in pregnant women at Khartoum hospital, Sudan Diagn Pathol 2012; 7: 30. Published online Mar 21, 2012. doi: 10.1186/1746-1596-7-30