การประเมินระดับความปวดหลังผ่าตัดและการรักษาในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

ธิดารัตน์ อริยานุชิตกุล

บทคัดย่อ

          ภูมิหลัง: อาการปวดหลังผ่าตัดเป็นปัญหาที่พบบ่อย โดยเฉพาะในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จึงมีความพยายามในการพัฒนาแนวทางการประเมินระดับความปวดและการรักษาอาการปวดให้เหมาะสมและครอบคลุม วัตถุประสงค์: เพื่อติดตามผลการพัฒนาการประเมินและรักษาอาการปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ: เก็บข้อมูลย้อนหลังจากแบบบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยในห้องพักฟื้นโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2551 ถึงเดือนธันวาคม 2551 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการได้รับการประเมินระดับความปวดและการได้รับยาระงับปวด แสดงผลในรูปจำนวนและร้อยละ ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินทั้งหมด 1,238 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง การประเมินสภาพผู้ป่วยด้านวิสัญญี ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 1-2 ระยะเวลาผ่าตัดส่วนใหญ่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ชั่วโมง และส่วนใหญ่ชนิดของการระงับความรู้สึกที่ได้รับเป็นแบบทั่วไป หลังมีการนำแนวทางการประเมินระดับความปวดและการรักษามาใช้ในห้องพักฟื้นพบผู้ป่วยได้รับการประเมินระดับความปวด ร้อยละ 6.7 โดยระยะหนึ่งเดือนแรกพบผู้ป่วยไม่ได้รับการประเมินระดับความปวดหรือไม่มีการบันทึกระดับความปวด ร้อยละ 58.3 ต่อมาลดลงเรื่อย ๆ เป็นร้อยละ 48.0, 16.7, 8.0, 5.0 และ 4.5 ตามลำดับ ขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินระดับความปวดก่อนส่งกลับหอผู้ป่วยพบเพียง ร้อยละ 67.9 แต่จะมีปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ จากร้อยละ 25.2 ในเดือนแรก เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40.2, 75.5, 87.0, 90.0 และ 88.4 ตามลำดับ สรุป: หลังจากที่มีการนำแนวทางการประเมินระดับความปวดและการให้ยาระงับปวดหลังผ่าตัดมาใช้ในห้องพักฟื้นโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา พบว่ามีผู้ป่วยได้รับการประเมินเพียงร้อยละ 76.7 และมีผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินก่อนส่งกลับหอผู้ป่วยเพียงร้อยละ 67.9 แต่มีแนวโน้มของการใช้แนวทางดังกล่าวเป็นไปในทางบวก

Article Details

How to Cite
อริยานุชิตกุล ธ. (2024). การประเมินระดับความปวดหลังผ่าตัดและการรักษาในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 34(2), 115–122. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1799
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Ballantyne JC, Carr DB, deFerranti S, Suarez T, Lu J, Chlmers TC, et al. The Comperative effects of postoperative analgesic therapies on pulmonary outcome: Cumulative meta-analysis of randomized, controlled trials. Anesth Analg 1998; 86: 598-612.

American Society of Anesthesioologists. Practice guidelines for acute pain Management in the perioperative setting. Acute pain section. Anesthesiology 1995; 82: 1071-81.

ธิดารัตน์ อริยานุชิตกุล, นวลหงส์ เพ็ชรดี. การสำรวจทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจ และวิธีการปฏิบัติของวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ในการประเมินระดับความปวดและให้การระงับปวดแก่ผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2551; 33 (ฉบับผนวก): S54-S61.

วิมลลักษณ์ สนั่นศิลป์, วิภาวี มหรรทัศนพงศ์, พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์. การใช้มอร์ฟีนในห้องพักฟื้น เพื่อระงับความปวดหลังผ่าตัด. วิสัญญีสาร 2540; 23: 82-6.

White P. Pain measurement. In: Warfield CA, editor. Principles and practice of pain management. New York: McGraw-Hill; 1993. p.27-41.

Schug SA. The acute pain services at Auckland Hospital: Guidelines for pain Management modilities. Auckland: Auckland Hospital; 1999. p.57.

ยุวดี หันตุลา, พนารัตน์ รัตนสุวรรณ ยิ้มแย้ม, สมบูรณ์ เทียนทอง, เดือนเพ็ญ ห่อรัตนาเรือง, รัดดากำหอม. การตรวจสอบคุณภาพการบริการระงับปวดในห้องพักฟื้นตามแนวทางการระงับปวดในห้องพักฟื้นที่ปรับปรุงใหม่ใน โรงพยาบาลศรีนครินทร์. วิสัญญีสาร 2548; 31: 144-52.

ศศิวิมล พงศ์จรรยากุล, อักษร สาธิตการมณ,ี พัชรา รักพงษ,์ ไกรวาส แจ้งเสม, วิมลรัตน์ กฤษณประกรกิจ, สมบูรณ์ เทียนทอง. การสอนอย่างมีแบบแผนสามารถเพิ่มอัตราความสำเร็จของการประเมินความปวดในห้องพักฟื้นได้หรือไม่. วิสัญญีสาร 2547; 30: 106-12.

อุมาภรณ์ พงษ์พันธ์. การศึกษาการได้รับยาระงับปวดตามแนวทางระงับปวดในห้องพักฟื้นโรงพยาบาลลำปาง.วิสัญญีสาร 2550; 33: 176-82.