ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยเบาหวานที่นอนรักษาในกลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

รุ่งนภา ลออธนกุล
อรนุช กำเนิดทอง
พรรณทิพย์ ตันติวงษ์

บทคัดย่อ

          ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นสาเหตุที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเป็นความเสี่ยงที่พบได้ระหว่างการรักษา วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสาเหตุ ลักษณะทางคลินิกและผลการรักษาของผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าโรงพยาบาลด้วยภาวะน้ำตาลใสเลือดต่ำและการเกิดภาวะนี้ ระหว่างรับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนตามรหัส ICD-10 ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ในช่วง 3 เดือนที่พบผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมากที่สุดของปี พ.ศ. 2553 เก็บข้อมูลลักษณะของผู้ป่วย สาเหตุของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และสถานภาพเมื่อกลับบ้าน ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลต่ำในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งหมด 86 ราย โดยเป็นกลุ่มแรกที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำก่อนพักรักษาในโรงพยาบาล 55 ราย และกลุ่มสองเกิดในขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 31 ราย ในกลุ่มแรกส่วนใหญ่เป็นหญิงวัยกลางคน มีประวัติรับประทานอาหารได้น้อย มักมาด้วยอาการไม่รู้สึกตัวและซึมร้อยละ 60 โดยมีโรคร่วมที่พบบ่อยคือ โรคติดเชื้อและไตเสื่อม สาเหตุของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นจากการใช้ยากินลดระดับน้ำตาลรวมกับอินซูลินถึงร้อยละ 64 ในกลุ่มที่สองตรวจพบโดยไม่มีอาการ ร้อยละ 32 และอาการซึม ร้อยละ 38 ส่วนสาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะที่นอนรักษาในโรงพยาบาล พบจาก การติดเชื้อและจากงดอาหารเป็นส่วนใหญ่ ผู้ป่วยเบาหวานทุกรายได้รับตรวจระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วขณะนอนรักษาในโรงพยาบาล แต่พบผู้ป่วยร้อยละ 36 ไม่ได้รับสารน้ำที่มีน้ำตาลขณะที่นอนโรงพยาบาล อัตราการตายพบ ร้อยละ 30 สาเหตุการตายที่พบบ่อยคือ การติดเชื้อที่รุนแรง สรุป: ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำก่อนเจ้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มักมาด้วยไม่รู้สึกตัวและซึม โรคติดเชื้อและไตเสื่อมเป็นโรคที่พบบ่อย ส่วนภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่เกิดขณะที่นอนรักษาในโรงพยาบาลพบจากตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วโดยผู้ป่วยไม่มีอาการมากขึ้นและมักมีประวัติการได้รับพลังงานจากสารน้ำและอาหารที่ไม่เพียงพอ

Article Details

How to Cite
ลออธนกุล ร., กำเนิดทอง อ., & ตันติวงษ์ พ. (2024). ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยเบาหวานที่นอนรักษาในกลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 35(2), 87–96. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1738
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Kavanagh BP, McCowen KC. Glycemic control in the ICU. N Engl J Med, 2010; 363: 2540-6.

Sura-amorakul S, Tiyamani P, Rawdaree P.Effectiveness of surveillance system in prevention of hospital hypoglycemia. Vajira Medical, 2005; 49: 59-67.

Cryer PE, Polonsky KS. Glucose homeostasis and hypoglycemia. In: Wilson JD, Foster DW, Kronenberg HM, Larsen PR, editors. William Testbook of Endocrinology, 9th ed. Philadelphia: WB Saunders; 1998:939-71.

Cryer PE, Axelrod L, Grossman AB, Heller SR, Montori VM, Seaquist ER, et al. Evaluation and management of adult hypoglycemic disorders: An Endocrine Society Clinical Practice Guideline. J Clin Endocrinol Metab, 2009; 94: 709-28.

Fischer K, Lees J, Newman J. Hypoglycemia in hospitalized patients: Causes and outcomes. NEngl J Med, 1986; 315: 1245-50.

Maynard GA, Huynh MP, Renvall M. Latrogenic inpatient hypoglycemia: Risk factors, treatment, and prevention: Analysis of current practice at an academic medical center with implications for improvement efforts. Diabetes Spectr, 2008; 21: 241-7.

Shilo S, Berezovsky S, Freindlander Y, Sonnenblick M. Hypoglycemia in hospitalized nondiabetic older patients. J Am Geriatr Soc 1998; 46:978-82.

Smith WD, Winterstein AG, John T, Rosenberg E, Sauer BC.Causes of hyperglycemia and hypoglycemia in adult inpatients. Am J Health Syst Pharm, 2005; 62: 714-9.

Varghese P, Gleason V, Sorokin R, Senholzi C, Jabbour S, Gottlibe JE. Hypoglycemia in hospitalized patients treated with antihyperglycemic agents. J Hosp Med, 2007; 2:234-40.