ผลของโครงการล้างไตทางช่องท้องภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา; ผลการดำเนินการ 1 ปี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา รัฐบาลอนุมัติให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายภายใต้โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยวิธีการล้างไตทางหน้าท้องโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยหวังให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้น โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาเป็นโรงพยาบาลแรกในจังหวัดนครราชสีมาที่ได้เข้าร่วมโครงการล้างไตทางช่องท้องภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า วัตถุประสงค์: เพื่อติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผลการรักษาของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่เข้าร่วมโครงการล้างไตทางช่องท้องภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่หน่วยไตโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระยะเวลา 1 ปี ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางช่องท้องรายใหม่ภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่หน่วยไตโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551-วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยเก็บข้อมูลพื้นฐาน, โรคประจำตัว, ดัชนีมวลกาย,ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ, อัตราการติดเชื้อในช่องท้อง, อัตราตาย, ความล้มเหลวทางเทคนิค, รวมไปถึงอัตรารอดชีวิตของผู้ป่วย ผลการศึกษา: พบผู้ป่วย 55 ราย อายุเฉลี่ย 47.9+14.2 ปี (พิสัย 15.4-76.8 ปี) ดัชนีมวลกาย 22.4+3.3 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (พิสัย 17.6-30.2 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) สาเหตุของโรคไตที่พบบ่อยได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 27.3 และโรคเบาหวาน ร้อยละ 18.2 พบว่า ผู้ป่วยมีความผิดปกติดังนี้ มีภาวะซีด ร้อยละ 100, มีระดับอัลบูมินในเลือดต่ำร้อยละ 72.5, มีระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ ร้อยละ 49 ผู้ป่วยได้รับการวางสายล้างไตโดยอายุรแพทย์โรคไต ร้อยละ 63.6 และศัลยแพทย์ ร้อยละ 36.4 มีภาวะแทรกซ้อนจากการวางสายล้างไตทางช่องท้องร้อยละ 20 (ได้แก่ เลือดออกในช่องท้อง, ลำไส้ทะลุ, กระเพาะปัสสาวะทะลุและสายผิดตำแหน่ง) มีผู้ป่วย 41 รายที่ได้รับการติดตามการรักษาตลอดระยะเวลาในการศึกษาทั้งหมด 276.5 ผู้ป่วย-เดือน (เฉลี่ย 5.1+3.9 เดือน, ค่ามัธยฐาน 3.8 เดือน) ค่าเฉลี่ยระยะเวลาปลอดจากการติดเชื้อในช่องท้องเท่ากับ 10.7 ผู้ป่วย-เดือน เมื่อสิ้นสุดการศึกษาอัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยเป็น ร้อยละ 83.3 และมี ผู้ป่วยที่รักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องร้อยละ 75.9, เปลี่ยนไปฟอกเลือดร้อยละ 16.4, เสียชีวิตร้อยละ 16.4 (จากการติดเชื้อ 7 รายและเลือดออกในช่องท้อง 2 ราย) สรุป: ผลการศึกษาพบว่า อัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาค่อนข้างต่ำ ดังนั้นแพทย์จำเป็นต้องได้รับประสบการณ์การวางสายช่องท้องและการดูแลการติดเชื้อในช่องท้องอย่างเหมาะสมเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มอัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Charnow JA. ‘Remarkably High’ Prevalence of CKD Found in Thailand. Kidney Int 2008; 73: 473-9.
Coresh J, Astor BC, Greene T, Eknoyan G, Levey AS. Prevalence of chronic kidney disease and decreased kidney function in the adult US population: Third National Health and Nutrition Examination Survey. Am J Kidney Dis 2003; 41: 1-12.
Levey AS, Coresh J, Balk E, Kausz AT, Levin A, Steffes MW, et al. National Kidney Foundation practice guidelines for chronic kidney disease: evaluation, classification, and stratification. Ann Intern Med 2003; 139: 137-47.
NKF-KDOQI clinical practice guidelines for peritoneal dialysis adequacy: update 2006.
Peritoneal Dialysis Adequacy Work Group. Clinical practice guidelines for peritoneal dialysis adequacy. Am J Kidney Dis 2006; 48 (Suppl 1): S98-S129.
Huang CC, Cheng KF, Wu HD. Survival analysis: comparing peritoneal dialysis and hemodialysis in Taiwan. Perit Dial Int 2008; 28 (Suppl 3): S15-S20.
Jha V. End-stage renal care in developing countries: the India experience. Ren Fail 2004; 26: 201-8.
Pongskul C, Sirivongs D, Keobounma T, Chanlertrith D, Promajuk P, Limwatananon C. Survival and technical failure in a large cohort of Thai CAPD patients. J Med Assoc Thai 2006; 89 (Suppl 2): S98-105.
Cueto-Manzano AM, Quintana-Pina E, Correa-Rotter R. Long-term CAPD survival and analysis of mortality risk factors: 12-year experience of a single Mexican center. Perit Dial Int 2001; 21: 148-53.
Stack AG, Murthy BV, Molony DA Survival differences between peritoneal dialysis and hemodialysis among “large” ESRD patients in the United States. Kidney Int. 2004; 65: 2398-408.
Abbott KC, Oliver DK, Hurst FP, Das NP, Gao SW, Perkins RM. Body mass index and peritoneal dialysis: “exceptions to the exception” in reverse epidemiology? Semin Dial 2007; 20: 561-5.
Mc Donald SP, Collins JF, Rumpsfeld M, JohnsonDW. Obesity is a risk factor for peritonitis in the Australian and New Zealand peritoneal dialysis patient populations. Perit Dial Int 2004; 24: 340-6.
Chow KM, Szeto CC, Leung CB, Kwan BC, Law MC, Li PK. A risk analysis of continuous ambulatory peritoneal dialysis-related peritonitis. Perit Dial Int 2005; 25: 374-9.
Wang Q, Bernardini J, Piraino B, Fried L. Albumin at the start of peritoneal dialysis predicts the development of peritonitis. Am J Kidney Dis 2003; 41: 664-9.
Sirivongs D, Pongskul C, Keobounma T, Chunlertrith D, Sritaso K, Johns J. Risk factors of first peritonitis episode in Thai CAPD patients. J Med Assoc Thai 2006; 89 (Suppl 2): S138-S145.