ผลสัมฤทธิ์ของการฝึกออกกำลังกายกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การออกกำลังกล้ามเนื้อในการฟื้นฟูผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังมีความจำเป็นในกระบวนการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยช่วยให้พัฒนาความสามารถทางกาย วัตถุประสงค์: เพื่อการศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่พักนอนในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม 2554 ที่ยินยอมเข้าร่วมโครงการ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไป การประเมินกล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังด้วยวิธี manual muscle test และประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมของศูนย์สิริธรเพื่อการฟื้นฟู กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตามลำดับก่อนและหลังการเข้าโปรแกรม ในโปรแกรมได้รับการสอนจากนักกายภาพบำบัด เกี่ยวกับการออกกำลังกล้ามเนื้อแบบCore stabilization ให้แก่ผู้ป่วย 5 ครั้ง/สัปดาห์ อย่างน้อย 40 นาที เป็นเวลา 4 สัปดาห์ รวมทั้งมีการติดตามหลังจำหน่ายผู้ป่วยโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการศึกษา: มีผู้ป่วย 15 รายเข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 80)อายุเฉลี่ย 34.5±12.0 ปี และค่าเฉลี่ยระยะเวลาการพักนอนในโรงพยาบาลนาน 34.7±11.9 วัน ส่วนค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังก่อนเข้าโปรแกรม 12.9 และหลังเข้าโปรแกรมเพิ่มขึ้นถึง 2.1 เท่า (p=0.001) และพบว่าอายุมีผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังที่เพิ่มขึ้น ส่วนคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการทำกิจกรรม ก่อนการฝึก 123.7±7.6 หลังการฝึก 141.5±8.2 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) สรุป:ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการออกกำลังกล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. รายงานสถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ป ระจำปี พ.ศ. 2552-2554.
วรุณนภา ศรีโสภณ, ฉลอง พันธ์กนกพงศ์. คุณภาพชีวิตและความเครียดของผู้ดูแลหลัก เพื่ออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเข้าช่วยฝึกกายภาพบำบัดแก่ผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บที่บ้าน. J Med Tech Physic Ther 2005; 24:171-9.
จารุนันท์ พันธ์งามตา. ผลของการฝึกกล้ามเนื้อลำตัวบนเอกเซอร์ไซด์บอลและการฝึกบนพื้นที่มีต่อความแข็งแรง และความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ ในนักกีฬายิมนาสติกลีลา; (วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาบัณฑิต). ภาควิชาการวิชาศาสตร์การกีฬา, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2552.
ดารณี สุวพันธ์, วิรัตน์ เตชะอาภรณ์กุล, ยิ่งสุมาลย์ อาจองค์, อรัญญา ปรมาคม, ฌานิยา เทพนม, ภัชราภรณ์ กองเกิดและคณะ. คู่มือแบบประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วย/ผู้พิการ ที่ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพการแพทย์แห่งชาติ (Sirindhorn National Medical Rehabilitation Centre [SNMRC] Functional Assessment). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพการแพทย์แห่งชาติ, กรมการแพทย์ 2549. Availablefrom http://www.snmrc.go.th/images/Download/Articles_CNPG/CNPG/SNMRC_Functional_Assessment.pdf
Petrofsky JS, Johnson EG, Hanson A, Cuneo M, Dial R, Somers R, et al. Abdominal and Lower Back Training for people with Disabilities using a 6 Second Abs Machine: Effect on core Muscle stability. J Applied Research 2005; 5: 345-9.
มณฑิชา ม่วงเงิน, ประเสริฐ จินดา. ผลการประเมินความสามารถทางการเคลื่อนไหวตามแบบประเมิน SNMRC Functional Assessment หลังจากได้รับการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่มาพักนอนที่ ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพการแพทย์แห่งชาติ, กรมการแพทย์ 2554. Available from http://www.snmrc.go.th/images/Download/KM/KM54/8.R2R/4.R to R in SCI1.pdf