ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่ โรงพยาบาลปากช่องนานา อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

พิบูล วิเชียรไพศาล
ศิริวรรณ ฟื้นชมภู

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่ โรงพยาบาลปากช่องนานา อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ 3 ส่วน ได้แก่ 1) ฐานข้อมูลจากโปรแกรม TBCM ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล การคัดกรอง การรักษา การติดตามเยี่ยมบ้าน 2) ทะเบียนบันทึกการรักษาต่าง ๆ ประกอบด้วยข้อมูลสิ่งจูงใจ และข้อมูลบรรยายต่าง ๆ และ 3) ฐานข้อมูลจากการให้บริการของโรงพยาบาล ปากช่องนานา และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่อำเภอปากช่อง ประกอบด้วยข้อมูลการให้บริการที่เชื่อมโยงในระดับพื้นที่ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2552 ถึง 30 กันยายน 2556 ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัย 557 ราย เป็นชาย 416 คน (ร้อยละ 74.7) อายุตั้งแต่ 25-50 ปี ไม่มีภาวะโรคร่วม 452 ราย (ร้อยละ 81.1) ติดเชื้อเอชไอวี 62 ราย(ร้อยละ 11.1) โดยมีระดับเม็ดเลือดขาว CD4 ต่ำกว่า 100 cell/mm3 26 ราย (ร้อยละ 42.0) และได้รับยาต้านไวรัส29 ราย (ร้อยละ 46.8) ผู้ป่วยที่มีเชื้อเอชไอวี ร่วมด้วยจะประสบความสำเร็จ ในการรักษาเพียง 0.3 เท่า (95% CI0.1, 0.5) ผู้ป่วยที่ได้รับบริการตามเกณฑ์การรักษาจะมีโอกาสประสบ ความสำเร็จ 21.8 เท่า (95% CI 8.5, 55.4) รับบริการเยี่ยมบ้านมีโอกาสประสบความสำเร็จ 10.8 เท่า (95% CI 4.2, 27.7) และได้รับการคัดกรองมีโอกาสประสบความสำเร็จ 3.4 เท่า (95% CI 1.5, 7.7) เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่ วยที่ไม่ได้รับบริการในแต่ละเกณฑ์ สรุป: ภาวะปราศจากเชื้อเอชไอวีของผู้ป่วย, การได้รับบริการตามเกณฑ์การรักษา, การคัดกรอง และการติดตามเยี่ยมบ้าน เป็นปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จของการรักษาผู้ป่ วยวัณโรคปอดที่เสมหะบวกรายใหม่

Article Details

How to Cite
วิเชียรไพศาล พ., & ฟื้นชมภู ศ. . (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่ โรงพยาบาลปากช่องนานา อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 37(3), 161–168. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1633
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร: องค์การทหารผ่านศึก; 2556.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ. 2548. สืบค้นออนไลน์ เมื่อ 6 มิถุนายน 2557 http://www.rpphosp.go.th/PDF/Km%20dpm/TB/Tb%20thai.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรค ปีงบประมาณ 2556. นครราชสีมา: สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2557.

กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอดและคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกในโรงพยาบาลของรัฐ ในพื้นที่จังหวัดตาก ปี พ.ศ. 2548-2551. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต 2553; 31: 4-9.

เอื้องฟ้า จินดาทรัพย์. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของ DOTS ในการรักษาวัณโรคในพื้นที่กรุงเทพมหานครปี 2549. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต 2545; 28: 62-7.

Akksilp S, Karnkawinpong O, Wattanaamornkiat W, Viriyakitja D, Monkongdee P, Sitti W, et al. Antiretroviral therapy during tuberculosis treatment and marked reduction in death rate of HIV-infected patients, Thailand. Emerg Infect Dis 2007; 13: 1001-7.

Munyanga Mukungo S, Bwira Kaboru B. Intensive TB case finding in unsafe settings: Testing an outreach peer education intervention for increased TB case detection among displaced populations and host communities in South-Kivu Province, Democratic Republic of Congo. J Tuberculosis Res 2014; 2: 160-7.