ผลการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นตอนต้นและกลางกับตอนปลาย เปรียบเทียบกับสตรีตั้งครรภ์วัยอื่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลต่อมารดาและทารกของการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นตอนต้นและกลาง วัยรุ่นตอนปลายและสตรีตั้งครรภ์วัยอื่น ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลังแบบตัดขวางชนิด hospital-based โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและใบย่อคลอดของสตรีที่มาฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จำนวน 9,276 ราย ในช่วงเวลาตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2554 จนถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มศึกษาได้แก่สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า 18 (กลุ่ม 1) สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ 18-20 ปี (กลุ่ม 2) และกลุ่มควบคุมได้แก่ สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ 21-34 ปี (กลุ่ม 3) ทำการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการคลอด ผลการคลอด นำไปวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา: การคลอดของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นพบได้ร้อยละ 15.0 (สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นตอนต้นและกลางร้อยละ 7.0 และวัยรุ่นตอนปลายร้อยละ 8.0) พบสตรีตั้งครรภ์กลุ่ม 1 มีความเสี่ยงสัมพัทธ์ในการฝากครรภ์น้อยกว่า 4 ครั้ง OR 1.82 (1.46-2.27) ภาวะโลหิตจาง OR 2.66 (2.15-3.27) ภาวะคลอดก่อนกำหนด OR 2.16 (1.79-2.61) ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย OR 4.36 (3.54-5.35) ค่าแอฟการ์ต่ำ OR 1.57 (1.12-2.16) สูงกว่าสตรีตั้งครรภ์วัยอื่น สตรีตั้งครรภ์กลุ่ม 2 พบมีความเสี่ยงสัมพัทธ์ต่อภาวะโลหิตจาง OR 2.17 (1.79-2.67) ภาวะคลอดก่อนกำหนด OR 1.59 (1.31-1.92) ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย OR 1.61 (1.31-1.97) สูงกว่าสตรีตั้งครรภ์วัยอื่น สรุป: อุบัติการณ์การตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาพบได้ร้อยละ 15.0 และมีความเสี่ยงสัมพัทธ์ในการฝากครรภ์ด้อยคุณภาพ ภาวะโลหิตจาก ภาวะคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ภาวะทารกพร่องออกซิเจน เมื่อเปรียบเทียบกับสตรีตั้งครรภ์วัยอื่น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
WHO. Definitions, in Adolescent Pregnancy. Department of Reproductive Health and Reseach, World Health Organization Geneva. 2004: 5.
Phupong V,Arbarg A. Pediatrics and Adolescent Gynecology. In: Tantayaporn K, Limpongsanuiak S, Tannirandom Y, Taneepanichkul S, Tresukosol D, editors. Textbook of Gynecology. 3rd ed. Bangkok :O.S. Printing House; 2001: p.30-45.
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพฉบับที่ 10 พ.ศ.2550-2554. แผนพัฒนาสุขภาพฉบับที่ 10 ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554. นนทบุรี : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข; 2550.
กรมอนามัยกระทรวงสาธรณสุข. โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว. Available at http://www.saiyairaihospital.com/newdemo/admin/user_report.html
Konje JC, Palmer A, Watson A, Hag DM, Inrie A, Ewings P. Early teenage pregnancy in Hull. Br J Olstet Gynaecol 1992; 99: 969-73.
Otterblad Olausson PM, Cnattingius S, Hayhund B. Teenage pregnancies and risk of late fetal death and isfant mortality. Br J Obstet Gynecol 1999; 106: 116-21.
Alison M, John E. Association of young macrnal age with adverse reproductive outcome. N Engl J Med. 1995; 322: 1113-7.
Sacid B, Patrick M, Leroy J, Leon I. Birth to teenagers: trends and obstetric outcome. Obstet Gynscol 1996; 87: 668-74.
รักชาย บุหงาชาติ, สุธรรม ปิ่นเจริญ.มารดาวัยรุ่นครรภ์แรก กับการกำเนิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. Sonkla Med J 1998; 16: 113-23.
ฉวีวรรณ ธรรมชาติ, นางอุทุมพร ลิ่มสวัสดิ์,นางมลุลี แสบใจ. การศึกษาลักษณะสำคัญของมารคา ที่มีบุตรคนแรกขณะอายุต่ำกว่า 20 ปี, จังหวัดนครพนม. วารสารการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม 2541; 4: 1-8.
Lao TT,Ho LF. Obstetrie outcome ofteenage pregnancies. Hum Reprod 1998; 13: 3228-32.
Chandra PC, Schiavello HJ, Ravi B, Weinstin Aoook FB. Pregnancy outcome in urban teenagen. Int J Obstet Gynecol 2002; 79: 117-22.
Ziadeh S. Obstetric outcome of teenage pregnancies in North Jordan. Arch Gynecol Obstet 2001; 265: 26-9.
Corde-Agudelo A, Belizan Jm, Lammers C. Matemal-perinatal morbidity and mortality associated with adolescent pregnancy in Latin America: Cross-sectional study. Am J Obstet Gynecol 2005; 192: 342-9.
พีระยุทธ สานุกูล, เพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์. ผลการตั้งครรภ์และการคลอดของวัยรุ่นในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6. Thai Pharm Health Sci J 2008; 3: 97-102.
ชวมัย สืบบุการณ์. ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของสตรีวัยรุ่นในโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาบาลศรีสะเกษสุรินทร์ บุรีรัมย์ 2554; 26: 124-38.
Isaranurug S,Mo-suwan L, Chopraparwon C. Differences in Socio-Economic Status, Service Utization, and Pregnancy Outcomes between Teenage and Adult Mother. J Med Assoc Thai 2006; 89: 145-51.
Gupta N, Kiran U, Bhal K. Teenage pregnancies: Obstric characteristics and outcome. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 2008; 137: 165-71.
Aruda MM, McCabe M, Burke P, Litty C. Adolescent Pregnancy Diagnosis and Outcomes: A Six-Year Clinical Sample. J Pediatr Adolesc Gynecol 2008; 21: 17-9.
ยศ ตีรวัฒนานนท์, ปิยะะ หาญวรวงศ์ชัย,จงกล เลิศเลิศเธียรดำรง, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. การทำนายโอกาสของการผ่าตัดคลอดบุตรสำหรับหญิงไทยกรณีศึกษาโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป 29 แห่ง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2545; 11: 630-7.