การปรับตัวทางเพศและความสัมพันธ์กับคู่ของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ที่เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

รัชวรรณ สุขเสถียร
เยาวลักษณ์ ไชยพันธ์

บทคัดย่อ

          ภูมิหลัง: ปัญหาการปรับตัวทางเพศและความสัมพันธ์กับกับคู่พบได้บ่อยในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังซึ่งมีผลกระทบต่อคู่ชีวิต แต่ปัญหานี้มักถูกละเลยจากบุคลากรทางการแพทย์ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสม นำไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์ คุณภาพชีวิตและการหย่าร้าง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการปรับตัวทางเพศ ความสัมพันธ์กับคู่และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางเพศและความพึงพอใจของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ผู้ป่วยและวิธีการ: ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง2 8 รายที่มีประวัติเจ็บป่วยไม่น้อยกว่า 6 เดือนและใช้ชีวิตคู่เป็นผู้ป่วยชาย 22 ราย หญิง 6 ราย อายุเฉลี่ย4 2.0+9.6 ปี (พิสัย 22-58 ปี) รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป รายละเอียดของการบาดเจ็บไขสันหลังปัญหาและภาวะแทรกซ้อนจากการบาดเจ็บไขสันหลัง กิจกรรมทางเพศและความพึงพอใจ สมรรถภาพทางเพศ พฤติกรรมทางเพศ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตใจและสังคม ความสัมพันธ์กับคู่ข้อมูลที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องเพศ และคุณภาพชีวิต ผลการศึกษา: ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง 12 ราย (ร้อยละ 42.9) ปฏิเสธการมีกิจกรรมทางเพศรวมการมีเพศสัมพันธ์และไม่มีเพศสัมพันธ์ภายหลังการเจ็บป่วย 16 ราย (ร้อยละ 59.3) มีความพึงพอใจในความสัมพันธ์ทางเพศต่ำ ผู้ป่วย 7 ราย (ร้อยละ 33.3) มีเพศสัมพันธ์ อีก 14 ราย (ร้อยละ 66.7) แสดงออกซึ่งความรักด้วยวิธีอื่น 24 ราย (ร้อยละ 85.7) มีความต้องการทางเพศลดลง 16 ราย (ร้อยละ 57.1) ไม่เคยถึงจุดสุดยอด 19 ราย (ร้อยละ 70.4) มีความรู้สึกบริเวณอวัยวะเพศลดลงอย่างมากและ 15 ราย (ร้อยละ 55.6) มีปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศและน้ำหล่อลื่นช่องคลอดมาก ภาวะแทรกซ้อนที่มีผลต่อกิจกรรมทางเพศได้แก่ ปัญหาการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ กล้ามเนื้อเกร็ง กระตุกและปวดหลัง ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดคือ 22 ราย (ร้อยละ 78.6) มีความสัมพันธ์โดยรวมกับคู่อยู่ในระดับที่พอใจและสามารถพูดคุยเรื่องเพศกับคู่ได้ง่าย 16 ราย (ร้อยละ 57.2) ตระหนักว่าเรื่องเพศมีความสำคัญในชีวิตและคำนึงถึงความสุขทางเพศของคู่ 27 ราย (ร้อยละ 96.4) มีความคิดว่าตนเองมีเสน่ห์ดึงดูดทางเพศลดลงและ 17 ราย (ร้อยละ 60.7) คิดว่าคู่พอใจในความสัมพันธ์ทางเพศน้อยถึงน้อยที่สุด มีเพียง 5 ราย (ร้อยละ 17.9) ที่มีความคิดหย่าร้างหรือแยกกันอยู่กับคู่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางเพศและความพึงพอใจภายหลังการบาดเจ็บไขสันหลังได้แก่ ระยะเวลาหลังเจ็บป่วยประเภทของการดูแลเรื่องปัสสาวะ การแข็งตัวของอวัยวะเพศ/น้ำหล่อลื่นช่องคลอด การถึงจุดสุดยอด ลักษณะของกิจกรรมทางเพศ ความรู้สึกว่าตนเองยังมีเสน่ห์ดึงดูดทางเพศ ความคิดว่าคู่พอใจในความสัมพันธ์ทางเพศกับตนเองความสัมพันธ์โดยรวม และระดับคุณภาพชีวิตด้านสังคม สรุป: ปัจจัยทางกาย จิตใจและสังคมมีส่วนสำคัญในการปรับตัวทางเพศและความสัมพันธ์กับคู่ภายหลังการบาดเจ็บไขสันหลัง ผู้ป่วยมากกว่าครึ่งมีความพึงพอใจในความสัมพันธ์ทางเพศในระดับต่ำ แต่ความสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในเกณฑ์พอใจ และมีความคิดหย่าร้างและแยกกันอยู่ต่ำ

Article Details

How to Cite
สุขเสถียร ร., & ไชยพันธ์ เ. (2024). การปรับตัวทางเพศและความสัมพันธ์กับคู่ของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ที่เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา . วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 34(1), 63–73. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1787
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Phelps J, Albo M, Dunn K, Joseph A. Spinal cord injury and sexuality in married or partnered men: activities, function, needs, and predictors of sexual adjustment. Arch Sex Behav 2001; 30: 591-602.

Yim SY, Lee IW, Yoon SH, Song MS, Rah EW, Moon HW. Quality of marital life in Korean spinal cord injured patients. Spinal cord 1998; 36: 826-31.

Kreuter M, Sullivan M, Dahllof AG, Siosteen A. Partner relationships, functioning, mood and global quality of life in persons with spinal cord injury and traumatic brain injury. Spinal cord 1998; 36: 252-61.

Siosteen A, Lundqvist C, Blomstrand C, Sullivan L, Sullivan M. Sexual ability, activity, attitudes and satisfaction as part of adjustment in spinal cord injured subjects. Paraplegia 1990; 28: 285-95.

Kreuter M, Sullivan M, Siosteen A. Sexual adjustment and quality of relationships in spinal paraplegia: a controlled study. Arch Phys Med Rehabil 1996; 77: 541-8.

Ku JH, Oh SJ, Jeon HG, Shin HI, Paik NJ, Yoo T, et al. Sexual activity in Korean male patients on clean intermittent catheterization with neurogenic bladder due to spinal cord injury. Int J Urol 2006; 13: 42-6.

Sharma SC, Singh R, Dogra R, Gupta SS. Assessment of sexual functions after spinal cord injury in Indian patients. Int J Rehabil Res 2006; 29: 17-25.

Fisher TL, Laud PW, Byfield MG, Brown TT, Hayat MS, Fiendler IG. Sexual health after spinal cord injury: a longitudinal study. Arch Phys Med Rehabil 2002; 83:

-51.

Whipple B, Komisaruk BR. Sexual and woman with complete spinal cord injury. Spinal cord 1997; 35: 136-8.

Urey JR, Henggeler SW. Marital adjustment following spinal cord injury. Arch Phys Med Rehabil 1987; 68: 69-74.

Kreuter M. Spinal cord injury and partner relationship scientific review. Spinal cord 2000; 38: 2-6.