การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์: กรณีศึกษาชุมชนในตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ชนัญธวีร์ ฐิตวัฒนานนท์

บทคัดย่อ

          กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ (A-I-C) เป็นหนึ่งวิธีการในการสร้างและพัฒนากระบวนการเรียนรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์อย่างใคร่ครวญและรอบคอบ (ขั้น A) เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติโดยผ่านกระบวนการกลุ่มมีการประเมินปัญหาและสถานการณ์ร่วมกัน (ขั้น I) สร้างวิสัยทัศน์ ตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน รวมทั้งมีการวางแผนและแนวทางการปฏิบัติ ร่วมกัน (ขั้น C) วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อสังเกตการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยอาศัยกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ในหมู่บ้านบุ่งตาหลัว หมู่ที่ 2 ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยผู้เข้าร่วมกลุ่มได้แก่ ผู้นำชุมชนที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 30 ราย ผู้ทำวิจัยเป็นผู้สังเกตทั้งแบบมีและไม่มีส่วนร่วม พร้อมเก็บรวบรวมข้อมูลโดยอาศัยแบบสอบถามชนิดปลายปิด แบบให้เลือกตอบ และแบบมาตราส่วนประมาณค่านำมาวิเคราะห์ในระหว่างกิจกรรมภาคสนามความรู้ระดับการมีส่วนร่วม ระดับความพึงพอใจในการวางแผนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ผลการศึกษา: เทคนิค A-I-C ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เห็นว่าตนเองมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากถึงมากที่สุดและค่าเฉลี่ยของการมีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความรู้ในการวางแผนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมในกิจกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ มีส่วนช่วยอย่างมากต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ

Article Details

How to Cite
ฐิตวัฒนานนท์ ช. (2024). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์: กรณีศึกษาชุมชนในตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 34(2), 99–104. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1797
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม. แผนพัฒนาเทศบาล 3 ปี. 2550.

Available from www.http://dpc5.ddc.moph.go.th/Data/data14.01.pdf

สถาบันเทคโนโลยีการพัฒนาชนบท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สรุปรายงานผลการศึกษาโครงการศึกษารูปแบบและแนวทางเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.

ก้องเกียรติ อุปัชฌาย์. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนา สุขภาพของผู้นำชุมชน อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น (รายงานการศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหารสาธารณสุข, บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

สมควร ทินจอง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา (รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหารสาธารณสุข, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

นัทธมน ยิ้มแย้ม. การพัฒนาการจัดการปัญหาสุขภาพชุมชนขององค์กรชุมชนระดับตำบล. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี ราชบุรี; 2544.

ชวน อะโนศรี. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการนวดไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2543.

บัญชร แก้วส่อง. รูปแบบทางสังคม-จิตวิทยาสำหรับอธิบาย การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกระบวนการพัฒนา (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร; 2531.

ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2543.