การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่วยในการเจาะปอดเพื่อหาตำแหน่งของก้อนเนื้อ ในกลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

วิไล มีมาก

บทคัดย่อ

          การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่วยในการเจาะปอดเพื่อหาตำแหน่งของก้อนเนื้อภายในปอดเพื่อนำชิ้นเนื้อออกมาส่งตรวจพยาธิสภาพด้วยวิธีนี้รังสีแพทย์ผู้ทำการตรวจจะไม่ได้รับรังสีเลย วัตถุประสงค์:เพื่อประเมินผลการนำชิ้นเนื้อที่มีพยาธิสภาพในปอดมาตรวจทางพยาธิวิทยาโดยวิธีการใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มาช่วยในการเจาะตรวจ วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้อบริเวณช่องปอดรังสีแพทย์เป็นผู้เจาะตรวจและมีนักรังสีการแพทย์เป็นผู้เซทเครื่องมือและเซทเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ผู้ป่วยนอนหงายหรือนอนคว่ำวางแถบลวดสีฟ้าบริเวณที่จะตรวจแล้วทำการสแกนเพื่อนับว่าตำแหน่งของก้อนอยู่ลำดับที่เท่าไรของลวดใช้ปากกาเมจิคทำเครื่องหมายไว้แล้วใช้เข็ม Double shoot with introducer Needle and its stylet แทงเข้าบริเวณที่ทำเครื่องหมายไว้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สแกนอีก เพื่อดูตำแหน่งปลายเข็มว่าถึงก้อนเนื้อหรือยังเมื่อถึงก้อนเนื้อแล้วดึง stylet ออกเพื่อนำชิ้นเนื้อกดห้ามเลือดบริเวณที่เจาะ (ถ้าไม่ใช้ลวดสีฟ้าสามารถใช้ไม้บรรทัดวัดก็ได้) ผลการศึกษา: การแทงเข็มไปยังก้อนเนื้อโดยมีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่วยสามารถทำได้แม่นยำ รวดเร็ว และไม่ยุ่งยาก ด้วยวิธีในผู้ป่วย 15 รายพบว่าได้ผลดีไม่มีภาวะแทรกซ้อน เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและก้อนเนื้อเล็กที่สุดที่สามารถเจาะได้ขนาด 1.8 x 2.1เซนติเมตร สรุป: การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่วยกำหนดตำแหน่งในการเจาะชิ้นเนื้อในช่องปอดได้ผลดีมากไม่มีภาวะแทรกซ้อน

Article Details

How to Cite
มีมาก ว. (2024). การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่วยในการเจาะปอดเพื่อหาตำแหน่งของก้อนเนื้อ ในกลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 37(1), 41–50. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1657
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Linsk JA. Fine needle aspiration for the clinician. 1986: 159-162.

Dahlgren SE, Nordenstrom B. Transthoracic Needle Biopsy. Stockholm, Almqvist and Wikseell, 1966.

Sinner WN. Primary neoplasms diagnosed with transthoracic needle biopsy. Cnacer 1979; 43:1533.

Sinner WN. Transthoracic needle biopsy of small peripheral malignant lung lesions. Invert Radiol 1971; 8:305.

Saadoon Kadir, MD. Current Practice of Interventional Radiology Current Practice of In Interventional Radiology Kadir 1991, 214-228.

กรกมล มโนไพสิฐ และ ณัฐชานิการ์ จันทร์วาววาม ภาคนิพนธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2549.

มานัส มงคลสุข พื้นฐานทางฟิสิกส์ของ CT และ MRI ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัย มหิดล 2532.

CT Protocol and optimization. 2532. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ. การฝึกอบรมหลักสูตร การป้องกันอันตรายจากรังสี. กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม. 2537.

พวงทอง ไกรพิบูลย์ และคณะ. ตำรารังสีรักษา ฟิสิกส์ ชีวรังสี การรักษาพยาบาลผู้ป่วย. บริษัทไทยวัฒนา พาณิชย์. กรุงเทพ : 7-19.