ปัญหาในการใช้ยาของผู้ป่วยนอกโรคหัวใจล้มเหลว ณ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัญหาในการใช้ยาของผู้ป่วยนอกโรคหัวใจล้มเหลว ณ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาระหว่างเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ถึงเดือน มกราคม พ.ศ. 2553 โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยนอกที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังเนื่องจากการทำงานที่ผิดปกติช่วงบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายหรือมีค่าการบีบเลือดออกจากหัวใจน้อยกว่าร้อยละ 40 และได้รับการรักษาด้วยยามาอย่างน้อย 1 เดือน ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยตามเกณฑ์จำนวน 45 ราย เป็นผู้ป่วยที่เป็นปัญหาในการใช้ยาร้อยละ 73.3 จำนวนปัญหาทั้งสิ้น 51 ปัญหา ปัญหาเฉลี่ยต่อผู้ป่วย 1 รายเท่ากับ 1.13+1.01 ปัญหา) ประเภทของปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ความไม่ร่วมมือในการใช้ยาร้อยละ 56.9 ของปัญหาทั้งหมด รองลงมาคือได้รับยาโดยไม่จำเป็นร้อยละ 13.7 และได้รับยาในขนาดต่ำเกินไป ร้อยละ 9.8 สาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจากการขาดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ยา สรุป: ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวมีอัตราการเกิดปัญหาในการใช้ยาสูงและส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่แก้ไขหรือป้องกันไดทั้งนี้ต้องรอการติดตามผลต่อไป ดังนั้นเภสัชกรควรเข้าไปมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาโดยสืบค้นปัญหาเพื่อหาสาเหตุและวางแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับทีมสหวิชาชีพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Turpie AG. Burden of disease: medical and economic impact of acute coronary syndromes. Am J Manag Care 2006; 12: 430-433.
คู่มือ/แนวทางการดำเนินงาน ปี 48/ กลุ่มส่งเสริมสนับสนุนวิชาการ สำนักโรคไม่ติดต่อ. Available from: URL: http://ncd.ddc.moph.go.th/
แนวทางการปฏิบัติมาตรฐานเพื่อการวินิฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว Available from: URL:http:/ /www.thaiheart.org/file_attach/08Jul200807-AttachFile1215523447.pdf/
American Heart Association. Heart disease and stroke statistics-2007 Update. Available from: URL: http://www.americanheart.org/
Fonarow GC, Heywood JT, Heidenreich PA, Lopatin M, Yancy CW. Temporal trends in clinical characteristics, treatments, and outcomes for heart failure hospitalizations, 2002 to 2004: findings from Acute Decompensated Heart Failure National Registry (ADHERE). Am Heart J 2007; 153: 1021-8.
ปิยะมิตร ศรีธรา. Current Management of CHF. ใน: เกียรติชัย ภูริปัญโญ, ชาญ ศรีรัตนสถาวร, ชุณหเกษม โชตินัยวัตรกุล, บรรณาธิการ. Update cardiology for internist. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บริษัทเฮาแคนจู จำกัด; 2549. หน้า 152-61.
Jessup M, Abraham WT, Casey DE, Feldman AM, Fracis GS, Ganiats TG, et al. 2009 Focused Update: ACCF/AHA Guideline for the Diagnosis and Management of Heart Failure in Adult: A Report of theAmerican College of Cardiology Foundation/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines Developed in Collaboration with the International Society for Heart and Lung Transplantation. J Am Coll Cardiol 2009; 53: 1343-82.
Holland R, Battersby J, Harvey I, Lenaghan E, Smith J, Hay L. Systematic review of multidisciplinary intervention in heart failure. Heart 2005; 91: 899-906.
Boonyapiphat T, Udol K. Effect of a comprehensive heart failure treatment program on heart failure readmissions and quality of life. Thai Heart J 2007; 20: 117-24.
Kanoksilp A, Hengrussamee K, Wuthiwaropas P. A Comparison of one-year outcome in adult patients with heart failure in two medical setting: Heart failure clinic and daily physician Pratice. J Med Assoc Thai 2009; 92: 466-70.
Cipolle RJ, Strand LM, Morley PC. Pharmaceutical care practice. 2 ed. New York: McGraw-Hill; 2004.
Apostolakis E, Akinosoglou K. Reexamining the New York Heart association functional classification of heart failure. Am J Cardiol 2007; 100: 911-2.
จารุวี กาญจนคีรีธำรง, วันทนา เหรียญมงคล, จุราพร พงศ์เวชรักษ์, อุษณีย์ วนรรฆมณี. การประเมินปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยา การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา ในผู้ป่่วยหัวใจและหลอดเลือด ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมในโรงพยาบาลสงขลา. สงขลานครินทร์เวชสาร 2548; 23: 229-40.
สุธาสินี ไตติลานนท์. ปัญหาที่เนื่องจากยาและการแก้ไขปัญหาในผู้ป่่วยนอกโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ ( วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก, บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.
สุภาพร หอมดี. การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยนอก โรคหัวใจขาดเลือดที่โรงพยาบาลราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
Van der Wal MHL, Jaarsma T. Adherence in heart failure in the elderly: Problem and possible solutions. Internat J Cardiol 2008; 125: 202-8.
Murray MD, Young J, Hoke S, Tu W, Weiner M, Morrow D, et al. Pharmacist intervention to improve medication adherence in heart failure. Ann Intern Med 2007; 146: 714-25.