ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสียเลือดมาก และการได้รับเลือดทดแทน ในการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องในโรคทางนรีเวชที่มิใช่มะเร็ง

Main Article Content

อุไรวรรณ แซ่จึง

บทคัดย่อ

          ภูมิหลัง: การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องเป็นการผ่าตัดใหญ่ทางนรีเวชวิทยาที่พบบ่อยแม้ว่ามีความปลอดภัยแต่ยังคงพบภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัด ซึ่งการเสียเลือดมากเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะเสียเลือดมาก( >500 ซีซี) และการได้รับเลือดทดแทนในการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องในโรคทางนรีเวชที่มิใช่มะเร็ง ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบพรรณนาเก็บข้อมูลย้อนหลัง จากแฟ้มประวัติผู้ป่วย จำนวน 854 ราย ที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องในโรคทางนรีเวชที่มิใช่มะเร็งในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่าง มกราคม 2551 ถึง ธันวาคม 2552 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะเสียเลือดมาก และการได้รับเลือดทดแทน ผลการศึกษา: พบปริมาณการเสียเลือดขณะผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องมีค่ามัธยฐาน 50 ซีซี (พิสัย 50-2,500) ผู้ป่วยมีภาวะเสียเลือดมาก 182 คน (ร้อยละ 21.3) ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะอ้วน โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรืออุ้งเชิงกรานอักเสบเป็นหนอง พังผืดในอุ้งเชิงกราน ขนาดของมดลูก > 12 สัปดาห์ และระดับความชำนาญของแพทย์ มีผู้ป่วยได้รับเลือดทดแทนขณะผ่าตัด 103 คน (ร้อยละ 12.1) ซึ่งสัมพันธ์กับเวลาในการผ่าตัดนานกว่า 120 นาที พังผืดในอุ้งเชิงกรานและระดับฮีโมโกลบินก่อนผ่าตัดน้อยกว่า 12 กรัม/เดซิลิตร มีผู้ป่วยได้รับเลือดก่อนผ่าตัด 119 คน (ร้อยละ 13.9) เนื่องจากระดับฮีโมโกลบินขณะแรกรับไว้ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 10 กรัม/เดซิลิตร สรุป: การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องในโรคทางนรีเวชที่มิใช่มะเร็งในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาพบภาวะเสียเลือดมากขณะผ่าตัดร้อยละ 21.3, ได้รับเลือดทดแทนขณะผ่าตัดร้อยละ 12.1 และได้รับเลือดทดแทนก่อนผ่าตัดร้อยละ 13.9 ปัจจัยหลายอย่างที่สัมพันธ์กับภาวะทั้งสองหากสามารถรู้ก่อนผ่าตัด อาจนำไปสู่การเตรียมพร้อมก่อนการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยให้ผลการผ่าตัดดีมากขึ้น

Article Details

How to Cite
แซ่จึง อ. (2024). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสียเลือดมาก และการได้รับเลือดทดแทน ในการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องในโรคทางนรีเวชที่มิใช่มะเร็ง. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 34(1), 51–62. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1786
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Spilsbury K, Semmens JB, Hammond I, Bolck A. Persistent High Rates of Hysterectomy in Western Australia: A Population-Based Study of 83,000 Procedures Over 23 Years. BJOG 2006; 113: 804-9.

Falcone T, Walters MD. Hysterectomy for benign disease. Obstet Gynecol 2008; 111: 753-67.

Jones III HW. Abdominal hysterectomy. In: Rock JA, Tones III HW, editors. Te Linde,s Operative gynecology. 10th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & wilkins; 2008. p.727-43.

Wiladsakdanon S, Charoenkwan K. Predicting factors for excessive intraoperative blood loss during abdominal hysterectomy for benign gynecologic diseases. Thai J Obstet Gynaecol 2009; 17: 116-21.

Unger JB, Paul R, Caldito G. Hysterectomy for the Massive Leiomyomatous Uterus. Obstet Gynecol 2002; 100: 1271-5.

Hillis SD, Marchbanks PA, Peterson HB. Uterine size and risk of complications among woman undergoing abdominal hysterectomy for leiomyomas. Obstet Gynecol 1996; 87: 539-43.

Behtash N, Ghaemaghami F, Gilani MM, Rajabi MT, Moghimi R, Hanjani P. To peritonealise or not to peritonealise? A randomized trial at abdominal hysterectomy in Iran. Obstet Gynecol 2001; 21: 520-4.

Garry R, Fountain J, Mason S, Napp V, Brown J, Hawe J, et al. The evaluate study: Two parallel randomized trials, one comparing laparoscopic with abdominal hysterectomy, the other comparing laparoscopic with vaginal hysterectomy. BMJ 2004; 328: 129-36.

Isik-Akbay EF, Harmanli OH, Panganamamula UR, Akbay M, Gaughan J, chatwani AJ. Hysterectomy in obese women: A comparison of abdominal and vaginal routes. Obstet Gynecol 2004; 104: 710-4.

สุวันชัย ชัยรัชนียบูรณ์, หเทิญ ถิ่นธารา. ปัจจัยเสี่ยงของการได้รับเลือดในการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องแบบไม่ฉุกเฉิน. สงขลานครินทร์เวชสาร 2542; 17: 91-5.

Walsh CA, Walsh SR, Tang TY, Slack M. Total abdominal hysterectomy versus total laparoscopic hysterectomy for benign disease: A meta-analysis. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 2009; 144: 3-7.

Varol N, Healey M, Tang P, Sheehan P, Mahfr P, Hill D. Ten–year review of hysterectomy morbidity and mortality: can we change direction? Aust N Z J Obstet Gynaecol 2001; 41: 295-302.

Dicker RC, Greenspan JR, Strauss LT, Cowart MR, Scally MJ, Peterson HB, et al. Complication of abdominal and vaginal hysterectomy among women of reproductive age in the United States, The collaborative review of sterilization. Am J Obstet Gynecal 1982; 144: 841-8.

Peduzzi P, Concato J, Kemper E, Holford TR, Feinstein AR. A simulation study of the number of events per variable in logistic regression analysis. J Clin Epidemiol 1996; 49: 1373-9.

Rasmussen KL, Neumann G, Ljungstrom B, Hansen V, Lauszus FF. The influence of body mass index on the prevalence of complications after vaginal and abdominal hysterectomy. Acta Obstet Gynecol Scand 2004; 83: 85-8.

Reiter RC, Wagner PL, Gambone JC. Routine hysterectomy for large asymptomatic uterine leiomyomata: A reappraisal. Obstet Gynecol 1992; 79: 481-4.

Farquhar CM, Sadler L,Harvey S, McDougall J, Yazdi G, Meuli K. A prospective study of the short-term outcomes of hysterectomy with and without oophorectomy. Aust N Z J Obstet Gynaecol 2002; 42: 197-204.

Akingba DH, Deniseiko-Sanses TV, Melick CF, Ellerkmann RM, Matsuo K. Outcomes of hysterectomies performed by supervised residents vs those performed by attendings alone. Am J Obstet Gynecol 2008; 199: 673.e1- e6. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสียเลือดมาก และการได้รับเลือดทดแทน ในการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องในโรคทางนรีเวชที่มิใช่มะเร็ง