การพัฒนางานศัลยกรรมในโรงพยาบาลปักธงชัย โดยใช้ทฤษฎีข้อจำกัด

Main Article Content

สาธิต บัวคล้าย

บทคัดย่อ

งานบริการทางศัลยกรรมในโรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ป่วยจำนวนมาก แต่มีแพทย์ท่านเดียว ทำให้ผู้ป่วยต้องรอรับบริการนาน เกิดความไม่พอใจต่องานบริการของโรงพยาบาล ศัลยแพทย์จึงมีความพยายามที่จะพัฒนาคุณภาพงานบริการให้ดีขึ้น โดยนำทฤษฎีข้อจำกัดมาช่วยวิเคราะห์สภาพปัญหาและทำการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการที่ทำให้ระบบมีความล่าช้า วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาคุณภาพงานบริการทางศัลยกรรม ในโรงพยาบาลปักธงชัย ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงกึ่งทดลอง โดยทำการเก็บข้อมูลระยะเวลาการรอคอยของผู้ป่วยและคะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก และคะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลปักธงชัยในโรคที่พบบ่อยทั้งก่อนและหลังทำการเปลี่ยนแปลงระบบ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องผ่าตัด แบบผู้ป่วยนอกจำนวน 101 ราย โดยแยกเป็นช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงระบบจำนวน 54 ราย และหลังจากเปลี่ยนแปลงระบบ จำนวน 47 ราย และจำนวนผู้ป่วยในแผนกศัลยกรรมในโรคที่พบบ่อย 556 ราย แบ่งเป็นช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงระบบจำนวน 267 ราย และหลังการเปลี่ยนแปลงระบบจำนวน299 ราย การประเมินโดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วย และการบันทึกสถิตินำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติหาค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่าหลังจากปรับปรุงระบบ สามารถลดระยะเวลาการรอคอยของผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกห้องผ่าตัดลงได้ 25.80 นาที คะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการมีมากขึ้น โดยแผนกห้องผ่าตัดคะแนนเฉลี่ย 4.65 และแผนกผู้ป่วยในคะแนนเฉลี่ย 4.14 สรุป: จากการนำทฤษฎีข้อจำกัดมาใช้พบว่า สามารถปรับปรุงงานบริการของแผนกศัลยกรรม ได้ทั้งระบบงานห้องผ่าตัด และงานแผนกผู้ป่วยในให้ดีขึ้นได้

Article Details

How to Cite
บัวคล้าย ส. (2024). การพัฒนางานศัลยกรรมในโรงพยาบาลปักธงชัย โดยใช้ทฤษฎีข้อจำกัด. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 36(1), 33–38. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1668
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ฐานข้อมูลจากสถิติเวชระเบียนของโรงพยาบาลปักธงชัยปีงบประมาณ พ.ศ.2553.

Goldratt EM, Jeff C, editors. The Goal: A Process of Ongoing Improvement. Theory of Constraints (TOC). United States of America. Congress Cataloging in Publication Data, 2004.

ประกอบ คุปรัตน์. ทฤษฎีเงื่อนไขและข้อจำกัด. โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. March 12, 2006. Availablefrom URL:http://www.itie.org/eqi/modules.php?name=journal&file=display&jid=497.

มณฑา อดุลย์บดี. การประยุกต์หลักการของทฤษฎีข้อจำกัดเพื่อปรับปรุงขั้นตอนการวางแผนการผลิตวงจรรวม. วิศว-กรรมสาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2551; 7: 134.

McLeod SA. (2008). Likert Scale. Available from http://www.simplypsychology.org/likert-scale.html

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: เอสอาร์ปริ้นติ้งแมสโปรดักส์ 2551.

พันเพชร น้อยเมล์, สุพินดา คูณมี, ปัณณธร ศิริเวช, รัชนีกร ทองบ่อ. การประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการทางศัลยพยาธิวิทยาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์หลังใช้ทฤษฎีข้อจำกัด: ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26: 106-11.

Strear C, Vissers R, Yoder E, Barnett H, Shanks T, Jones L. Applying the Theory of Constraints to Emergency Department Workflow: Reducing Ambulance Diversion Through Basic Business Practice: Ann Emerg Med 2010; 56: S11.

ปิยมาศ จารัสธนสาร. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ ที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้รับบริการในการเลือกใช้บริการสุขภาพ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์). สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ครั้งที่ 1; 2554.

จาริณี ภูมิเวียงศรี, พงษ์จันทร์ สีตบุตร, ดวงจันทร์ อันอาจ, พรสวรรค์ ครุธทะยาน, ระรื่น แสนโคตร. ความพึงพอใจของผู้ป่วยในต่อบริการพยาบาลขณะรอผ่าตัด ณ ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลศรีนครินทร์. Srinagarind Med J 2000; 15: 72-81.

Donabedian A. The effectiveness of quality assurance. Int J Qua Health Care 1996; 8: 401-7

Williams SJ. Patient satisfaction: A valid concept? Soc Sci Med 1994; 38: 509-16.

ภรณ์วรัญธ์ จุนทการบัณฑิต. การพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพบริการผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2554; 5: 80-91.