ความล่าช้าในการวินิจฉัยโรคฮีโมโกลบินอีเอฟบาร์ท
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคฮีโมโกลบินอีเอฟบาร์ทเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ที่เกิดจากโรคฮีโมโกลบินเอชร่วมกับโรคฮีโมโกลบินอีหรือ ร่วมกับโรคเบต้าธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบิน อี ผู้ป่วยมักมีอาการโลหิตจางปานกลางร่วมกับขนาดเม็ดเลือดแดงเล็ก ในรายงานนี้เป็นผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 23 ปีมีภาวะโลหิตจางปานกลางและต้องได้รับเลือดเสริมเป็นครั้งคราวมาตั้งแต่เด็ก ตรวจร่างกายพบว่าซีดไม่มีดีซ่านใบหน้าและศีรษะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแบบธาลัสซีเมีย ตับไม่โต ผู้ป่วยได้รับ การตัดม้ามตั้งแต่อายุ 16 ปีเพราะสงสัยว่ามีภาวะ hypersplenism ตรวจทางห้องปฏิบัติการพบ Hb 7.0+0.5 g%, MCV 57.4+1.5 fL, MCH 16.5+0.7 pg, NRBC 12.3+12.7/100 WBC, hypochromia 1+, target cell 3+, anisopoikilocytosis 2+ ตรวจชนิดของฮีโมโกลบินหลายครั้งด้วยวิธี HPLC พบฮีโมโกลบินอีเป็นส่วนประกอบหลัก ประมาณร้อยละ 77.9-89.0, ฮีโมโกลบินเอฟ ร้อยละ 0-5.7 ตรวจยีนส์เบต้าธาลัสซีเมียพบแต่ homozygous Hb E genes จึงให้การวินิจฉัย ว่าเป็นโรคฮีโมโกลบินอีมาตลอดทั้ง ๆ ที่มีอาการซีดมากกว่าผู้ป่วยโรคฮีโมโกลบินอีทั่วไป ระดับ ferritin สูงถึง 1,030.8+237.8 ng/mL อย่างไรก็ตามเนื่องจากสังเกตว่าสัดส่วนของ Hct / Hb ของผู้ป่วยเป็น 3.428 ซึ่งเข้าได้ กับของโรคกลุ่มแอลฟ่าธาลัสซีเมียจึงส่งตรวจและก็พบว่ามียีนส์แอลฟ่าธาลัสซีเมีย-1 ชนิด Thai deletion และแอลฟ่าธาลัสซีเมีย -2 จริง จึงได้แก้การวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นโรคฮีโมโกลบินอีเอฟบาร์ทซึ่งอธิบายอาการโลหิตจาง ปานกลางแบบเม็ดเลือดแดงเล็กที่เป็นมาอย่างยาวนานของผู้ป่วยได้ดีกว่า ให้การรักษาด้วยการให้เลือดเป็นครั้งคราว ยาขับเหล็ก folic acid การวินิจฉัยที่ถูกต้องในผู้ป่วยรายนี้เป็นไปอย่างล่าช้าเพราะผลการตรวจชนิดของฮีโมโกลบิน หลายครั้งก็พบเพียงฮีโมโกลบินอีเป็นส่วนใหญ่ ฮีโมโกลบินเอฟเป็นส่วนน้อย แต่ไม่พบฮีโมโกลบินบาร์ทเลย ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะความไม่เสถียรของตัวฮีโมโกลบินบาร์ทเองหรือมิฉะนั้นก็อาจจะเนื่องจากการที่สัดส่วนของฮีโมโกลบินบาร์ทใน โรคฮีโมโกลบินอีเอฟบาร์ทมีค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว หรือทั้งสองอย่างรวมกันก็ได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Tritipsombut J, Sanchaisuriya K, Phollarp P, Bouakhasith D, Sanchaisuriya P, Fucharoen G, et al. Micromapping of thalassemia and hemoglobinopathies in different regions of northeast Thailand and Vientiane, Laos People’s Democratic Republic. Hemoglobin 2012; 36: 47-56.
Vichinsky E. Hemoglobin E syndromes. Hematology 2007; 2007: 79-83.
Tachavanich K, Viprakasit V, Chinchang W, Glomglao W, Pung-AmrittP, Tanphaichitr VS. Clinical and hematological phenotype of homozygous hemoglobin E: Revisit of a benign condition with hidden reproductive risk. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2009; 40: 306-16.
Torcharus K, Sriphaisal T, Krutvecho T, Suwanasophon C, Intarapakawong J. Clinical phenotypes and genotypes diagnosis of thalassemia in children. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1995; 26(suppl 1): 275-7.
พีระพล วอง, ปริศนา เจริญพร, แน่งน้อย เจิมนิ่ม, ต่อพงศ์ สงวนเสริมศรี. รายงานผู้ป่ วย: β- thalassemia /
Hemoglobin E 5 รายซึ่งมีปริมาณ Hemoglobin F น้อย. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2549; 16: 323-6.
Insiripong S, Supattarobol T, Jetsrisuparb A. Comparison of hematocrit / hemoglobin ratios in subjects with alpha thalassemia, with subjects having chronic kidney disease and normal subjects. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2013; 44: 707-11.
Fucharoen S, Weatherall DJ. The hemoglobin E thalassemias. Cold Spring Harb Perspect Med 2012; 2(8).pii: a011734. doi: 10.1101/cshperspect.a011734.
Taher A, Vichinsky E, Mussalam K, Viprakasit V, Weatherall D, ed. Guidelines for the management of nontransfusion dependent thalassemia. Nicosia, Cyprus: Thalassemia International Federation; 2013. Available from: http//www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK190457/
Mohanty D, Gorakshakar AC, Colah RB, Patel RZ, Master DC, Mahanta J, et al. Interaction of iron deficiency anemia and hemoglobinopathies among college students and pregnant women: a multi-center evaluation in India. Hemoglobin 2014; 38: 252-7.