Unilateral basal ganglia CT abnormality in hyperosmolar hyperglycemic nonketotic state: รายงานผู้ป่วย 1 ราย

Main Article Content

รุ่งนภา อนุพงศ์พิพัฒน์

บทคัดย่อ

         Hyperosmolar hyperglycemic nonketotic state (HHNS) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน อาการแสดงทางคลินิกอาจจะเป็นความเคลื่อนไหวผิดปกติที่ควบคุมไม่ได้ (involuntary movement) อาจพบได้ในผู้ป่วยสูงอายุ โดยเฉพาะในผู้ป่วยแถบเอเชีย ความผิดปกติที่พบในภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของสมอง ในตำแหน่ง basal ganglia มีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติซึ่งพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะของ HHNS  จะให้ลักษณะภาพในเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็น high attenuation ที่ basal ganglia ซึ่งอาจทำให้วินิจฉัยเป็น calcifications หรือ hemorrhage ได้ แต่ในภาวะของ HHNS ลักษณะผิดปกติที่เห็นในภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จะไม่พบลักษณะของการกดเบียด หรือการบวมของบริเวณเนื้อสมองรอบ ๆ  การเคลื่อนไหวผิดปกติในผู้ป่วย HHNS เป็นภาวะที่รักษาให้หายได้และมีพยากรณ์โรคที่ดี ดังนั้นการให้การวินิจฉัยที่รวดเร็วและควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดได้ จะส่งผลให้ผู้ป่วยหายได้ การส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จึงมีความสำคัญในการช่วยวินิจฉัย ในระยะเริ่มแรกได้


             รายงานนี้เป็นผู้ป่วยชายไทย อายุ 60 ปี มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน มาด้วยอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ ของแขนขวามาประมาณ 3 วัน แพทย์สงสัย stroke จึงได้ส่งทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองพบเป็นลักษณะ  homogeneous high attenuation at left caudate and lentiform nuclei การตรวจทางห้องปฏิบัติการพบ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง 715 mg/dL, HbA1c 18.6, BUN 43 md/dL, creatinine 1.7 mg/dL, Na 124 mmol/L, serum osmolarity จากการคำนวณ คือ 303.1 mosm/kg จากอาการผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และความผิดปกติที่เห็นจากภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ น่าจะเข้าได้กับ HHNS ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการรักษาด้วยการให้ intensive insulin, สารน้ำติดตามอาการและประเมิน เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ซ้ำอีก  1 เดือนต่อมา พบว่าลักษณะที่เห็นเป็น high attenuation ที่ basal ganglia หายไป และอาการเคลื่อนไหวผิดปกติลดลง

Article Details

How to Cite
อนุพงศ์พิพัฒน์ ร. (2024). Unilateral basal ganglia CT abnormality in hyperosmolar hyperglycemic nonketotic state: รายงานผู้ป่วย 1 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 37(2), 111–116. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1649
บท
รายงานผู้ป่วย

References

Bekiesinska-Figatowska M, Romaniuk-Roroszewska A, Banaszek M, Arleta Kuezynska-Zardzewialy A. Lesions in basal ganglia in a patient with involuntary movements as a first sign of diabetes-case report and review of the literature. Pol J Radiol 2010; 75: 61-4.

Wintermark M, Fischbein NJ, Mukherjee P, Yuh EL, Dillon WP. Unilateral putaminal CT, MR, and diffusion abnormalities secondary to nonketotic hyperglycemia in the setting of acute neurologic symptoms mimicking stroke. AJNR 2004; 25: 975-76.

Lai PH, Tien RD, Chang MH, Teng MMH, Yang CF, Pan HB, et al. Chorea-ballismus with nonketotic hyperglycemia in primary diabetes mellitus. AJNR 2014; 35: 833-40.

Bathla G, Policeni B, Agarwal A. Neuroimaging in patients with abnormal blood glucose levels. AJNR 2014; 35: 833-40.

Chang MH, Chaing HT, Lai PH, Sy CG, Lee SSJ, Lo YY. Putaminal petechial haemorrhage as the cause of chorea: a neuroimaging study. J Neurol Neurosurg Psychiatry 1997; 63: 300-3.

Hegde AN, Mohnan S, Lath N, Techoyoson Lim CC. Differential diagnosis for bilateral abnormalities of the basal ganglia and thalamus. RadioGraphics 2011; 31: 5-30.

Osborn A. Diagnostic neuroradiology. St Louis, Mo: Mosby, 1994; 34-363.

Cho SJ, Won TK, Hwang SJ, Joong Hyuck Kwon JH. Bilateral putaminal hemorrhage with cerebral edema in hyperglycemic hyperosmolar syndrome. Yonsei Med J 2002; 43: 533-35.

Lin JJ, Chang MK. Hemiballism-hemichorea and non-ketotic hyperglycemia. J Neurol Neurosurg Psychiatry 1994; 57: 748-50.

Kim HJ, Moon WJ, Oh J, Lee IK, Kim HY, Han SH. Subthalamic lesion on MR imaging in a patient with non-ketotic hyperglycemia- induced hemiballism. AJNR 2008; 29: 526-27.

Souza A, Babu CS, Desai PK. Acute chorea in the diabetic nonketotic hyperosmolar state. Basal Ganglia 2013; 3: 85-92.