ความพึงพอใจของแพทย์ผ่าตัดต่อการบริการด้านวิสัญญีวิทยาโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: การประเมินความพึงพอใจของแพทย์ผ่าตัดซึ่งเป็นผู้รับบริการภายในที่สำคัญ ของงานวิสัญญีวิทยานับเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์: (1). เพื่อสำรวจความพึงพอใจของแพทย์ผ่าตัดต่อการบริการด้านวิสัญญีวิทยา( 2). เพื่อทราบปัญหาและความต้องการของแพทย์ผ่าตัดต่อการบริการด้านวิสัญญีวิทยา วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีระยะเวลาศึกษา 10 เดือน เริ่มตั้งแต่ เดือนสิงหาคม 2551 ถึง พฤษภาคม 2552 ประชากรที่ศึกษาคือ แพทย์ผ่าตัดจำนวน 79 คน ที่มารับบริการด้านวิสัญญีวิทยา โดยมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาไม่น้อยกว่า 1 ปี และใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษา: แพทย์ผ่าตัดตอบแบบสอบถามจำนวน 64 คน อัตราตอบสนอง (ร้อยละ 81.0) พบความพึงพอใจมากถึงมากที่สุดในด้านทัศนคติและพฤติกรรมของทีมวิสัญญี ได้แก่ การมีอัธยาศัยไมตรีและมนุษย์สัมพันธ์ (ร้อยละ 96.8),การให้ความช่วยเหลือเมื่อแพทย์ผ่าตัดต้องการ (ร้อยละ 96.0), การนำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยไปปฏิบัติ (ร้อยละ 95.0), ความเอาใจใส่ต่อผู้ป่วยขณะให้ยาระงับความรู้สึก (ร้อยละ 95.0) ส่วนในด้านการบริการวิสัญญีวิทยา พบความพึงพอใจมากถึงมากที่สุดในหัวข้อการควบคุมสถานการณ์เมื่อมีเหตุฉุกเฉินระหว่างผ่าตัด (ร้อยลละ 98.0), ความเหมาะสมในการกำหนดแนวทางการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ การทำ CXR และEKG (ร้อยละ 93.0), การแจ้งเหตุผิดปกติของผู้ป่วยให้แพทย์ผ่าตัดทราบระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด (ร้อยละ 92.0) และพบความพึงพอใจในระดับน้อยถึงน้อยที่สุดในประเด็นความตรงต่อเวลาในการเริ่มให้ยาระงับความรู้สึก (ร้อยละ45.3), การเยี่ยมและเตรียมผู้ป่วยก่อนมาผ่าตัดโดยทีมวิสัญญี (ร้อยละ25.0), การติดต่อประสานงานกับแพทย์ผ่าตัดก่อนการผ่าตัด (ร้อยละ21.8), ความราบรื่นและรวดเร็วในการให้บริการระงับความรู้สึกในหัตถการต่าง ๆ (ร้อยละ17.1) และการดูแลความปวดหลังผ่าตัดของผู้ป่วย (ร้อยละ17.1) สรุป: ระดับความพึงพอใจของแพทย์ผ่าตัดต่อการบริการด้านวิสัญญีวิทยาโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีแต่ยังมีบางประเด็นที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาอยู่การทราบถึงปัญหา และความต้องการที่แท้จริงจะทำให้ตอบสนองได้ตรงประเด็น ทั้งยังช่วยลดข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในทีมผ่าตัด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์, บรรณาธิการ. เครื่องชี้วัดคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Quality Indicatiors). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2543.
ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพฯ: เอ็กเปอเน็ท; 2551.
ฤทธิชัย พุทธประสิทธ.ิ์ ความพึงพอใจของแพทย์ผ่า ตัดต่อ บริการด้านวิสัญญีวิทยาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. วิสัญญีสาร 2548.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนดี; 2551.
บัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์; 2539.
พิสณุ ฟองศรี. เทคนิควิธีประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: บริษัท พรอพเพอร์ตี้พรินท์ จำกัด; 2551.
วินิตา จีราระรื่นศักดิ์, วราภรณ์ เชื้ออินทร์, สุทธินี จริยะวิสุทธิ์, ทิพยวรรณ มุกนำพร, ไกรวาส แจ้งสม, ประภาพรรณ ลิมป์กุลวัฒนพร และคณะ. ความพึงพอใจของผู้รับบริการวิสัญญีในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. วิสัญญีสาร 2545; 28: 215-25.
บัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์; 2539.
เทพนม เมืองแมน, บรรณาธิการ. พฤติกรรมองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช; 2540.
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, บรรณาธิการ. เส้นทางสู่โรงพยาบาลคุณภาพคู่มือการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2543.
Lee A, Lum ME. Measuring anesthetic outcome. Anesth Intensive Care 1996; 24: 685-93.
Le May S, Hardy JF, Taillefer MC, Duplis G. Patient satisfaction with anesthesia services. Can J Anesth 2001; 48: 153-61.
Vroom WH, editor. Work and motivation. New York: John Wiley & Sons; 1964.