อัตราและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะแทรกซ้อน ของการตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินปัสสาวะ ในผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะพิการ หอผู้ป่วยกระดูกและข้อ-ฟื้นฟู 2 โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินปัสสาวะและปัจจัยเกี่ยวข้องที่สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะพิการที่เข้ารับการรักษา ณ หอผู้ป่วยกระดูกและข้อ-ฟื้นฟู 2 โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง จากประวัติการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะพิการที่เข้ารับการตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินปัสสาวะ ณ หอผู้ป่วยกระดูกและข้อ-ฟื้นฟู 2 โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2551 ถึง 30 กันยายน 2553 จำนวน 132 ราย ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นชาย 111 คน (ร้อยละ 84.1) อายุตั้งแต่ 13-74 ปี สาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดกระเพาะปัสสาวะพิการคือ ไขสันหลังบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ (ร้อยละ 73.1) และเป็นการบาดเจ็บไขสันหลังช่วงอกร้อยละ 40.9 ได้ทำการตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินปัสสาวะได้แก่ การถ่ายภาพรังสีเพื่อตรวจกระเพาะและท่อปัสสาวะขณะขับถ่าย (VCUG) 91 ราย (ร้อยละ 68.9) การตรวจยูโรพลศาสตร์ (urodynamic study) 86 ราย (ร้อยละ 65.2) การฉีดสารทึบรังสีเข้าเส้นเลือดเพื่อดูรูปร่างและการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะ (IVP) 41 ราย (ร้อยละ 31.1) พบว่าเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งได้แก่ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ, ปัสสาวะเป็นเลือด ไตวายและกระเพาะปัสสาวะทะลุ จากการตรวจถ่ายภาพรังสีเพื่อตรวจ VCUG 16 ราย (ร้อยละ 17.4) และจากการตรวจยูโรพลศาสตร์ 6 ราย (ร้อยละ 6.8) แต่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจ IVP เลย ปัจจัยภายในของผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะพิการที่สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจ VCUG อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ผู้ป่วยที่เกิดปัสสาวะไหลย้อน สรุป: อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจวินิจฉัยขึ้นอยู่กับชนิดของการตรวจวินิจฉัยและปัจจัยภายในของผู้ป่วย อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนพบมากที่สุดจากการตรวจ VCUG รองลงมาคือจากการตรวจยูโรพลศาสตร์ แต่ไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจ IVP ปัจจัยภายในของผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะพิการที่สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจ VCUG คือการมีปัสสาวะไหลย้อนกลับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Bryce TN, Ragnarsson KT, Stein AB. Spinal cord injury. In: Braddom RL, editor. Physical Medicine and Rehabilitation. 3rd ed. Philadelphia: Elsevier; 2007. p.1285-349.
Kirshblum S. Rehabilitation of spinal cord injury. In: Delisa JA, editor. Physical Medicine and Rehabilitation: Principles and Practice. 4th ed. Philadelphia: Lippincott Williams& Wilkins; 2005. p.1715-52.
อภิชนา โฆวินทะ. การฟื้นฟูผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง. ใน: เสก อักษรานุเคราะห์, บรรณาธิการ.ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทคนิค 19 ; 2539. หน้า 619-50.
Dunnick NR, Sandler CM, Newhouse JH. Textbook of Uroradiology. 3rd ed. New York: McGraw-Hill; 2001. p.330-3.
Guignard JP. Urinary infections after micturating cystography. Lancet 1979; 1: 103.
Foley SJ, McFarlane JP, Shap JR. Vesico-ureteric reflux in adult with spinal cord injury. Br J Urol 1997; 79: 888-91.
Kang HG, Kang JH, Ha I-S, Kim KM, Cheong HI, Choi Y. Effect of prophylactic antibiotics on urinary tract infections complicating voiding cystourethrography (Abstract). J Am Soc Nephrol 2003; 14: 444A
Gauthier B, Vergara M, Frank R, Vento S, Trachtman H. Is antibiotic prophylaxis indicated for a voiding cystourethrogram? Pediatr Nephrol 2004; 19: 570-1.
Moorthy I, Crook D, Bale M, Cubbon M, Kenney I. Is antibiotic prophylaxis necessary for voiding cystourethrography?. Arch Dis Child 2010; 95: 313-4.
Barros M, Martinelli R, Rocha H. Enterococcal urinary tract infections in a university hospital: clinical studies. Braz J Infect Dis 2009; 13: 294-6.
Putran J, Sanderson B. Incidence Of Urinary Tract Infection After Urodynamic Study: Are Prophylactic Antibiotics Necessary?. Internet J Gynecol Obstet 2006; 6(1). DOI: 10.5580/2740
ชินภัทร์ จิระวรพงศ์, ณัฐเศรษฐ มนิมนากร, เอกสิทธิ์ ภู่ศิริภิญโญ. การปฎิบัติตามแนวทางการให้ยาปฏิชีวนะ ป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะก่อนการถ่ายภาพรังสี เพื่อตรวจกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะขณะขับถ่าย เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2552; 19: 1-7.
ทีมนำทางคลินิก สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู. แนวทางการรักษาผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะพิการในหอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ส่งตรวจ urodynamic studies/VCUG(2004). คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.