ผลการประเมินตรวจติดตาม ด้านเซลล์วิทยาและพยาธิวิทยา ของเยื่อบุปากมดลูก ในกลุ่มผิดปกติแบบ Atypical Squamous Cells (ASC) ในโรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา

Main Article Content

ฑูรย์ ประวัง

บทคัดย่อ

บทนำ: มะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับที่สองของโรคมะเร็งที่พบในสตรีไทย การตรวจแป็บสเมียร์เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองโรค การรายงานผลใช้ระบบ The Bethesda 2001 (TBS) ความผิดปกติด้านเซลล์วิทยาของเยื่อบุปากมดลูกแบบ Atypical Squamous Cell (ASC) นั้นยังเป็นปัญหาในการอ่านเซลล์ของนักเซลล์วิทยาโดยเฉพาะห้องปฏิบัติการเซลล์วิทยา โรงพยาบาลเชียงคำนั้น ยังไม่มีพยาธิแพทย์ปฏิบัติงาน ผลการตรวจวิเคราะห์ด้านเซลล์วิทยาที่ถูกต้องนั้นควรมีความสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกับผลด้านพยาธิวิทยาซึ่งเป็นการตรวจยืนยัน วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลังของงานเซลล์วิทยา กลุ่มงานพยาธิวิทยากายวิภาค โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ของผู้รับบริการตรวจแป็บสเมียร์ (Conventional) ตัวอย่างเซลล์เยื่อบุปากมดลูกเก็บโดยแพทย์และพยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรมสตรีที่มีผลเซลล์วิทยาผิดปกติที่ได้รับการตรวจด้วยกล้องขยายทางช่องคลอด และได้รับการตรวจด้านพยาธิวิทยา ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2555 วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการประเมินตรวจติดตามด้านเซลล์วิทยาและพยาธิวิทยาในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในสตรีที่มีผลการตรวจเซลล์วิทยาแบบ Atypical Squamous Cell ผลการศึกษา: จากตัวอย่างเซลล์วิทยาของเยื่อบุปากมดลูก 59,008 สไลด์ พบผลผิดปกติร้อยละ 1.66 ความผิดปกติแบบ Atypical Squamous Cell จำนวน 126 ราย ได้รับการตรวจติดตามและมีผลตรวจด้านพยาธิวิทยาและระยะก่อนมะเร็งขั้นสูงและมะเร็งระยะลุกลาม ร้อยละ 39.73 และ 1.37 ตามลำดับ ในกลุ่ม Atypical squamous cell of undetermined significance (ASC-US) จำนวน 53 ราย มีผลการตรวจด้านพยาธิวิทยาเป็นระยะก่อนมะเร็งขั้นสูงร้อยละ 9.43 สรุปและข้อเสนอแนะ: สตรีที่มีผลด้าน เซลล์วิทยากลุ่ม ASC-H พบรอยโรคที่เยื่อบุปากมดลูกร้อยละ 93.15 เป็นระยะก่อนมะเร็งขั้นสูง และมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม ร้อยละ 42.47 กลุ่ม ASC-US พบรอยโรคร้อยละ 90.57 เป็นระยะก่อนมะเร็งขั้นสูง ร้อยละ 9.43 สตรีกลุ่มนี้ควรได้รับการตรวจด้วยกล้องส่องขยายทางช่องคลอดทุกกราย โดยเฉพาะสตรีที่มีความเสี่ยงสูง ควรได้รับการตรวจติดตามทันทีเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลาม


 

Article Details

How to Cite
ประวัง ฑ. . (2024). ผลการประเมินตรวจติดตาม ด้านเซลล์วิทยาและพยาธิวิทยา ของเยื่อบุปากมดลูก ในกลุ่มผิดปกติแบบ Atypical Squamous Cells (ASC) ในโรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 36(3), 155–160. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1709
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Hospital based -cancer registry. National cancer institute, department of medical services, ministry

of public health. 201 1.

Sherman ME, Castle PE, Solomon D Cervical cytology of atypical squamous cells cannot exclude high grade squamous intraepithelial lesion (ASC-H): characteristics and histologic outcomes. Cancer 2006; 108: 298-305.

Narongrit Intamool. Abnormal Pap Smear at Chiangkham Hospital. Journal of Phrae Hospital 2004; 12 (2): 7-16.

Kantathavom N, Kietpeerakool C, Suprasert P, Srisomboon J, Khunamornpong S, Nimmanahaeminda K, et al. Clinical relevance of atypical squamous cells of undetermined significance by the 2001 bethesda system: experience from a cervical cancer high incidence region. Asian Pac J Cancer Prev 2008; 9: 785-8.

Watcharin Suntornlimsiri. Women in a region with high incidence of cervical cancer warrant immediate colposcopy for Atypical squamous cell of undertermined significance on cervical cytology. J Med Assoc Thai 2010; 93 (6): 676-814.

Kietpeerakool C, Srisomboon J, Tantipalakom C, Suprasert P, Khunamornpong S, Nimmanahaeminda K, et al. Underlying pathology of women with "atypical squamous cells, cannot exclude high-grade squamous intraepithelial lesion" smears, in a region with a high incidence of cervical cancer. J Obstet Gynaecol Res 2008; 34: 204-9.