ความรู้เรื่องวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานของแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
เบาหวานเป็นโรคที่พบบ่อย รักษาได้โดยการควบคุมอาหาร การใช้ยาและการออกกำลังกาย ซึ่งการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานในปัจจุบัน มักจัดตั้งเป็นคลินิกเบาหวาน นำทีมโดยแพทย์ร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่น โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมามีแพทย์จบใหม่มาปฏิบัติงานในทุกปี โดยแพทย์เหล่านี้มีโอกาสปฏิบัติงานในฐานะแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ซึ่งต้องให้บริการรักษาผู้ป่วยเบาหวานด้วย ดังนั้นองค์ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานจึงจำเป็นสำหรับแพทย์เหล่านี้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้เรื่องวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ของแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาที่เวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างงคือ แพทย์จบใหม่ที่มาปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ปี 2552 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม “ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน” ผลการศึกษา: แพทย์เข้าร่วมวิจัยจำนวน 28 คน เป็นหญิง 15 คน (ร้อยละ 53.6) อายุตั้งแต่ 24-31 ปี พบว่าวิธีการเตรียมตัวก่อนออกกำลังกายที่แพทย์ทราบน้อย คือ การเลือกใส่เสื้อผ้าและรองเท้าที่เหมาะสม (ตอบถูกต้อง ร้อยละ 50.0 และ 42.9 ตามลำดับ) การตรวจร่างกายที่จำเป็นก่อนออกกำลังกายได้แก่ ตา ทางเดินปัสสาวะ และผิวหนัง (ตอบถูกต้อง ร้อยละ 50.0, 7.2 และ 7.2 ตามลำดับ) ความรู้เรื่องการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อนออกกำลังกาย พบว่าแพทย์ ร้อยละ 92.9 ไม่ทราบว่าหากระดับน้ำตาลต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหวานและตรวจซ้ำจนได้ค่ามากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จึงจะให้ผู้ป่วยเบาหวานออกกำลังกายต่อได้ และร้อยละ 75.0 ไม่ทราบว่าหากตรวจพบระดับน้ำตาลสูงกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ควรให้งดออกกำลังกายเพื่อไปควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีก่อน ความรู้เรื่องวิธีออกกำลังกายที่แพทย์ทราบน้อยคือ ช่วงเวลาระหว่างวันที่เหมาะสำหรับการออกกำลังกาย วิธีการแก้ไขเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และไม่ควรแช่เท้า ในน้ำอุ่น หลังการออกกำลังกาย (ตอบได้ถูกต้อง ร้อยละ 39.3, 57.1 และ 57.1 ตามลำดับ) สรุป: แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ยังขาดองค์ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานหลายเรื่อง โดยเฉพาะความรู้เรื่องการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อนออกกำลังกาย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World Health Organization: WHO sites. Diabetes programme: Facts & Figures: prevalence of diabetes: number of persons with diagnosed diabetes, Worldwide, WHO region of the Americas, WHO South-East Asia region, year 2000. Available from http://www.who.int/diabetes/facts/world_figures/en/
จิตร สิทธิอมร, ศรีจิตรา บุนนาค, สุนิตย์ จันทรประเสริฐ. ความชุกของโรคเบาหวาน. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2532 เมษายน; 33: 279-83.
ชูศักดิ์ คุปตานนท์. แผลในผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารศูนย์แพทยศาสตร์ 2530; 13: 227-32
กฤษฎา บานชื่น. การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน. นานาสาระ 2528; 1: 30-3.
American Diabetes Association. Clinical practice recommendations. Diabetes Care 1999; 22: S49-S53.
Young JC. Exercise prescription for individuals with metabolic disorders. Practical considerations. Sports Med 1995; 19: 43-54.
American College of Sports Medicine. Guidelines for exercise testing and prescription: other clinical conditions influencing exercise prescription. 7th ed. 2006, 205-11.
Devlin JT, Ruderman N. Diabetes and exercise: the riskbenefit profile revisited and the exercise prescription. In: Devlin JT, Schneider SH, editors. Handbook of Exercise in Diabetes. 2nd ed; 2001. p. 269-88.
Chadchavalpanichaya N, Intaratep N. Exercise Behavior and Knowledge among the DM type II patients. J Med Assoc Thai 2010; 93: 587-93.
อุษณีย์ วิชัยดิษฐ์. การศึกษาปัญหาและความต้องการด้าน สุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลนครราชสีมา 2551; 14: 81-95.
เดชา มีสุข, เบ็ญจวรรณ มาฆะรักษ์, ประภาพร มารยาท, นุศรา ตันติภัณฑรักษ์. พฤติกรรมการดูแลตนเองและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารควบคุมโรค 2551; 34: 409-18.
ชัยสิทธิ์ เฮงมีชัย, สุกัญญา สนิทนอก. การวิจัยและประเมินผลโครงการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานและภาวะที่เกี่ยวข้องกับเบาหวาน โรงพยาบาลวังน้ำเขียว ปี 2551. วารสารวิทยาลัยพยาบาลนครราชสีมา 2551; 14: 44-54.
Dajpratham P, Chadchavalpanichaya N. Knowledge and practice of physical exercise among the inhabitants of Bangkok. J Med Assoc Thai 2007; 90: 2470-6.