ลักษณะทางคลินิกอัตราการรอดชีวิดของผู้ป่วยมะเร็งปอดในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

ธนากรณ์ อนันตะเศรษฐกุล

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิกและอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาย้อนหลังผู้ป่วยมะเร็งปอด จำนวน 170 รายที่มีผลการตรวจทางพยาธิวิทยายืนยันการวินิจฉัย ระหว่าง วันที่ 1 ต.ค. พ.ศ. 2550 ถึง 30 พ.ย. 2551 ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยส่วนมากเป็นชาย อายุเฉลี่ยเท่ากับ 60 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ73) สูบบุหรี่ อาการสำคัญที่พบบ่อยที่สุดคือ อาการไอ พบร้อยละ 75, น้ำหนักลดพบร้อยละ 38 อาการเหนื่อย พบร้อยละ 35 และอาการไอมีเสมหะปนเลือด พบร้อยละ 27 ความผิดปกติจากภาพรังสีทรวงอกที่พบบ่อยที่สุดคือลักษณะที่เป็นก้อนในในปอด (ร้อยละ 78) โดยตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุดคือ กลีบบนขวา (ร้อยละ 36) ความผิดปกติลักษณะมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดพบ ร้อยละ 17 ผู้ป่วย 158 ราย มีลักษณะทางพยาธิสภาพเป็นมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (ร้อยละ 92) ผู้ป่วย 12 ราย มีลักษณะทางพยาธิสภาพเป็นมะเร็งชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (ร้อยละ 8) ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดที่ไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นเซลล์มะเร็งชนิดอะดีโน (ร้อยละ 60) ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม หรือแพร่กระจาย (ร้อยละ 88) มีผู้ป่วยระยะที่ 1 และระยะที่ 2 รวมกัน จำนวน 12 ราย ผู้ป่วย 11 รายได้รับการผ่าตัด มีผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด 124 ราย อัตราการรอดชีวิตที่ 1 ปี ของผู้ป่วยระยะลุกลามหรือแพร่กระจายที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่มีส่วนประกอบของแพลตทินั่ม เท่ากับ ร้อยละ 52 และเท่ากับร้อยละ 23 ในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาเคมีบำบัด สรุป: ผู้ป่วยมะเร็งปอดส่วนใหญ่มีอาการเมื่อโรคลุกลามมากแล้วจึงมักได้รับการวินิจฉัยในระยะลุกลามหรือแพร่กระจาย ทำให้มีอัตราการรอดชีวิตต่ำ ผู้ป่วยระยะลุกลามหรือแพร่กระจายที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดที่มีส่วนประกอบของแพลตทินั่มมีอัตราการรอดชีวิตดีกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาเคมีบำบัด

Article Details

How to Cite
1.
อนันตะเศรษฐกุล ธ. ลักษณะทางคลินิกอัตราการรอดชีวิดของผู้ป่วยมะเร็งปอดในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. MNRHJ [อินเทอร์เน็ต]. 9 กันยายน 2024 [อ้างถึง 18 พฤษภาคม 2025];35(1):23-30. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1724
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Cancer Center, Maharat Nakhon Ratchasima Hospital, Statistical report 2009.

Herbst RS, Heymach JV, Lippman SM. Lung cancer. N Engl J Med 2008; 359: 1367-80.

Mountain CF. Revisions in the international system for staging lung cancer. Chest 1997; 111: 1710-7.

Andrews JL, Bloom S, Balogh K and Beamis JF. Lung cancer in women. Cancer 1985; 55: 2984-8.

Riantawan P, Tungsagunwattana S, Subhannachart P, Yodtasurodom C. Histologic types, staging, respectability, and smoking among Thai patients with lung cancer. J Med Assoc Thai 1999; 82: 121-5.

Thammakumpee K. Clinical manifestation and survival of patients with non-small cell lung cancer. Med Assoc Thai 2004; 87: 503-7.

Buccheri G, Ferrigno D. Lung cancer; Clinical presentation and specialist referral time. Eur Respir J 2004; 24: 898-904.

Theros EG. Varying manifestations of peripheral pulmonary neoplasms: A radiologic-pathologic correlative study. Am J Roentgenol 1977; 128:893-914.

Schiller JH, Harrington D, Belani CP et al. Comparison of four chemotherapy regimens for advanced non-small-cell lung cancer. N Engl J. Med 2002; 346: 92-8.