วัณโรคระบบทางเดินอาหารในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

กาญจนา เหลืองรังษิยากุล
สมชาย เหลืองจารุ

บทคัดย่อ

วัณโรคระบบทางเดินอาหารถือเป็นอาการแสดงอย่างหนึ่งของวัณโรคนอกปอดที่พบมากเป็นอันดับ 6 จากวัณโรคนอกปอดทั้งหมด อาการ อาการแสดง ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการมีได้หลากหลายและไม่จำเพาะ จึงเป็นสิ่งที่ยากในการที่จะให้ได้มาซึ่งการวินิจฉัย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิกส่วนใหญ่ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของวัณโรคระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคระบบทางเดินอาหารตามรหัส ICD 10 A18.3 (Tuberculosis of intestines, peritoneum and mesenteric glands) และ A18.83 (Tuberculosis of digestive tract organs, not elsewhere classified) ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2548 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและตรงตามเกณฑ์คัดเข้า 37 ราย จากผู้ป่วย 423 รายที่เข้ารับการรักษาในช่วงที่ศึกษา (ร้อยละ 8.8) อาการแสดงที่พบบ่อยได้แก่ ปวดท้อง ไข้และน้ำหนักลด ซึ่งพบได้ ร้อยละ 72.9, 32.4 และ 24.3 ตามลำดับ อาการปวดท้องมีหลายลักษณะ แต่ส่วนใหญ่มักเป็นลักษณะเกร็งตื้อ ๆ บริเวณทั่ว ๆ ท้อง ไม่สัมพันธ์กับตำแหน่งของรอยโรค ความผิดปกติจากการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่พบบ่อยได้แก่ โลหิตจาก ร้อยละ 64, ปริมาณเม็ดเลือดขาวมากกว่า 10,000 ตัว/ลบ.มม. ร้อยละ 37.8, ปริมาณโปรตีนอัลบูมิน ในเลือดน้อยกว่า 3.5 กรัม/เดซิลิตร ร้อยละ 32 ภาพทางรังสีและผลตรวจชิ้นเนื้อ พบว่าตำแหน่งที่ตรวจพบวัณโรคที่พบบ่อยได้แก่ เยื่อบุช่องท้อง ร้อยละ 29.7, ลำไส้ใหญ่ ร้อยละ 27.0, ลำไส้ส่วนไอเลี่ยม ร้อยละ 13.5 โดยร้อยละ 5.4 พบวัณโรคปอดร่วมด้วย สรุป: วัณโรคระบบทางเดินอาหารในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา พบได้ไม่บ่อย พบได้เพียง 37 ราย ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัวและพบในผู้ป่วยเอดส์เพียงร้อยละ 5.4 อาการที่พบบ่อยได้แก่ ปวดท้อง ไข้และน้ำหนักลด อาการแสดงที่พบบ่อยคือ กดเจ็บบริเวณท้อง, ท้องมาน, คลำได้ก้อนในท้อง ตำแหน่งของการติดเชื้อวัณโรคในช่องท้องที่พบได้แก่ เยื่อบุช่องท้อง, ลำไส้ใหญ่, ลำไส้ส่วนไอเลี่ยม และพบร่วมกันกับวัณโรคปอดร้อยละ 5.4 ความผิดปกติทางห้องปฏิบัติการที่พบบ่อยได้แก่ โลหิตจาง โปรตีนอัลบูมินในเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดสูง

Article Details

How to Cite
เหลืองรังษิยากุล ก., & เหลืองจารุ ส. (2024). วัณโรคระบบทางเดินอาหารในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 35(2), 107–114. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1742
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Chong V H, Lim K S. Gastrointestinal tuberculosis. Singapore Med J 2009; 50: 638-46.

Chou CH, Ho MW, Ho CM, Lin PC, Weng CY, Chen TC, et al. Abdominal tuberculosis in adult: 10-year expe rience in a teaching hospital in central Taiwan. J Microbiol Immunol Infect 2010; 43:395-400.

Chong VH, Lim KS. Hepatobiliary tuberculosis. Singapore Med J 2010; 51:n744-51.

Hu ML, Lee CH, Kuo CM, Huang CC, Tai WC, Chang KC, et al. Abdominal tuberculosis: analysis of clinical features and outcome of adult patients in southern Taiwan. Chang Gung Med J 2009; 32: 509-16.

Paustian FF, Monto GL. Tuberculosis of the intestines. In: Bockus HL, editor. Gastroenterology. 3rd ed. Phila delphia: Saunders; 1976.p.750-77.

Uygur-Bayramicli O, Dabak G, Dabak R. A clinical di lemma: abdominal tuberculosis. World J Gastroenterol 2003; 9: 1098-101.

Demir K, Okten A, Kaymakoglu S, Dincer Besisik F, Cevikbas U, et al. Tuberculous peritonitis. Eur Gastroenterol Hepatol 2001; 13: 581-5.

Jain R, Sawhney S, Bhargava DK, Berry M. Diagnosis of abdomimal tuberculosis: sonographic fings in patients with early disease. AJR Am J Roentgenol 1995; 165: 1391-5.

Bernhard JS, Bhatia G, Knauer CM. Gastrointestinal tuberculosis an eighteen patient experience and review. J Clin Gastroenterol 2000; 30:397-402.

Bernhard JS, Bhatia G, Knauer CM. Gastrointestinal tuberculosis. J Clin Gastrenterol 2001; 1:397-402.

Marshall JB. Tuberculosis of the gastrointestinal tract and peritoneum. Am J Gastroenterol 1993; 158:687-92.