การตรวจทางเซลล์วิทยาที่มีผลเป็น Unsatisfactory ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Main Article Content

รัชนีกร ทองบ่อ
ณัฐชา ภัทรผดุงกิจ
เอมอร ปาสาทัง
ปัณณธร ศิริเวช

บทคัดย่อ

บทนำ: Pap smear เป็นวิธีการตรวจหาความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุปากมดลูก ใช้กันอย่างแพร่หลาย วิธีการตรวจไม่ยุ่งยาก ราคาไม่แพง มีประสิทธิภาพ และเป็นการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในระยะก่อนเกิดมะเร็ง จนถึงมะเร็งระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งระยะนี้ทำได้ไม่ยากและปลอดภัย วัตถุประสงค์: เพื่อให้ทราบถึงความชุกของการตรวจทางเซลล์วิทยาที่มีผลเป็น Unsatisfactory ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและหาแนวทางแก้ไข ผู้ป่วยและวิธีการ: ผู้มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกรายที่มีผลการตรวจทางเซลล์วิทยาเป็น Unsatisfactory ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2552 – 31 ธันวาคม 2554 และทำการคัดแยกตามข้อมูลเบื้องต้น อายุ หน่วยงานที่ส่งตรวจ ผลการตรวจทางเซลล์วิทยาที่มีในระบบของหน่วยเซลล์วิทยา ผลการศึกษา: พบว่ามีผลการตรวจเป็น Unsatisfactory จำนวน 168 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.003 ผู้ป่วยที่มีผลการตรวจเป็น Unsatisfactory พบมากในช่วงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และพบน้อยสุดคือช่วงอายุน้อยกว่า 30 ปี แบ่งตามหน่วยงานที่ส่งตรวจที่พบมากที่สุด คืองานรังสีรักษา วิจารณ์และสรุป: ในผู้ป่วยที่มีผลการตรวจทางเซลล์วิทยาเป็น Unsatisfactory ในครั้งก่อนที่มาตรวจที่ห้องตรวจ สูติ-นรีเวช มักจะไม่มาตรวจซ้ำอาจจะเนื่องจากไม่ได้มีความผิดปกติทางร่างกายใด ๆ เช่น ไม่ได้มีประจำเดือนผิดปกติ ไม่มีตกขาวผิดปกติ ไม่ปวดท้องน้อย มักเป็นผู้ป่วยที่มาตรวจสุขภาพประจำปี และคาดว่าปีหน้าจะมารตรวจอีกครั้ง ส่วนผู้ป่วยที่มาติดตามการรักษาหลังจากได้รับการราทางรังสีรักษาแล้ว มักจะมาตรวจตามนัด แต่ก็ยังมีผู้ป่วยบางรายไม่ได้มาตามนัด การตรวจทางเซลล์วิทยาเป็น Unsatisfactory อาจเกิดจากเทคนิคการป้ายตัวอย่างไม่ดีพอ ทำให้ได้เซลล์น้อย และผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสูงอายุ หรือในผู้ป่วยที่รักษามะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีรังสีรักษา ทำให้เซลล์บริเวณปากมดลูกเหี่ยว เซลล์มักจะหลุดลอกออกมายาก ถ้าทำการป้ายแรงและลึกจะทำให้ผู้ป่วยมีเลือดออก จึงทำให้ได้เซลล์น้อย จากการศึกษานี้ทำให้ทราบว่าผลตรวจทางเซลล์วิทยาเป็น Unsatisfactory แพทย์ที่ทำการรักษาต้องตระหนักถึงความสำคัญของการอธิบายความหมายของผลการตรวจให้ผู้ป่วยฟังอย่างละเอียดและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการคัดกรอง

Article Details

How to Cite
ทองบ่อ ร., ภัทรผดุงกิจ ณ., ปาสาทัง เ., & ศิริเวช ป. (2024). การตรวจทางเซลล์วิทยาที่มีผลเป็น Unsatisfactory ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 36(3), 161–166. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1710
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Deerasamee S, Martin N, Sontipong S, editors. Cancer in Thailand Volume II (1992-1994). Bangkok: The International Agency for Research on Cancer; 1999.

วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ. Hormone replacement therapy and cervical cancer ใน: นิมิตเตช ไกรชนะ, บรรณาธิการ. ฮอร์โมนทดแทนในวัยหมดระดู. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2543. หน้า 327-36.

กองวิชาการ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. สรุปผลการดำเนินการกิจกรรมค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรกในโครงการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบรอบ 72 พรรษา5 ธันวาคม 2542. กรุงเทพ: สำนักการแพทย์; 2542.

Cancer Unit. Faculty of Medicine. Khon Kaen University. Tumor Registry Cancer Unit, Khon Kaen University: statistical report 2004. Khon Kaen: Cancer Unit; 2004.

ชาตรี เมธาธราธิป, พิสมัย ยืนยาว, สงวนโชคล้วนรัตนากร. ความชุกของการตรวจพบความผิดปกติทางเซลล์วิทยาของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีวัยหลังหมดระดูในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะเเพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.