การศึกษาเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้ารับการอบรมความรู้ในการดูแลเท้า ของผู้ป่วยเบาหวานในเขตพื้นที่อำเภอปักธงชัย นครราชสีมา

Main Article Content

สาธิต บัวคล้าย

บทคัดย่อ

ในเขตพื้นที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่อยู่ในวัยผู้สูงอายุมีปัญหาในการรับรู้และการดูแลสุขภาพเท้าของตนเองทำให้เกิดแผลที่เท้าขึ้นเป็นจำนวนมาก วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้ในการดูแลเท้าก่อนและหลังการอบรมของผู้ป่วยเบาหวานในเขตพื้นที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการศึกษากึ่งทดลอง โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มาเข้ารับการอบรมการดูแลเท้าและยินยอมเข้าร่วมการศึกษา ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 เก็บข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถามก่อนและหลังการอบรม นำมาวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานในระยะเวลาดังกล่าว 51 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 41 ราย (ร้อยละ 80.4) เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังให้อบรม พบว่า ความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวานก่อนเข้ารับการอบรม ร้อยละ 81.5 และหลังเข้ารับการอบรม ร้อยละ 90.9 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: การอบรมให้ความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในเขตพื้นที่อำเภอปักธงชัย นครราชสีมา สามารถทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น

Article Details

How to Cite
บัวคล้าย ส. (2024). การศึกษาเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้ารับการอบรมความรู้ในการดูแลเท้า ของผู้ป่วยเบาหวานในเขตพื้นที่อำเภอปักธงชัย นครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 35(2), 123–128. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1746
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Boulton AJ, Vileikyte L. The diabetic foot: the scof the problem. I Fam Pract 2000; 49: S3-S8.

สุนิสา บริสุทธิ์,วิภาวี คงอินทร์,ขนิษฐา นาคะ.เปรียบเทียบผลของโปรแกรมการให้ความรู้ในการดูแลเท้ากับโปรแกรม การดูแลเท้าที่ผสมผสานการนวดเท้าด้วยการเหยียบกะลาอต่ออาการชาที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2. วารสารพยาบาล ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2552;21:94-105.

เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิชัย, อาทิตย์ วงษ์เสาวศุภ, วิรุพท์ โนพวน, ธิดารัตน์ เครือนาค. ประสิทธิผลการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2553; 29:439-45.

Grunfeld C. Diabetic foot ulcers: etiology, treatment and prevention. Ady Intern Med 1992;37: 103-32.

Patout CA Jr, Birke JA, Horswell R, Williams D, Cerise FP.Effectiveness of a comprehensive diabetes lowerextremity amputation prevention program in a predominantly low income, African-American population. Diabetes Care 2000; 23: 1339-42.

Rerkasem K, Kosachunhanum N, Tongprasert S, Khwanngern K, Matanasarawoot A, Thongchai C, et al. Reducing lower extremity amputations due to diabetes: the application of diabetic foot protocol in Chiang Mai University Hospital. Int J Low Extrem Wounds 2008; 7: 88-92.

ศิริพร จันทร์ฉาย. การดูแลเท้าเบาหวาน: การป้องกันการ ถูกตัดขา. เวชศาสตร์ร่วมสมัย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2005; 49: 174-88.

พัลลภ ลิ่วนำวงศ์ลาภ. การดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานเพื่อการป้องกันการถูกตัดขาโรงพยาบาลบางบ่อ.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2550; 1:346-52.

กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม, อมราภรณ์ ฤกษ์เกษม. โครงการ ป้องกันแผลที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างครบวงจร. Update On Wound Care 2009. สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; ชมรมสมานแผลแห่งประเทศไทย 2552. หน้า 128-16.