ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน ที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การล้างไตทางช่องท้องเป็นวิธีหนึ่งในการบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันซึ่งสามารถทำได้ทั้งในและนอกหอผู้ป่วยวิกฤต นอกจากนั้นการล้างไตทางช่องท้องสามารถทำได้ง่าย สะดวก ใช้อุปกรณ์และทรัพยากรน้อยกว่าการฟอกเลือดแบบต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน ที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องยังมีไม่มากนัก วัตถุประสงค์: เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตในช่วง 90 วัน ของผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ล้างไตทางช่องท้อง วิธีการวิจัย: เป็น การศึกษาติดตามเปรียบเทียบเก็บข้อมูล แบบย้อนหลัง (Retrospective Cohort Study) โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ติดตามไป 90 วันหลังจากเริ่มล้างไตทางช่องท้อง เก็บข้อมูลในช่วงระยะเวลา 1 ปี โดยศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ความรุนแรงของโรคร่วม ค่าการตรวจทางห้องปฏิบัติการเมื่อเริ่มทำการล้างไตทางช่องท้อง นำมาวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วย ผลการวิจัย: ผู้ป่วย 94 รายนำมาวิเคราะห์ อายุเฉลี่ย 56 ปี ผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องมีอัตราเสียชีวิตที่ 90 วัน หลังจากเริ่มล้างไตร้อยละ 67 มีอัตราการกลายเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายร้อยละ 2.1 มีปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยคือความดันโลหิตไม่คงที่ (HR 13.21, 1.37-127.07) ระบบหายใจล้มเหลว (HR 4.32, 1.34-53.5) และขณะเริ่มล้างไตมีค่า BUN <50 mg/dl (HR 1.58, 1.04-5.66) หรือค่า Cr <4 mg/dl (HR 4.24, 1.08-36.8) ส่วนปัจจัยเรื่องอายุโรคประจำตัวเบาหวาน ภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ ไม่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วย บทสรุป: ปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตที่สำคัญที่สุด ในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน ที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องคือ ความดันโลหิตไม่คงที่ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันนอกจากการบำบัดทดแทนไตแล้ว ควรให้ความสำคัญกับการประคับประคองความดันโลหิต ให้คงที่ร่วมด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Rabindranath K, Adams J, Macleod AM, Muirhead N. Intermittent versus continuous renal replacement therapy for acute renal failure in adults. Cochrane Database Syst Rev. 2007;(3):CD003773.
Chionh CY, Soni SS, Finkelstein FO, Ronco C, Cruz DN. Use of Peritoneal dialysis in AKI: A systematic review. Clin J Am Soc Nephrol. 2013 Oct;8(10):1649-60.
Uchino S, Kellum JA, Bellomo R, Doig GS, Morimatsu H, Morgera S, et al. Acute renal failure in critically ill patients: a multinational, multicenter study. JAMA. 2005 Aug 17;294(7):813-8.
Cho KC, Himmelfarb J, Paganini E, Ikizler TA, Soroko SH, Mehta RL, et al. Survival by dialysis modality in critically ill patients with acute kidney injury. Am Soc Nephrol 2006 Nov 1, 2006; 17(11): 3132-8.
Vats HS, Dart RA, Okon TR, Liang H, Paganini EP. Does early initiation of continuous renal replacement therapy affect outcome: experience in a tertiary care center. Ren Fail. 2011; 33(7): 698-706.
Harel Z, Bell CM, Dixon SN, McArthur E, James MT, Garg AX, et al. Predictors of progression to chronic dialysis in survivors of severe acute kidney injury: a competing risk study. BMC Nephrol. 2014 Jul 10; 15: 114.
Pereira MB, Zanetta DM, Abdulkader RC. The real importance of pre-existing comorbidities on longterm mortality after acute kidney injury. PLoS One. 2012; 7(10): e47746.
Duran PA, Concepcion LA. Survival after acute kidney injury requiring dialysis: long-term follow up. Hemodial Int. 2014 Oct;18 Suppl 1:S1-6.
Liu KD, Himmelfarb J, Paganini E, Ikizler TA, Soroko SH, Mehta RL, et al. Timing of Initiation of Dialysis in Critically Ill Patients with A cute Kidney Injury. Clin J Am Soc Nephrol. 2006 Sep 1, 2006; 1(5): 915-9.
Macedo E, Mehta RL. Timing of dialysis initiation in acute kidney injury and acute-on-chronic renal failure. Semin Dial. 2013 Nov-Dec; 26(6): 675-81.
Thakar CV, Rousseau J, Leonard AC. Timing of dialysis initiation in AKI in ICU: international survey. Crit Care. 2012 Dec 19; 16(6): R237.